รูปที่ 1 อัตราผลตอบแทนรายสินทรัพย์ต้นปีถึงปัจจุบัน | Source : Finnomena, Bloomberg As of 17/7/2021
นับตั้งแต่รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มใช้มาตรการทางการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนผ่านทั้งทางอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)
ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าโภคภัณฑ์ และน้ำมันดิบ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ ตามมาด้วยกลุ่ม REITs ทั่วโลก และ ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
รูปที่ 2 อัตราผลตอบแทนพอร์ต Goal DCA มากกว่า 20,000 บาท และ All Balance ระหว่าง 18/1/2021 – 14/7/2021 และ Since Inception (1/1/2017) – 14/7/2021 | Source : Finnomena, Morningstar As of 14/7/2021
ส่งผลให้ FINNOMENA Port Goal สำหรับนักลงทุนที่ DCA มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน และ All Balance สามารถสร้างผลตอบแทนได้ 1.50% ถึง 5.66% นับตั้งแต่คำแนะนำการ Rebalance ครั้งล่าสุดเมื่อ 18 มกราคม 2021 ที่ผ่านมา ตามลำดับ
รูปที่ 3 อัตราผลตอบแทนพอร์ต Goal DCA น้อยกว่า 20,000 บาท ระหว่าง 18/1/2021 – 14/7/2021 และ Since Inception (1/1/2017) – 14/7/2021 | Source : Finnomena, Morningstar As of 14/7/2021
ขณะที่ FINNOMENA Port Goal สำหรับนักลงทุนที่ DCA น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน ให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกันที่ 1.50 – 4.92% ตามลำดับ
รูปที่ 4 อัตราผลตอบแทนพอร์ต 1st Million ระหว่าง 18/1/2021 – 14/7/2021 และ Since Inception (1/1/2017) – 14/7/2021 | Source : Finnomena, Morningstar As of 14/7/2021
ด้าน FINNOMENA Port 1st Million ให้ผลตอบแทนที่ 3.89 – 5.19% สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
รูปที่ 5 อัตราผลตอบแทนกองทุนในพอร์ต Goal, 1st Million และ All Balance ระหว่าง 18/1/2021 – 14/7/2021 | Source : Finnomena, Morningstar As of 14/7/2021
จากการปรับตัวขึ้นของกองทุนหุ้นไทยอย่าง TSF-A ที่ปรับตัวขึ้นได้ถึง 18.2% และ กองทุน TMBGQG ที่ปรับตัวขึ้น 11.6% เหนือกว่าดัชนีเปรียบเทียบอย่าง SET Index และ MSCI ACWI ได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่แรงกดดันจากการควบคุมอย่างเข้มงวดของรัฐบาลจีนส่งผลให้กองทุนรวมที่ลงทุนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ยกเว้น ญี่ปุ่น (Asia Pacific Ex. Japan) ปรับตัวลง 1.7% และ 2.1% ตามลำดับ
โดยที่มุมมองการลงทุนของ FINNOMENA Investment Team ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในของ Black-Litterman Model หัวใจของ FINNOMENA Robo-Advisor ที่ผสมผสานระหว่างโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยคำนวณค่าสถิติในอดีต กับ มุมมองการลงทุนในอนาคตจากผู้แนะนำการลงทุนนั้น ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้นไปถึงระยะยาว
จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับสัดส่วน เพื่อสะท้อนมุมมองดังกล่าว พร้อมด้วยการ Rebalance ซึ่งคือการเข้าซื้อเพิ่มในกรณีที่สินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งในพอร์ตราคาปรับลงมาก และขายทำกำไรในกรณีที่สินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่งราคาปรับเพิ่มขึ้นมาก หรือเป็นกลไกการ “ซื้อถูกขายแพง” นั่นเอง ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว พร้อมกับควบคุมความผันผวนให้ลดลงผ่านทางการปรับน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นตามการจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Stategic Allocation อีกครั้ง
ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำให้ปรับสัดส่วนการลงทุน ดังนี้
Goal DCA Above 20,000 Baht
รูปที่ 6 FINNOMENA Goal DCA Above 20,000 Baht | Source : Finnomena, As of 22/7/2021
Goal DCA Below 20,000 Baht
รูปที่ 7 FINNOMENA Goal DCA Below 20,000 Baht | Source : Finnomena, As of 22/7/2021
1st Million Port
รูปที่ 8 FINNOMENA 1st Million Port | Source : Finnomena, As of 22/7/2021
All Balance Port
รูปที่ 9 FINNOMENA All Balance Port | Source : Finnomena, As of 22/7/2021
โดยกองทุนที่แนะนำลงทุนยังคงเป็นกองทุนเดิมดังนี้
รูปที่ 10 ผลการดำเนินงานและค่าความผันผวนกองทุน TMBGQG เทียบกลุ่ม | Source : Finnomena, Morningstar As of 16/7/2021
กองทุนหุ้นทั่วโลก (ความเสี่ยงระดับ 6) มีนโยบายลงทุนใน Wellington Global Quality Growth Fund ในหน่วยลงทุนชนิด USD Class S Accumulating Unhedged ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
เน้นการคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom Up เพื่อให้ได้หุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว โดยเน้นไปยังหุ้นที่มีกระแสเงินสดจากการบริหารงานสูงและสม่ำเสมอ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ภายใต้ความผันผวนที่เหมาะสม ยังคงสามารถสร้างผลตอบแทน และความผันผวนอยู่ในระดับที่ดีถึงดีมากเมื่อเทียบกับกลุ่มกองทุนหุ้นทั่วโลกได้อย่างสม่ำเสมอ
รูปที่ 11 ผลการดำเนินงานและค่าความผันผวนกองทุน PRINCIPAL APDI เทียบกลุ่ม | Source : Finnomena, Morningstar As of 16/7/2021
กองทุนหุ้นเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น (ความเสี่ยงระดับ 6) กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund ที่จดทะเบียนในประเทศมาเลเซียคิดเป็นอัตราเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ซึ่งบริหารแบบ Active ด้วยสไตล์การบริหารแบบ Barbell ที่เน้นการรับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากหุ้นเติบโต คู่กับหุ้นปันผลชั้นดี ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนในระยะสั้น (3-6 เดือน) Underperform กว่ากลุ่ม จากการ Outperform ของหุ้นเติบโตในช่วงก่อนหน้า ก่อนที่จะถูกกดดันโดยท่าทีความตึงเครียดของบริษัทเทคโนโลยีในที่สุด
อย่างไรก็ตามการถือครองควบคู่กันแบบ Barbell ส่งผลให้ยังคงควบคุมความผันผวนให้อยู่ในระดับที่ดีถึงดีมากได้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้อัตราผลตอบแทนในระยะยาวยังคงอยู่ในระดับที่ดี
รูปที่ 12 ผลการดำเนินงานและค่าความผันผวนกองทุน TMBAGLF เทียบกลุ่ม | Source : Finnomena, Morningstar As of 16/7/2021
TMBAGLF กองทุนหุ้นเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น (ความเสี่ยงระดับ 6) มีนโยบายลงทุนใน BGF Asian Growth Leaders Fund ในหน่วยลงทุนชนิด (Class) A2 Acc USD ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งบริหารแบบ Active เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง สามารถปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
รูปที่ 13 ผลการดำเนินงานและค่าความผันผวนกองทุน TSF-A เทียบกลุ่ม | Source : Finnomena, Morningstar As of 16/7/2021
TSF-A กองทุนหุ้นไทย (ความเสี่ยงระดับ 6) ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม บริหารแบบ Active ด้วยการกลยุทธ์การลงทุน High Conviction ในบริษัทจดทะเบียนที่มีโอกาสเติบโตสูง ด้วยมูลค่าที่เหมาะสม ช่วยให้สร้างอัตราผลตอบแทนได้โดดเด่นอย่างต่อเนื่องภายใต้ความผันผวนที่สูงกว่ากลุ่ม
รูปที่ 14 ผลการดำเนินงานและค่าความผันผวนกองทุน PRINCIPAL iFIXED-A เทียบกลุ่ม | Source : Finnomena, Morningstar As of 16/7/2021
PRINCIPAL iFIXED-A (ความเสี่ยงระดับ 4) ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ หรือเงินฝากที่เสนอขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) เท่านั้น โดยที่กองทุนจะลงทุนแบบมีความเสี่ยงในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ยังคงเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง Active ที่สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนพร้อมด้วยความผันผวนได้ดีถึงดีมากอย่างสม่ำเสมอ เมื่อประกอบกับการที่ตราสารหนี้ระยะกลางยังคงเป็นสินทรัพย์ที่เหมาะสมแก่การถือครองเพื่อการลงทุนในระยะยาว ในฐานะสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนได้ใกล้เคียงอัตราเงินเฟ้อ และเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนในภาพรวม
รูปที่ 15 ผลการดำเนินงานและค่าความผันผวนกองทุน UGIS-N เทียบกลุ่ม | Source : Finnomena, Morningstar As of 16/7/2021
UGIS-N (ความเสี่ยงระดับ 5) มีนโยบายลงทุนในกองทุนหลัก PIMCO GIS Income Fund (Class I) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่า
บริหารการลงทุนแบบ Active บนตราสารหนี้ที่หลากหลาย ทั่วโลก ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ของธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น, ตราสารหนี้ภาคเอกชน และอื่นๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนจากรายได้สม่ำเสมอแบบ Income Fund ส่งผลให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าดัชนีเปรียบเทียบอย่างตราสารหนี้ทั่วโลก และกลุ่มเดียวกันได้อย่างสม่ำเสมอ เหมาะสมแก่การถือครองในระยะยาว
รูปที่ 16 ผลการดำเนินงานและค่าความผันผวนกองทุน TMBPIPF เทียบกลุ่ม | Source : Finnomena, Morningstar As of 16/7/2021
TMBPIPF (ความเสี่ยงระดับ 8) มีนโยบายลงทุนในหรือตราสารที่อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector) และ/หรือ หน่วย Infra ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ภายใต้การบริหารแบบ Active ซึ่งสามารถที่จะปรับน้ำหนักการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ ส่งผลให้ยังคงสร้างผลตอบแทนได้อยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับกลุ่มเดียวกัน แม้ความผันผวนจะสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบก็ตาม
รูปที่ 17 ผลการดำเนินงานและค่าความผันผวนกองทุน SCBGOLDH เทียบกลุ่ม | Source : Finnomena, Morningstar As of 16/7/2021
กองทุน SCBGOLDH (ความเสี่ยงระดับ 8) มีนโยบายลงทุนใน SPDR Gold Trust ETF ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมด้วยนโยบายการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% เสมอ ส่งผลให้ NAV กองทุนเคลื่อนไหวใกล้เคียงราคาทองคำในตลาดโลก ตามนโยบายการบริหารแบบ Passive ซึ่งมุ่งให้อัตราผลตอบแทนใกล้เคียงทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากที่สุด
สุดท้ายนี้ สำหรับนักลงทุนที่ได้รับคำแนะนำและปรับสัดส่วนการลงทุนตามแล้ว อย่าลืมปรับแก้คำสั่งซื้อแบบ DCA ให้เป็นไปตามสัดส่วนของพอร์ตการลงทุนแนะนำสำหรับแผนการลงทุน 1st Million และ Goal โดยสามารถศึกษาวิธีการปรับเปลี่ยนได้จากลิ้งค์นี้
แอปพลิเคชัน: https://www.youtube.com/watch?v=wOyQnLiePNI
เว็บไซต์: https://www.youtube.com/watch?v=Q6T1wIpShQ4
FINNOMENA Investment Team
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”