“เงินบาทแข็งค่าที่สุดในรอบ 13 เดือน แต่ทำไมเงินในพอร์ตของเราถึงไม่เติบโตตาม?” แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่ผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของแต่ละคนกลับแตกต่างกันออกไป ในบทความนี้ เราจะมาไขปริศนาและหาคำตอบไปพร้อมกัน ว่าอะไรคือปัจจัยที่ส่งผลต่อพอร์ตของนักลงทุนในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า และมีวิธีจัดการพอร์ตอย่างไรให้สามารถรับมือกับสถานการณ์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุที่เงินบาทแข็งค่า
1. แข็งค่าตามภูมิภาคอาเซียน
เงินบาทไม่ได้แข็งค่าเพียงสกุลเดียว แต่เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคอาเซียน เช่น รูเปียห์อินโดนีเซีย ริงกิตมาเลเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้
2. ความไม่แน่นอนทางการเมืองลดลง
หลังจากที่ประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ความไม่แน่นอนทางการเมืองก็ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจมากขึ้นสำหรับการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
3. รายงาน GDP ไตรมาส 2 ดีกว่าคาด
ตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2/2567 ของไทยออกมาดีกว่าคาด โดยขยายตัว 2.3% ต่อเนื่องจาก 1.6% ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณบวกต่อเศรษฐกิจไทย และส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นมากขึ้น นำไปสู่การไหลเข้าของเงินทุนและการแข็งค่าของเงินบาท
4. ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลง เนื่องจากเงินเยนแข็งค่าขึ้น หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีแนวโน้มปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน และส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ตลาดยังคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจจะลดอัตราดอกเบี้ยลง 1-2 ครั้ง (25-50 basis points) ในเดือนกันยายน ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
สำรวจค่าเงินในประเทศเพื่อนบ้าน
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 21/08/2024
จากตารางแสดงให้เห็นถึงอัตราผลตอบแทน (Spot Returns) ของสกุลเงินต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ในช่วงวันที่ 31 กรกฎาคม ถึง 21 สิงหาคม 2024 เราจะเห็นได้ว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ (โดยเฉพาะในอาเซียน) มีการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ดังนี้
- รูเปียห์อินโดนีเซีย (IDR): แข็งค่าขึ้น 5.00%
- ริงกิตมาเลเซีย (MYR): แข็งค่าขึ้น 4.83%
- บาทไทย (THB): แข็งค่าขึ้น 3.84%
- เปโซฟิลิปปินส์ (PHP): แข็งค่าขึ้น 3.28%
- ดอลลาร์ไต้หวัน (TWD): แข็งค่าขึ้น 2.86%
- เยนญี่ปุ่น (JPY): แข็งค่าขึ้น 2.67%
- วอนเกาหลีใต้ (KRW): แข็งค่าขึ้น 2.47%
- ดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD): แข็งค่าขึ้น 2.22%
- หยวนจีนออฟชอร์ (CNH): แข็งค่าขึ้น 1.32%
- หยวนจีน (CNY): แข็งค่าขึ้น 1.31%
- ดองเวียดนาม (VND): แข็งค่าขึ้น 1.30%
- ดอลลาร์ฮ่องกง (HKD): แข็งค่าขึ้น 0.23%
มุมมองค่าเงินบาทในอนาคต
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 21/08/2024
นักเศรษฐศาสตร์จากหลายสำนักคาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี โดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับประมาณ 35.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสที่ 4
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทอาจมีความผันผวนได้หากมีปัจจัยใหม่ ๆ เข้ามา ซึ่งนักลงทุนควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
สัญญาณทาง Technical: USDTHB มีโอกาสรีบาวด์ 34 ใกล้ low เดิม และ RSI Oversold
Source: Finnomena Funds, Bloomberg as of 21/08/2024
จากมุมมองทางเทคนิค USDTHB มีโอกาสรีบาวด์ที่ระดับ 34 ซึ่งใกล้กับจุดต่ำสุดเดิม และดัชนี RSI อยู่ในภาวะ Oversold ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าการอ่อนค่าของดอลลาร์อาจชะลอตัวลงในระยะสั้น
กองทุนไหนได้รับผลกระทบบ้าง
แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่านักลงทุนทุกคนจะได้รับผลประโยชน์เสมอไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนโยบายแต่ละกองทุน โดยเราสรุปกองทุนที่ Finnomena Funds แนะนำไว้ดังนี้
1. กองทุนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กองทุนที่มี Net Long USD ได้แก่
UOBSC (USDTHB)
MEGA10AI-A (USDTHB)
KT-ENERGY (USDTHB)
KFSINCFX-A (USDTHB)
MUBONDUH-A (USDTHB)
UGISFX-N (USDTHB)
กองทุนเหล่านี้เป็นกองทุนแบบ Feeder Fund ที่ใช้สกุลเงิน USD ในการลงทุน และ/หรือไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging)
2. กองทุนที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า คือ กองทุนที่มี Net Long สกุลเงินเอเชีย ได้แก่
PRINCIPAL VNEQ (VNDTHB)
KKP VGF-UI (VNDTHB)
MEGA10CHINA-A (HKDTHB)
UOBSA (ASIATHB)
กองทุนเหล่านี้ลงทุนโดยใช้สกุลเงินของประเทศในเอเชีย เช่น ดองเวียดนาม (VND) และดอลลาร์ฮ่องกง (HKD) ซึ่งสกุลเงินเหล่านี้มีการแข็งค่าขึ้นเช่นกัน ทำให้ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งไม่รุนแรงเท่ากับกองทุนที่ใช้สกุลเงิน USD ลงทุนโดยตรง
3. กองทุนที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด คือ กองทุนที่มี Net Long Gold ได้แก่
KT-GOLDUH-A (GOLDTHB)
กองทุน KT-GOLDUH-A (GOLDTHB) ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น และมีแน้วโน้มสูงขึ้นอีก ซึ่งสามารถชดเชยผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าได้
แล้วเราควรทำอย่างไรดี
Finnomena Funds มีมุมมองว่ากองทุนที่ลงทุนตามคำแนะนำต่าง ๆ ของเรา แนะนำ “ถือ” ไว้ก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ในอนาคต โดยมีเหตุการณ์สำคัญคือการประชุม Fed ในวันที่ 17-18 กันยายนนี้ ซึ่งปัจจุบันตลาดคาดหวังว่า Fed จะลดดอกเบี้ย 1-2 ครั้ง
แต่ถ้า Fed ลดดอกเบี้ยแค่ 1 ครั้ง เงินดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสรีบาวด์ อีกทั้งเรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจไม่แย่จนเกิด Recession จึงไม่มีความจำเป็นที่ Fed จะต้องทำ Emergency Cut (ลดดอกเบี้ย 0.5%) ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”| สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299