ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงเฉลี่ย 4% สอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง ช่วงปี 1928 – 2022 ที่ระบุว่าเดือนกันยายนตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักปรับตัวลงมากถึง 54.7% หรือคิดเป็นการติดลบในเดือนกันยายนถึง 52 ครั้งภายในรอบ 95 ปี
โดยการปรับตัวลงในปี 2023 นี้ เป็นผลมาจากการปรับตัวขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปี และ 10 ปี ซึ่งปรับตัวขึ้นมาเท่าระดับสูงสุดเดิมรอบ 17 ปี หลังจากราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นไปสูงกว่า 93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2022 ทำให้นักลงทุนยังไม่แน่ใจกับทิศทางการดำเนินนโยบายของ Fed ว่าจะยุติวัฏจักรการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่
Macro
รูปที่ 1: Citi US Economic Surprise Index | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ประกาศออกมาดีกว่าคาด ทั้งภาคอุตสาหกรรม ตลาดแรงงาน และยอดค้าปลีก โดยล่าสุด ISM Manufacturing PMI เดือนกันยายนที่ประกาศออกมา 49 จุด ดีกว่าตลาดคาดที่ 47.7 จุด แม้ว่าจะอยู่ในโซนชะลอตัว แต่มีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้น
รูปที่ 2: Conference Board Leading Indicator | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023
หนุนดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (Conference Board Leading Indicator; CB LEI) บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีทิศทางการฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยติดลบน้อยลงสู่ระดับ -7.6 บ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดเศรษฐกิจถดถอยที่ต่ำลง
รูปที่ 3: Conference Board Consumer Confidence| Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023
สอดคล้องกับผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 106.1 สะท้อนมุมมองของผู้บริโภคที่ดูดีขึ้น และมีแนวโน้มให้การใช้จ่ายส่วนบุคคลกลับมาเติบโตในช่วงไตรมาสที่เหลือสุดท้ายของปีที่เป็นช่วง high season
รูปที่ 4: US GDP Now 3Q23 | Source: FINNOMENA FUNDS, Atlanta FED as of 02/10/2023
ทำให้คาดการณ์ GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 3/23 โดยนักวิเคราะห์มีแนวโน้มถูกปรับคาดการณ์ขึ้นสู่ระดับ 3% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียง 1% เท่านั้น ใกล้เคียงระดับคาดการณ์การเติบโตของ GDP Now ซึ่งเป็นการคาดการณ์ของ Fed สาขาแอตแลนตา (Atlanta Fed) ที่ระดับ 5% ต่อเนื่อง และอาจเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนการลงทุนได้
รูปที่ 5: อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2, 5, 10 ปี และอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023
สถานการณ์เงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอลงอย่างต่อเนื่องโดยเงินเฟ้อจากที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยตัวเลขชี้นำอย่างค่าเช่าจากผู้เช่าเดิมที่ต่อสัญญาครั้งใหม่ มีการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาพเงินเฟ้อโดยรวมที่ลดลงจะช่วยให้ Fed ผ่อนคลายความเข้มงวดของนโยบายทางการเงิน ซึ่งตามสถิติแล้ว Bond Yield สหรัฐฯ มักปรับตัวลง เมื่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย ทำให้แรงกดดันในเดือนที่ผ่านมาค่อนข้างที่จะน่าวางใจได้มากขึ้น
Earnings
รูปที่ 6: สถิติผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 และโอกาสในการให้ผลตอบแทนเป็นบวก รายเดือนตั้งแต่ปี 1928-2022 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023
ด้านผลประกอบการของดัชนี S&P 500 มีการปรับประมาณการเพิ่มขึ้นเหนือดัชนีหุ้นโลก แต่ดัชนีตอบรับข้อมูลเพียงเล็กน้อย
รูปที่ 7: EPS Growth และ EPS revision | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 29/09/2023
ทั้งนี้ ภาพการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของดัชนี S&P 500 ยังมีการเติบโตกว่า 20% และยังมีการปรับประมาณการการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของ Nasdaq-100 เกิน 20% พร้อมทั้งการปรับประมาณการที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
Valuation
รูปที่ 8: Absolute PE ของดัชนีหุ้นทั่วโลก | Source : FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 29/09/2023
ด้าน Valuation ของดัชนี S&P 500 เทรดที่ค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ที่ระดับประมาณ 18x ปรับตัวลงจากเดือนก่อนหน้า คลายความตึงตัวของ valuation
Technical
รูปที่ 9: Market Sentiment ของดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023
หลังความกังวลที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายนส่งผลให้ตลาดปรับฐาน ผลักดันอารมณ์ของนักลงทุนให้เข้าสู่ภาวะกลัวสุดขีด (Extreme Fear) อีกครั้ง ซึ่งเป็นวัฏจักรที่เกิดขึ้นสม่ำเสมอ และมักเป็นจุดที่มักมอบโอกาสเข้าซื้อที่ราคาสมเหตุสมผลและให้ผลตอบแทนคาดหวังที่มากขึ้น
รูปที่ 10: สถิติผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 และโอกาสในการให้ผลตอบแทนเป็นบวก รายเดือนตั้งแต่ปี 1928-2022 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/09/2023
ขณะที่ Seasonal Stat ตั้งแต่ปี 1928 ถึง 2022 ระบุว่า ดัชนี S&P 500 มักให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีในช่วงเดือนกันยายน แต่หลังจากนั้นตั้งแต่ตุลาคมถึงธันวาคม มักเป็นเดือนที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกสูงมากกว่า 50% และ มีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนที่ดีขึ้นต่อเนื่อง
รูปที่ 11: สถิติผลตอบแทนเฉลี่ยของดัชนี S&P 500 ในช่วงไตรมาส 4 ตั้งแต่ปี 1950-2022 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/09/2023
สอดคล้องกับผลตอบแทนเฉลี่ยในไตรมาสสุดท้ายของปีที่มักให้ผลตอบแทนเป็นบวกประมาณ 4.2% และสามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ถึง 79.5%
รูปที่ 12: กลยุทธ์ Market Breadth Indicator ในดัชนี S&P 500 | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 02/10/2023
ด้านการใช้กลยุทธ์ Market Breadth Indicator เพื่อหาจุดการเข้าซื้อเมื่อดัชนี S&P500 Index อยู่เหนือ MA 200 day ซึ่งบ่งชี้ถึง Momentum ของตลาดในภาพรวมว่ายังเป็นขาขึ้น คู่กับสัดส่วนของจำนวนหุ้นในดัชนีที่ราคาเหนือ MA 20 day น้อยกว่า 20% จะพบว่าในทุก ๆ รอบที่ซื้อเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวทั้งสองพร้อมกันจะให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 1 เดือนหลังจากวันเข้าซื้อที่ 2.5% และอัตราการชนะสูงถึง 88%
FINNOMENA FUNDS Investment Team จึงแนะนำนักลงทุนเข้าลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตาม MEVT Call เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า
- ปัจจัยเชิงมหภาค (Macro) ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ หลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ประกอบกับการฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นในช่วง high season ไตรมาสสุดท้ายของปี แรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงและทำให้ความตึงตัวของนโยบายทางการเงินเป็นปัจจัยที่วางใจได้มากขึ้นหลังจากนี้
- ปัจจัยด้านกำไร (Earnings) มีการปรับประมาณการกำไรต่อหุ้นเริ่มทรงตัว หลังถูกปรับลดลงมาตั้งแต่ไตรมาส 2/23 และอัตราการเติบโตของรายได้และกำไรเหนือกว่าดัชนีหุ้นโลก แต่การตอบรับของตลาดยังเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
- ปัจจัยเชิงมูลค่า (Valuation) ของดัชนี S&P 500 เทรดที่ค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี ที่ระดับประมาณ 18x แม้จะไม่ได้ถูกมาก แต่มีความตึงตัวที่ลดลง จากการปรับตัวลงในเดือนที่ผ่านมา
- ปัจจัยเชิงเทคนิค (Technical) แนวโน้มผลตอบแทนที่มักฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปีจาก seasonal pattern ที่มักเป็น high season ของตลาดหุ้นทั่วโลกจากเทศกาลต่าง ๆ ที่กระตุ้นการบริโภค และผลตอบแทนของการลงทุนเมื่อเข้าซื้อในช่วงที่ตลาดมี sentiment ที่แย่ แต่มักให้ผลตอบแทนที่ดี
MEVT Call: AFMOAT-HA
รูปที่ 13: สัดส่วนการลงทุนใน AFMOAT-HA | Source: FINNOMENA FUNDS, VanEck as of 31/08/2023
กองทุนหุ้นสหรัฐฯ แบบ Passive ที่เน้นการลงทุนให้เคลื่อนไหวตามดัชนี Morningstar® Wide Moat Focus Index ซึ่งเป็นดัชนีที่เน้นการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่มีปราการทางธุรกิจ หรือความได้เปรียบด้านการแข่งขันสูง เพื่อคาดหวังการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว
แม้สัดส่วนการลงทุนของ VanEck Morningstar Wide Moat ETF master fund ของ AFMOAT-HA ปัจจุบันมีการลงทุนกระจายในกลุ่ม Technology เป็นสัดส่วนหลักที่ 21% แต่มีน้ำหนักการลงทุนใน Magnificent-7 น้อยมาก จากนโยบายการลงทุนที่เน้นธุรกิจที่มีปราการสูง และมีมูลค่าที่สมเหตุสมผล ทำให้กองทุนหลักมีการปรับพอร์ตลดน้ำหนักหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นแรงในปีนี้อย่าง Nvidia และ Meta ออกในช่วงไตรมาส 1 – ไตรมาส 2/23 ที่ผ่านมา
รูปที่ 14: ผลตอบแทนของ MOAT ETF และดัชนี S&P 500 ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน | Source: FINNOMENA FUNDS, Bloomberg as of 31/08/2023
จากนโยบายการลงทุนที่ชัดเจน และเป็นแนวทางที่ถูกต้อง สร้างผลตอบแทนในระยะยาวที่น่าประทับใจ โดยสามารถชนะดัชนีเปรียบเทียบอย่าง S&P 500 ได้สม่ำเสมอทั้งในปีที่ดีและแย่ของตลาดหุ้น
MEVT Call คืออะไร
MEVT Call คือคำแนะนำการลงทุนรูปแบบใหม่จาก FINNOMENA FUNDS Investment Team ที่ผ่านการพิจารณาผ่านกรอบการลงทุน 4 ด้านประกอบไปด้วย
Macro – ปัจจัยเชิงมหภาค เงินเฟ้อ นโยบายการเงินและการคลัง ประชากรศาสตร์ การเมืองระหว่างประเทศ และอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนทิศทางเศรษฐกิจ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่เหมาะสมบนปัจจัยมหภาคที่สนับสนุนการเติบโต
Earnings – วิเคราะห์การเติบโตของกำไร, แนวโน้มการปรับประมาณการกำไร และงบดุลของบริษัทจดทะเบียนนั้น ๆ เพื่อพิจารณาถึงการรับรู้ของนักวิเคราะห์ต่อแนวโน้มที่ดีหรือแย่ของเศรษฐกิจ ซึ่งจะสนับสนุนปัจจัยการลงทุนในแง่อื่น ๆ เช่น เชิง valuation และ fund flow เป็นต้น
Valuation – การวิเคราะห์มูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุน ว่ามีความน่าสนใจมากเพียงใด เพื่อนำไปสู่คำแนะนำเข้าลงทุนในระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้
Technical – ปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยเชิงพื้นฐาน เช่น fund flow, sentiment, seasonal statistic และ technical analysis เพื่อพิจารณาให้รอบด้าน ซึ่งจะช่วยนำไปสู่โอกาสการลงทุนที่ดีกว่า
MEVT Call ต่างจาก Tactical Call อย่างไร
รูปที่ 16: ความแตกต่างของ MEVT Call และ Tactical Call | Source: FINNOMENA FUNDS as of 19/01/2023
ความแตกต่างของ MEVT Call และ Tactical Call คือ MEVT Call จะเน้นเจาะโอกาสการลงทุนตาม MEVT Framework ที่มองทั้งเรื่องของปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค โดยจะเป็นมุมมองการลงทุนในระยะกลาง 6-12 เดือน ส่วนการ take profit หรือตัดขาดทุนจะมาจากทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยด้านเทคนิค ส่วน Tactical Call จะเป็นการเน้นหาสัญญาณการเข้า-ออกการลงทุนผ่านปัจจัยทางเทคนิคเป็นหลัก โดยจะเป็นการลงทุนระยะสั้นกว่า MEVT Call อยู่ที่ 1-3 เดือน
สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
FINNOMENA FUNDS Investment Team
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299