เมื่อคืนวันที่ 23 มี.ค. ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ประกาศ เพิ่มขนาดวงเงิน QE จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น “ไม่จำกัด” และสามารถเข้าซื้อ Commercial Paper ได้ นอกเหนื่อจาก มาตรการ Limitless QE แล้ว ก็มีนโยบายย่อย ที่พุ่งตรงไปแก้ปัญหาสภาพคล่องใน Real Sector ตรง ๆ ได้แก่
1. การเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ เพื่อให้สามารถออกหุ้นกู้ หรือสามารถ Roll Over หุ้นกู้ของบริษัทออกไปได้ เพื่อพยุงไม่ให้เกิด Default Risk ขึ้น
2. การออก Term Asset Backed Securities Loan Facility เพื่อจะเพิ่มสภาพคล่องในธุรกิจ รวมถึงสินเชื่อผู้บริโภค สินเชื่อนักศึกษา และสินเชื่อรถยนต์
3. การเพิ่มสภาพคล่องให้กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) ที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรของรัฐบาลท้องถิ่นของสหรัฐฯ
4. เตรียมวงเงินกู้ฉุกเฉินเงินไว้อีก 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้เอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สามารถเข้ากู้ในต้นทุนต่ำ
FINNOMENA Investment Team มองว่า มาตรการนี้มีลักษณะคล้าย Fiscal Policy และไม่ได้จำกัดการช่วยเหลือเพียงภาคการเงินเท่านั้น แต่รวมถึงภาคธุรกิจและการบริโภคด้วย ซึ่งเป็นการออกนโยบายแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนแม้กระทั่งตอนวิกฤต Subprime
เราเชื่อว่า จะมีมาตรการการคลังออกมาอีกชุดในอีกไม่กี่วันที่จะถึง และมาตรการเหล่านี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ตลาดคลายความกังวล และทำให้สภาพคล่องกลับมาได้ทันที อย่างน้อยในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า
มุมมองทางเทคนิค (Technical Analysis)
กราฟของดัชนี S&P500 รายชั่วโมง (60min Chart) ยังไม่สามารถขึ้นมายืนเหนือ Moving Average 15 ได้ แต่สัญญาณ Bullish Divergence ก็เกิดขึ้นต่อเนื่อง รอยืนยันแท่งเทียนกลับตัวหลังจากนี้ ก็จะเป็นสัญญาณกลับตัว
รูปที่ 1 กราฟดัชนี S&P 500 (TF 60 min) I Source : Tradingview As of 24/3/2020
ขณะที่กราฟรายวัน (Daily Chart)
S&P 500 หลุด Low เดิมของปี 2018 ลงมาทดสอบที่ Fibonacci Retracement แนวสุดท้าย 23.6% ซึ่งระดับนี้ เป็นจุดต่ำสุดของดัชนีนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปี 16 หรือ มากกว่า 3 ปี
และมีการก่อตัวของสัญญาณ Bullish Divergence ชัดเจนขึ้น
รูปที่ 2 กราฟดัชนี S&P 500 (TF Day) I Source : Tradingview As of 24/3/2020
FINNOMENA Investment Team วิเคราะห์ว่า Bear Market Rally หรือ การวิ่งปรับตัวขึ้นในตลาดหมี Wave B (Tactical Rebound) กำลังจะเกิด
ซึ่ง Target Price มี 2 ที่ คือ
- Moving Average 50 ที่ 2,400 จุด หรือ Upside +9% จากระดับปัจจุบัน
- และอีกที่คือ Gap บริเวณ 2,700 จุด หรือ Upside +20%
เราแนะนำเข้าลงทุนเก็งกำไร เน้นรอบระยะสั้นไม่เกิน 3 เดือน ในกองทุน TMBGQG
นักลงทุนที่เหมาะกับ Tactical Call นี้
- เป็นนักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าสะสมในจังหวะที่สมเหตุสมผล
- นักลงทุนที่รับความผันผวนได้ คาดหวังผลกำไร 9%-20%
- นักลงทุนต้องยอมรับการ Limit Loss หรือ การตัดขาดทุนได้ทัน ในกรณีที่ NAV ลงมา ณ จุด Stop Loss > 5% จากต้นทุน
กองทุน TMBGQG
กองทุนหลัก : Wellington Global Quality Growth Fund
Top 10 Holdings
รูปที่ 3 Top 10 Holdings ของกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund I Source : Wellingtonfunds.com As of 24/3/2020
รูปที่ 4 Region weights ของกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund I Source : Wellingtonfunds.com As of 24/3/2020
รูปที่ 5 Sector Weights ของกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund I Source : Wellingtonfunds.com As of 24/3/2020
เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง TMBGQG และ MSCI World Index
รูปที่ 6 ผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน TMBGQG และดัชนี MSCI World I Source : Morningstar As of 24/3/2020
ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
จากการเปรียบเทียบผลตอบแทน พบว่ากองทุน TMBGQG ปรับตัวลงน้อยกว่า MSCI World Index เนื่องจาก
- Overweight หุ้นในกลุ่ม Info Tech ซึ่งเป็น Sector ผู้นำโลกและได้รับผลโดยตรงจากการแพร่ระบาดน้อยกว่า Sector อื่น อีกทั้งไม่มีสัดส่วนหุ้นในกลุ่ม Energy
- การกระจายการลงทุนทั่วโลกที่ให้ผลดีกว่าดัชนี MSCI World ถึงแม้จะถือหุ้นเพียง 70 ตัว แต่เนื่องจากกองทุนเน้นลงทุนในหุ้นที่สร้าง free cash flow ได้อย่างโดดเด่น มี Balance sheet ที่แข็งแกร่ง จึงทำให้ผลตอบแทนลดลงน้อยกว่าดัชนี MSCI World
- จากเหตุผลในข้อที่ 2 ทำให้บริษัทสามารถซื้อหุ้นกลับ (Buy back) ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยผลักดันหรือพยุงราคาหุ้นได้
FINNOMENA Investment Team
สำหรับลูกค้าปัจจุบันของ FINNOMENA เข้าสู่แอปเพื่อสร้างแผน DIY และซื้อขายได้ทันที ส่วนผู้ที่ยังไม่มีบัญชีซื้อขายกับ FINNOMENA >>คลิกที่นี่<< เพื่ออ่านวิธีการเปิดบัญชีภายใน 1 วัน
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน