เลือกกองทุนที่ดีที่สุด ชนะทุกสภาวะตลาด ด้วย BIC (Best-in-Class)

หากเราต้องการเลือกลงทุนกองทุนใดกองทุนหนึ่ง วิธีคัดเลือกกองทุนของเรามีอะไรบ้างครับ?

เชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน น่าจะเลือกดูผลตอบแทนย้อนหลังเป็นหลัก หรือไม่ก็ถามจากผู้เชี่ยวชาญ ฟัง ๆ ดูแล้วก็น่าจะเป็นวิธีที่ได้ผลดี

แต่ความจริงแล้ว ในสภาวะตลาดปัจจุบันที่ค่อนข้างผันผวน เอาแน่เอานอนไม่ได้ แม้แต่ผลตอบแทนย้อนหลังก็ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคตได้ และผู้เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถคาดเดาตลาดได้แม่นยำ 100% เสมอไป

วันนี้ บทความนี้เลยอยากขอพามาทำความรู้จักวิธีเลือกกองทุนอีกแบบหนึ่ง ซึ่งใช้การช่วยเหลือของ Machine Learning ที่จะทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่า ได้ลงทุนในกองทุนที่ดีที่สุด สามารถเอาชนะตลาดและกองทุนในประเภทเดียวกันได้ ช่วยให้พอร์ตการลงทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดียิ่งกว่าเดิม

พอร์ต Best-in-Class (BIC): คัดมาแล้วกับกองทุน 3 กองที่โดดเด่นที่สุด

เปิดตัวกันมาพักใหญ่แล้ว สำหรับพอร์ต Best-in-Class (BIC) ที่ประกอบด้วยกองทุน 3 กองที่ดีที่สุดในแต่ละประเภท โดยในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 ประเภทให้เลือกลงทุนกัน นั่นก็คือ 1) กองทุนอสังหาฯ และ REIT 2) หุ้นไทยขนาดใหญ่ 3) หุ้น Healthcare 4) หุ้นเทคโนโลยี และล่าสุดคือ 5) หุ้นเอเซีย-แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น)

ต้นกำเนิดของพอร์ตนี้ เกิดจากคำถามที่ว่า “เราจะรู้ได้อย่างไร ว่ากองทุนที่เราถือ คือกองทุนที่ดีที่สุดแล้วในประเภทนั้น ๆ?” เพราะผลการดำเนินงานของกองทุนนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กองทุนที่เคยมอบผลตอบแทนโดดเด่นในอดีต อาจจะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต

พอร์ต Best-in-Class เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาข้อนี้ โดยคัดเลือก 3 กองทุนที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมอบผลตอบแทนที่ดีที่สุดในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน

วิธีการคัดเลือกกองทุนเข้าพอร์ต Best-in-Class

FINNOMENA Investment Team ได้ใช้ระบบ Machine Learning เข้ามาช่วยเลือกกองทุน ซึ่งข้อดีของ Machine Learning คือระบบคอมพิวเตอร์นี้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านข้อมูลต่าง ๆ ที่มนุษย์ป้อนเข้ามา เพื่อผลิตผลลัพธ์ที่แม่นยำ ข้อดีของมันคือมันสามารถเรียนรู้กี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัดจำนวนจนกว่าจะเจอผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์แล้ว การใช้ Machine Learning จะช่วยประหยัดเวลา และลด Human Error ไปได้มากกว่า

แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ยังให้ความสำคัญกับมุมมองของมนุษย์ที่มีความเชี่ยวชาญ นอกจากข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์แล้ว ในโมเดลของระบบจึงมีการรวมมุมมองจากผู้จัดการกองทุนและนักวิเคราะห์ด้วย

หากจะเจาะลึกยิ่งขึ้นไปอีก Best-in-Class เลือกกองทุนด้วย Random Forests Model (RFM) ซึ่งเป็นหนึ่งในการทำงานแบบ Machine Learning

ให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือ โมเดลนี้จะสุ่มกองทุนในประเภทเดียวกัน แบ่งออกเป็นหลาย ๆ กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยกองทุนมากกว่า 10 กองทุน โมเดลก็จะทำการทำนายกองทุนในแต่ละกลุ่มโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ปัจจัยทางเทคนิค มุมมองนักวิเคราะห์ ฯลฯ เพื่อทำการคาดการณ์แล้วคิดออกมาเป็นคะแนน กองทุนกลุ่มไหนที่ได้รับการทำนายผลตอบแทนในอนาคตสูงสุดใน 6 เดือนข้างหน้า ก็จะได้รับการคัดเลือกเข้าพอร์ต Best-in-Class

เลือกกองทุนที่ดีที่สุด ชนะทุกสภาวะตลาด ด้วย BIC (Best-in-Class)

องค์ประกอบของ Random Forests Model

กองทุน Best-in-Class ทำผลตอบแทนได้ดีแค่ไหน?

ขอนำตัวอย่างผลการทดลองมาให้ดูอันหนึ่ง เป็นการคัดเลือกกองทุนหุ้นไทยขนาดใหญ่ (Equity Large-Cap)

ข้อมูลที่โมเดลนำมาประมวลผล ได้แก่ 1) ผลตอบแทนย้อนหลัง 20 ปี นับแบบวันต่อวัน ของหุ้นไทยขนาดใหญ่ 2) ปัจจัยทางเทคนิค 3) มุมมองจากผู้จัดการกองทุนและนักวิเคราะห์ 4) ข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์ประยุกต์ และ 5) NAV ของแต่ละกองทุน แบบวันต่อวัน โดยกรอบเวลาของการประมวลผลอยู่ที่ทุก ๆ 6 เดือนภายใต้สถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นจริง และมีการคิดค่าธรรมเนียมเข้าไปแล้ว

จากผลการทดลองดังกล่าว กองทุนที่ได้รับคัดเลือกเข้า BIC ในหมวดหุ้นไทยขนาดใหญ่นั้นสามารถเอาชนะผลตอบแทนเฉลี่ย 2 ปีของกองทุนประเภทเดียวกัน รวมถึงชนะในเกณฑ์อื่น ๆ เช่น Alpha Ratio ซึ่งก็คือส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของกองทุนกับเกณฑ์มาตรฐาน (ชนะไป 12.83%) และมี Max Drawdown ที่ต่ำกว่ากองอื่น ๆ อยู่ 4.56%

เลือกกองทุนที่ดีที่สุด ชนะทุกสภาวะตลาด ด้วย BIC (Best-in-Class)

เทียบผลการดำเนินงานของพอร์ต BIC ที่ได้รับคะแนนสูงสุด
ที่มา: FINNOMENA

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ที่น่าสนใจคือ พอร์ต BIC มีผลงานโดดเด่นทั้งในสภาวะตลาดกระทิงและตลาดหมี

  • ในช่วงตลาดกระทิง มีการปรับพอร์ตทุก 6 เดือนช่วงปี 2017-2018 ผลตอบแทนหักค่าธรรมเนียมของพอร์ต BIC อยู่ที่ 28.14% ขณะที่ SET TRI อยู่ที่ 12.14% ทำให้มี Alpha Ratio ที่ 16%
  • ในช่วงตลาดหมี ปี 2018-2019 BIC ก็ยังสามารถเอาชนะ SET TRI ได้ โดยมี Max Drawdown อยู่ที่ -11.24% ขณะที่ SET TRI อยู่ที่ -15.8%

ขอบเขตและข้อจำกัดของโมเดล

  • การทำนายผลของโมเดลอาจคลาดเคลื่อนกับสภาวะของตลาดในอนาคตได้
  • การเรียนรู้ของโมเดลครอบคลุมช่วงระยะเวลา 10 ปีย้อนหลัง อาจไม่ครอบคลุมกับเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญได้
  • ผลการทำนายอยู่บนช่วงระยะเวลา 6 เดือนหลังจากประกาศเท่านั้น และจะมีการปรับทุก 6 เดือน

สรุปจุดเด่นของพอร์ต Best-in-Class (BIC)

พอร์ต Best-in-Class (BIC) ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการความมั่นใจว่ากองทุนที่ถือนั้นเป็นกองทุนที่ดีที่สุดแล้วในประเภทนั้น ๆ โดยทาง FINNOMENA จะมีการปรับพอร์ตทุก ๆ 6 เดือน เพราะเจอว่า 6 เดือนคือระยะเวลาที่สมดุลที่สุด ระหว่างผลตอบแทนของกองทุนและค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น

และด้วยความที่พอร์ต Best-in-Class แยกเป็นประเภทสินทรัพย์ จึงเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยง รวมถึงต้องการมั่นใจว่าแต่ละประเภทสินทรัพย์ที่กระจายลงทุนนั้น ได้ลงทุนผ่านกองทุนที่ดีที่สุดของประเภทนั้น ๆ แล้ว

ดูข้อมูลเกี่ยวกับ Best-in-Class (BIC) เพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/bic/

หากนักลงทุนสนใจลงทุนในพอร์ต Best-in-Class (BIC) สามารถสร้างแผนการลงทุนได้ตามช่องทางดังนี้

BIC Property Fund & REITs: https://www.finnomena.com/bic-property-create/
BIC Thai Equity Large-Cap: https://www.finnomena.com/bic-thai-eq-create/
BIC Global Healthcare: https://www.finnomena.com/bic-healthcare-create/
BIC Global Technology: https://www.finnomena.com/bic-tech-create/
BIC Asia ex-Japan: https://www.finnomena.com/bic-asia-ex-jap-create/

สำหรับผู้ที่ต้องการทราบเบื้องลึกเบื้องหลังของระบบ Best-in-Class แบบละเอียด สามารถอ่านได้ที่ https://www.finnomena.com/bic-whitepaper

FINNOMENA Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I กองทุนกลุ่มนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย |  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TSF2024