การปรับสมดุลของผลตอบแทนเริ่มเกิดขึ้นโดยตลาดที่ปรับตัวขึ้นมามาก ๆ อย่างสหรัฐฯ ทั้ง S&P และ NASDAQ มีการปรับฐานตามที่ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองในเดือนที่แล้ว โดย S&P500 ได้มีการปรับฐานถึงประมาณ 10% และ NASDAQ เกือบ 15% ในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามตลาดเกิดใหม่ และเอเชียแม้จะปรับตัวลงน้อยกว่าแต่ก็ได้รับ sentiment ในเชิงลบด้วยเช่นกัน คำถามสำคัญที่ควรตั้งคือ “นี่คือโอกาสในการเข้าลงทุน หรือตลาดหุ้นโลกกำลังจะเผชิญวิกฤต” ซึ่ง FINNOMENA PORT Strategy ของเดือนพฤศจิกายน จะมาดูประเด็นนี้กัน

นอกจากนี้ อีกประเด็นหนึ่งที่ร้อนแรงมากๆ นั่นก็คือการเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ ในวันที่ 6 พ.ย. ที่กำลังจะถึงนี้ ซึ่งจะมีการเลือกตั้งทั้ง สส. (House of representative) และ สว. (Senator) โดยจากผลสำรวจล่าสุดนั้นคาดว่ามีแนวโน้มจะเกิดเหตุการณ์ Split Parliament ว่าด้วย Democrat คุม สส. และ Republican คุม สว. ซึ่งไม่ว่าผลจะเป็นตามนี้หรือไม่ก็ย่อมจะมีแรงกระทบต่อตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

1. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับฐานลึกที่สุดครั้งหนึ่งในรอบ 5 ปี ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานอย่างมีนัยสำคัญ

รูปที่ 1 ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P500 | ที่มา Bloomberg – as of 31/10/61

รูปที่ 2  การปรับตัวของสินทรัพย์หลักทั่วโลกในเดือนตุลาคม 2561 | ที่มา FINNOMENA Analytic – as of 31/10/61

รูปที่ 3  การปรับตัวของสินทรัพย์หลักทั่วโลกนับแต่ต้นปี 2561 | ที่มา FINNOMENA Analytic – as of 31/10/61

ในเดือนตุลาคม 2561 ที่ผ่านมาดัชนี S&P500 และ NASDAQ ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นหลักของสหรัฐฯ มีการปรับฐานแรงที่สุดในรอบ 5 ปีประมาณ 10 – 15% ขณะที่ดัชนีหุ้นทั่วโลกทั้งยุโรป ญี่ปุ่น และตลาดเกิดใหม่ก็ปรับลงแรงตาม 7 – 12% ภายในเดือนเดียว ส่งผลให้นับตั้งแต่ต้นปีแทบทุกดัชนีหุ้นทั่วโลกให้ผลตอบแทนติดลบ ซึ่งนับเป็นปีที่ไม่ง่ายเลยสำหรับนักลงทุนทุกคน

2. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มักปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ

รูปที่ 4 การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก่อนการเลือกตั้งกลางเทอม 9 ครั้งที่ผ่านมา | ที่มา Bloomberg – as of 31/10/61

รูปที่ 5  ผลตอบแทน S&P 500 1 ปีหลัง Mid Term Election
ที่มา : https://www.flahartyllc.com/resources/market-news/why-bulls-smile-after-midterm-elections.aspx
(as of 31/10/61)

ในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้จะมีการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ทั้งสส. (House of representative) และ สว. (Senator) โดยล่าสุด Poll หลัก ๆ มองว่าสหรัฐฯ จะได้ Split Parliament คือ Democrat คุม สส. และ Republican คุม สว. บนความเป็นไปได้มากกว่า 80%

จากสถิติย้อนหลังนับจากปี 1946 ผลตอบแทนของ S&P 500  1 ปีหลัง Mid Term Election เฉลี่ยอยู่ที่ 14.5% และแม้ว่าจะเป็น Split Parliament 2 ครั้งจากการเลือกตั้งกลางเทอม 18 ครั้งที่ผ่านมาผลตอบแทนของ S&P 500 ก็สามารถทำได้ 3.7% และ 19.9% ตามลำดับ ทำให้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าตลาดหุ้นโลกน่าจะมีการฟื้นตัวในระยะต่อจากนี้

ยกเว้นกรณีเดียวหาก Democrat ชนะทั้ง สส. และ สว. ซึ่งมีโอกาสน้อย แต่ถ้าหากเกิดขึ้นจะทำให้ตลาดหุ้นตอบรับในเชิงลบ เนื่องจากนโยบายของประธานาธิบดีจะเริ่มขับเคลื่อนได้ยาก เนื่องจากทางพรรค Democrat จะไม่ทำการลงมติผ่านนโยบายให้จากสภาบน และสภาล่าง

3. ดัชนี Global PMI ยังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวแต่โตในอัตราที่ลดลง ขณะที่ ดัชนี PMI ของจีนมีสัญญาณชะลอตัวชัดเจน

รูปที่ 6 ดัชนี Global PMI ณ กันยายน 2561 | ที่มา Bloomberg (as of 31/10/61)

รูปที่ 7  ดัชนี China PMI ณ ตุลาคม 2561 | ที่มา Bloomberg – as of 31/10/61

ดัชนี Global PMI ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำทางเศรษฐกิจล่าสุด ณ เดือนกันยายน 2561 ยังอยู่ในเกณฑ์ขยายตัวแต่เติบโตในระดับที่ลดลงอยู่ที่ระดับ 52.2 ขณะที่ดัชนี Manufacturing PMI ของจีนปรับลงมาที่ 50.2 ซึงอยู่ในระดับที่แทบจะไม่ขยายตัว การปรับตัวของ PMI ระยะนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองและนับเป็นปัจจัยลบเล็กน้อยต่อตลาดหุ้นโลกในระยะนี้

4. IMF คาดการณ์การเติบโต GDP โลกปี 2019 ที่ 3.7%

รูปที่ 8  ประมาณการเติบโตเศรษฐกิจโลกปี 2019 | ที่มา IMF – as of 31/10/61

เมื่อดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจอย่าง PMI ชี้ให้ระมัดระวัง FINNOMENA Investment Team จึงไปดูที่ประมาณการเศรษฐกิจโลกของ IMF โดยล่าสุด ณ เดือนตุลาคม 2561 ทาง IMF ได้ออกมาคาดการณ์การเติบโตโลกในปีหน้า 2562 ที่ 3.7% โดยมองตลาดเกิดใหม่โต 4.7% และตลาดพัฒนาแล้วโต 2.1% ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับการเติบโตในปี 2561 ซึ่งจัดว่าเป็นการเติบโตในระดับที่ค่อนข้างดี

5. ค่าเงินหยวนอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่เศรษฐกิจจีนเติบโตในเกณฑ์ที่ลดลง

รูปที่ 9 ค่าเงินหยวน | ที่มา Bloomberg – as of 31/10/61

รูปที่ 10  การคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีน | ที่มา Bloomberg – as of 31/10/61

สำหรับประเทศจีนที่หลายฝ่ายมองว่าอาจเป็นต้นตอของวิกฤตเศรษฐกิจในรอบหน้า ทั้งนี้ล่าสุดค่าเงินหยวนได้ทำระดับอ่อนสุดนับแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 ซึ่งมองในมุมหนึ่งสะท้อนความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าการอ่อนค่าของเงินหยวนก็ช่วยให้ประเทศจีนเกินดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดเช่นกัน

ในส่วนของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโต 6.4% ในปี 2019 ซึ่งจัดว่าเป็นการเติบโตปานกลาง ขณะที่ทางการจีนได้มีนโยบายทั้งการเงิน นโยบายการคลังในการลดภาษี นโยบายสนับสนุนให้บริษัทที่มีปัญหาหนี้สินเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมไปถึงการใช้เงินกองทุนภาครัฐเข้ามาสนับสนุนตลาดหุ้น ทำให้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่ากรณีที่จีนจะเป็นตัวจุดชนวนวิกฤตการเงินรอบนี้ยังมีโอกาสเกิดที่ค่อนข้างต่ำ และตลาดหุ้นจีน รวมถึงเอเชียที่ปรับฐานไปแล้วถึงประมาณ 20% น่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการทยอยเข้าลงทุน

6. ระดับหนี้สินของประเทศหลัก ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย (ยกเว้นประเทศจีน)

S&P 500 – as of 31/10/61

 

NASDAQ – as of 31/10/61

 

Euro STOXX 600 – as of 31/10/61

 

Nikkei – as of 31/10/61

 

SHCOMP – as of 31/10/61

 

KOSPI – as of 31/10/61

 

SET – as of 31/10/61

รูปที่ 11 – 17 ระดับหนี้สินของบริษัทจดทะเบียนฯ ในประเทศหลักทั่วโลก | ที่มา Bloomberg – as of 31/10/61

ไปดูกันที่ระดับหนี้สินผ่าน Debt / Equity Ratio ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลัก ๆ ทั่วโลก เพื่อดูว่าบริษัทจดทะเบียนฯ ก่อหนี้จนถึงระดับที่น่ากลัวเกินไปหรือไม่ FINNOMENA Investment Team พบว่า D/E Ratio ของดัชนีหุ้นหลัก ๆ ทั่วโลกยังอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยคือไม่เกิน 1.5 เท่า ยกเว้นประเทศจีน และยุโรปที่ D/E Ration อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยรวม FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าโอกาสที่บริษัทจดทะเบียนใหญ่ ๆ จะล้มละลายเหมือนกรณี Hamburger Crisis อยู่ในโอกาสที่ค่อนข้างต่ำ

7. Valuation ของตลาดหุ้นทั่วโลกเริ่มเข้าสู่เกณฑ์ที่น่าสนใจ

Trailing P/E ของ S&P 500 ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ Forward P/E อยู่ที่ระดับ 14.9 เท่า บนระดับ Earning Growth ปี 2019 ที่ 9.7% (as of 31/10/61)

 

Trailing P/E ของ NASDAQ ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี ขณะที่ Forward P/E อยู่ที่ระดับที่่ 18.2 เท่า บนระดับ Earning Growth ปี 2019 ที่ 14.1% (as of 31/10/61)

 

Trailing P/E ของ Europe ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี ขณะที่ Forward P/E อยู่ที่ระดับ 12.6 เท่า บนระดับ Earning Growth ปี 2019 ที่ 9.8% (as of 31/10/61)

 

Trailing P/E ของญี่ปุ่น ต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี ขณะที่ Forward P/E อยู่ที่ระดับ 11.9 เท่า บนระดับ Earning Growth ปี 2019 ที่ 8.1% (as of 31/10/61)

 

Traiing P/E ของจีน A Shares ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี ขณะที่ Forward P/E อยู่ที่ระดับที่่ 9.3 เท่า บนระดับ Earning Growth ปี 2019 ที่ 15.5  % (as of 31/10/61)

 

Trailing P/E ของ KOSPI ต่ำที่สุดในรอบ 8 ปี ขณะที่ Forward P/E อยู่ที่ระดับที่่ 7.8 เท่า บนระดับ Earning Growth ปี 2019 ที่ 8.3% (as of 31/10/61)

 

Trailing P/E ของ SET ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ Forward P/E อยู่ที่ระดับที่ 13.7 เท่า บนระดับ Earning Growth 10.6% (as of 31/10/61)

รูปที่ 18 – 24  ระดับ Traling P/E ของดัชนีหุ้นหลัก ๆ ทั่วโลก (เฉพาะ 2019 เป็น Forward P/E) | ที่มา Bloomberg (as of 31/10/61)

ถึงตรงนี้ทำให้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าโอกาสที่จะเกิดวิกฤตการเงิน ณ เวลานี้ยังไม่มีองค์ประกอบที่มากพอ FINNOMENA Investment Team จึงกลับมาดูที่ระดับ Valuation ของตลาดหุ้นหลัก ๆ ทั่วโลก พบว่า Valuation ของเอเชียอย่างจีน เกาหลีใต้อยู่ในระดับที่ถูกมากจึงแนะนำให้ถือครองการลงทุนต่อไป นอกจากนี้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าเป็นโอกาสการลงทุนในหุ้นไทย และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสำหรับการลงทุนระยะยาว ซึ่ง FINNOMENA Investment Team แนะนำให้ลงทุนกองทุนที่มีลักษณะเป็น Best-in-class คือเป็นกองทุนที่ยอดเยี่ยมใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ความสม่ำเสมอของผลตอบแทน ระดับ Maximum drawdown ที่น้อยกว่ากองทุนอื่น และระดับผลตอบแทนหลังปรับความเสี่ยงที่ดีกว่ากองทุนคู่แข่ง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/bic/)

8. ปริมาณการถือครองทองคำของ ETF เริ่มปรับเพิ่มขึ้น

รูปที่ 25 ราคาทองคำ & ปริมาณถือครองทองคำของ ETF – SPDR Gold Trust | ที่มา Bloomberg (as of 31/10/61)

สุดท้ายคือทองคำที่ราคาเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 3 ปัจจัยหลักคือความเป็น Safe Haven ในยามที่ตลาดผันผวน, การถือครองทองคำของกองทุน ETF ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบปี และการกลับมาเข้าซื้อทองคำอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลาง

FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำให้ถือครองทองคำในสัดส่วนที่สูงกว่าปกติในโมเดล GAR และ TOP5 ต่อไปเพื่อใช้เป็นตัวช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตในกรณีหากตลาดหุ้นโลกผันผวน

โมเดลพอร์ตการลงทุนแนะนำของ FINNOMENA

Global Conservative Portfolio (GCP) – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 3,000,000 บาท]

พอร์ตเพื่อเป้าหมายชนะเงินฝาก และชนะเงินเฟ้อ เป้าหมายระยะยาว 3 – 5% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี)

คำแนะนำประจำเดือนตุลาคม 2561 : แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อเนื่องจากเดือนกันยายน

Global Absolute Return Portfolio (GAR) – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 3,000,000 บาท]

กระจายเงินลงทุนในหลายสินทรัพย์เพื่อสะสมมูลค่าเงินลงทุนบนเป้าหมายผลตอบแทน 8% ต่อปี หรือ 2 เท่าตัวใน 10 ปี (ไม่ใช่การการันตี) เและพยายามปกป้องความเสี่ยงในตลาดขาลงในปีที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดี

คำแนะนำประจำเดือนตุลาคม 2561 : แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อเนื่องจากเดือนกันยายน

TOP5 Portfolio – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 3,000,000 บาท]

เป็นการจัดพอร์ตแบบ Global Equity Allocation ที่จะลงทุนในกองทุนรวมไปเกิน 5 กองทุน เน้นการลงทุนเชิงรุก มีความถี่ในการปรับพอร์ตสูง และมีนโยบายการตัดขาดทุนที่เข้มข้น เป็นระบบ ตั้งเป้าหมายผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 10-15% ต่อปี หรือ 4 เท่าตัวใน 10 ปี (ไม่ใช่การการันตี)

คำแนะนำประจำเดือนตุลาคม 2561 : แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อเนื่องจากเดือนกันยายน 

Global Income Focus Portfolio (GIF) – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 5,000,000 บาท]

พอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ เป้าหมายผลตอบแทน 6-7% ต่อปี และจ่ายกระแสเงินสดเป็นรายเดือน (Passive Income) ในอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 4-5% ต่อปี (ไม่ใช่การการันตี)

คำแนะนำประจำเดือนตุลาคม 2561 : แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อเนื่องจากเดือนกันยายน

GOAL Portfolio – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 20,000 บาท เงินลงทุนต่อเดือนขั้นต่ำ (DCA) : 5,000 บาท]

ลงทุนเพื่อเป้าเก็บเงินก้อนหรือเป้าเกษียณ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีการวางเป้าหมายการลงทุน และ จัดพอร์ตตามวัตถุประสงค์ ตั้งใจสร้างวินัยการออม และทยอยลงทุนสะสมเป็นรายเดือน

1st Million Portfolio – [เงินลงทุนขั้นต่ำ 5,000 บาท เงินลงทุนต่อเดือน (DCA) : 2,500 บาทขึ้นไป]

พอร์ตการลงทุนสำหรับผู้ที่ตั้งใจจะสร้าง 1 ล้านบาทแรก ในชีวิตเหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ เพิ่งเริ่มต้นลงทุน มีความตั้งใจในการสร้างวินัยการลงทุน และทยอยลงทุนสะสมเป็นรายเดือน

โดยสรุป จากหลายปัจจัยที่ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์คำแนะนำการลงทุน FINNOMENA Investment Team พบว่าตลาดหุ้นโลกน่าจะยังไม่เข้าสู่ภาวะวิกฤต การปรับฐานรอบนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับทยอยสะสมการลงทุนในหุ้นไทย หุ้นเอเชีย และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะทียังแนะนำให้ถือครองทองคำในสัดส่วนที่สูงกว่าปกติต่อไปเพื่อใช้เป็นเครื่องมือลดความเสี่ยงในกรณีหากตลาดผันผวน

FINNOMENA Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน