ONE-FINEPE-UI

*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย | กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ | กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน

Highlight (คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)


การลงทุนใน Startup เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่กล้าเสี่ยงและมองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงสูงกว่า แต่หากเลือกลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพดี ก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ

Startup มักมีแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้ดี ทำให้มีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากได้รับการพัฒนาและลงทุนอย่างถูกต้อง การลงทุนใน Startup จึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ เมื่อเทียบกับการลงทุนในหลักทรัพย์ทั่วไป

ทำไมต้องลงทุนใน Startup

  • ศักยภาพในการเติบโตสูง Startup มักมีไอเดียใหม่ ๆ และเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรม ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงให้นักลงทุน
  • ตลาดขนาดใหญ่ Startup หลายแห่งมุ่งเป้าไปยังตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเติบโตสูง ทำให้นักลงทุนมีโอกาสเข้าถึงตลาดที่กำลังขยายตัว
  • สร้างผลกระทบ การลงทุนใน Startup ไม่เพียงแต่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนทางการเงิน แต่ยังเป็นการสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ ๆ และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
  • กระจายความเสี่ยง การลงทุนผ่านกองทุน Startup สามารถช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้
  • โอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีล้ำสมัย นักลงทุนจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และแนวคิดธุรกิจที่ทันสมัย

Startup ไม่ได้มีแต่ความล้มเหลว

Startup มักถูกมองว่าเป็นธุรกิจที่มีโอกาสล้มเหลวสูง โดยจากสถิติพบว่า 90% ของ Startup นั้นไปไม่ถึงฝั่งฝัน และ 10% ของ Startup ก็ล้มเหลวตั้งแต่ปีแรก (Source: Embroker as of 19 September 2024) ทำให้เกิดคำถามว่า “ลงทุนใน Startup แล้วจะประสบความสำเร็จไหม?”

ความจริงแล้วมี Startup มากมายที่ประสบความสำเร็จและได้กลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Alphabet บริษัทแม่ของ Google และ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok หรือ SpaceX ของ Elon Musk ก็ยังเคยเป็นบริษัท Startup อีกด้วย

หนึ่งในเหตุผลที่ Startup ล้มเหลวคือ ขาดเงินทุน ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และทำการตลาด และการระดมทุนก็ไม่ได้ง่ายเสมอไป โดยเฉพาะหากธุรกิจยังไม่สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ว่ามีศักยภาพในการเติบโต ทำให้หลายธุรกิจต้องหยุดการดำเนินงานเนื่องจากเงินทุนหมดก่อน

นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องการขาดประสบการณ์มักเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Startup ล้มเหลว โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นที่เจ้าของธุรกิจมักขาดประสบการณ์ในการบริหารจัดการหรือการทำตลาด

อย่างไรก็ตาม หาก Startup ได้รับการสนับสนุนจากพี่เลี้ยง (Mentor) หรือผู้ที่มีประสบการณ์ในวงการธุรกิจ ก็สามารถทำให้ Startup ประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากประสบการณ์และ Connection ของ Mentor จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนได้

ทำความเข้าใจแต่ละ Stage ของ StartupStartup มีกี่ Stage

Stage ต่าง ๆ ของ Startup | Source: HF-Solution ‘HOW TO RAISE MONEY FOR YOUR STARTUP’ as of July 2024

  1. Ideation Stage
    เป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา Startup โดยเริ่มจากการระดมความคิดและการวิจัยตลาดเบื้องต้น เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของแนวคิดธุรกิจและโอกาสในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด
  2. Early Stage
    เป็นช่วงของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และวางแผนการตลาดเพื่อขยายฐานลูกค้า เรียกว่าระยะ Seed หรือ Pre-Series A เป็นการเตรียมพร้อมที่จะสร้างมูลค่าและศักยภาพในการเติบโตในตลาด
  3. Growth – Expansion Stage
    ช่วงนี้คือการขยายตลาดและการเพิ่มกำลังการผลิต Startup จะเริ่มเข้าสู่ตลาดใหม่หรือเพิ่มการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในวงกว้างมากขึ้นและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน โดยจะเรียก Startup ใน Stage นี้ว่าเป็น Series A
  4. Mature Stage
    เป็นช่วงของการเติบโตที่คงที่ Startup มุ่งเน้นการรักษาตลาดเดิม เพิ่มช่องทางขยายตลาดใหม่ และการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและรักษาฐานลูกค้าเดิมให้คงที่
  5. Exit Stage
    เป็นช่วงสุดท้ายของการเติบโต Startup อาจเสนอขายหุ้น (IPO) หรือรวมกิจการและซื้อกิจการ (M&A) เพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว แต่ไม่ใช่ทุก Startup จะประสบความสำเร็จถึงขั้นนี้

เติบโตไปกับ Startup ศักยภาพสูงด้วย ONE-FINEPE-UI*

*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย | กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ | กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน

ONE-FINEPE-UI* เป็นกองทุน UI หรือ กองทุนรวมที่ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้น

โดยจะลงทุนในหน่วย Finno Efra Private Equity Trust ที่มุ่งเน้นการระดมทุนจากนักลงทุนคุณภาพ เพื่อนำไปลงทุนใน Startup ที่มีศักยภาพสูงทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Venture Capital ที่เน้นลงทุนในช่วง Seed Stage และ Early Stage ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจมีโอกาสเติบโตสูง โดยมุ่งเน้นการลงทุนในประเทศไทย 60% และอาเซียน 40% เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความคุ้นเคยในตลาดไทยและโอกาสการเติบโตในภูมิภาค

จุดเด่นของกองทุนคือการคัดเลือกธุรกิจที่มีเทคโนโลยีเป็นเอกลักษณ์และมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Impact) รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) ซึ่งเป็นแนวโน้มสำคัญของโลกธุรกิจในปัจจุบัน

ทั้งนี้ กองทุนมีอายุโครงการ 10 ปี และสามารถลงทุนได้เฉพาะในช่วงที่ IPO เท่านั้น (11 – 28 พฤศจิกายน 2024) ซึ่งบริษัทจัดการจะไม่เปิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนปกติภายหลังปิด IPO โดยจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนตามดุลยพินิจของบลจ. และแบบอัตโนมัติเมื่อครบอายุโครงการ

กองทุนนี้ไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนระดับสูงได้เท่านั้น และผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลาประมาณ 10 ปีได้ รวมถึงกองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหน่วยทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust : PE ทรัสต์) ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก

วัตถุประสงค์หลักของ Finno Efra Private Equity Trust

Finno Efra Private Equity Trust

สรุปโครงสร้าง Finno Efra Private Equity Trust | Source: Krungsri Finnovate as of April 2024

Finno Efra Private Equity Trust มีวัตถุประสงค์หลักในการระดมเงินทุนจากนักลงทุนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อนำไปลงทุนในกิจการ Startup ที่มีศักยภาพสูง โดยเน้นไปที่ Startup ที่มีเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์และมีความน่าสนใจในด้านของธุรกิจ Impact และ Digital Transformation ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

กลยุทธ์การลงทุน

Finno Efra Private Equity Trust ใช้กลยุทธ์การลงทุนในรูปแบบ Venture Capital (VC) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในธุรกิจ Startup ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือระหว่างการเติบโต

หนึ่งในลักษณะเด่นของกลยุทธ์นี้คือ การเน้นลงทุนใน Startup ที่มีไอเดียธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่และมีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยกองทุนจะมองหาธุรกิจที่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่เหมือนใครในตลาดและมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมได้ 

โดยกลุ่มธุรกิจที่กองทุนเลือกลงทุนจะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Impact) และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มนี้มีศักยภาพในการเติบโตสูงและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและเศรษฐกิจในระยะยาว

โดยกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะลงทุน ได้แก่

  • เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Technology)
  • เทคโนโลยีการตลาด (Marketing Technology)
  • เทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology)
  • เทคโนโลยีทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Technology)
  • เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Travel Technology)
  • การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
  • เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)
  • เทคโนโลยีการดูแลสุขภาพ (Health Technology)
  • เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
  • เทคโนโลยีไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Technology)
  • เทคโนโลยีการเคลื่อนย้าย (Mobility Technology)

 

พอร์ตการลงทุน Krungsri Finnovate

พอร์ตการลงทุนในปัจจุบันของ Krungsri Finnovate | Source: Krungsri Finnovate as of October 2024

นอกจากนี้ ยังสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีความสมดุลระหว่างความคุ้นเคยกับตลาดในประเทศและโอกาสเติบโตจากเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียนที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วลงทุนในภูมิภาค ด้วยสัดส่วนการลงทุนในไทย 60% และอาเซียน 40%

ทั้งนี้ กองทุนจะมุ่งเน้นลงทุนใน Startup ที่อยู่ในช่วง Seed Stage และ Early Stage ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจเพิ่งเริ่มต้นและต้องการเงินทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ และขยายธุรกิจไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น 

การลงทุนในช่วงนี้ช่วยให้กองทุนมีโอกาสเลือกธุรกิจที่ยังมีช่องทางในการเติบโตสูง เนื่องจากยังมีมูลค่าต่ำ ซึ่งหาก Startup เหล่านั้นได้รับการบริหารจัดการที่ดีจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงในอนาคต

เร่งการเติบโตด้วย FinnoEfra Accelerator

FinnoEfra Accelerator

FinnoEfra Accelerator | Source: Krungsri Finnovate as of April 2024

Accelerator ซึ่งเป็น Mentor Program ที่มาพร้อมกับโค้ชมากประสบการณ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และโอกาสสู่ความสำเร็จของ Startup

FinnoEfra Accelerator เป็น Mentor Program ที่ออกแบบมาเพื่อเร่งการเติบโตของ Startup ผ่านการสนับสนุนที่เข้มข้นและตรงจุด โดยมีโค้ชผู้เชี่ยวชาญซึ่งมากด้วยประสบการณ์คอยให้คำแนะนำเฉพาะทาง ช่วยปิดความเสี่ยงด้านการขาดประสบการณ์ของ Startup 

โดยคำแนะนำจะมีตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวางกลยุทธ์การตลาด ไปจนถึงการขยายเครือข่ายทางธุรกิจ ด้วยเป้าหมายหลักเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการและเปิดโอกาสให้ Startup มีความพร้อมที่จะก้าวสู่ตลาดแข่งขันได้อย่างมั่นใจ

ทำไมตลาด Private Equity ของอาเซียนถึงน่าสนใจ?

เศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน

ข้อมูลเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน | Source: Krungsri Finnovate as of April 2024

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) มีประชากรจำนวนมากถึง 688 ล้านคน จัดเป็นอันดับ 3 ของโลกในแง่ของจำนวนประชากร ซึ่งมากกว่าทั้งอเมริกาและยุโรป การมีประชากรจำนวนมหาศาลนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาค 

โดยประมาณการ GDP ของประเทศหลักในภูมิภาค ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย คาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 4.8% ในปี 2024 ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.1% และ 0.9% ตามลำดับในปีเดียวกัน

Venture Capital ในเอเชีย

มูลค่าการระดมทุนจาก Venture Capital ในเอเชียตั้งแต่ปี 2013 ถึง 2022 | Source: Krungsri Finnovate, Crunchbase as of May 2024

นอกจากนี้ เครือข่ายของกลุ่มเทคโนโลยี Startup ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่ามูลค่ารวมของ Startup ในภูมิภาคจะเติบโตจากระดับ 3.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 ไปสู่ระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2025 การเติบโตนี้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านการขยายโครงข่าย ซึ่งรวมถึงโครงการกองทุน TED ที่มุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุน Startup ในการขยายธุรกิจ

ภูมิภาคนี้ยังมีเครือข่ายทางการเงินที่เข้มแข็งและครอบคลุม โดยมีสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ เช่น SHB Finance, Home Credit, VietinBank, Danamon (สมาชิกของ MUFG) และ MUFG ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสนับสนุนความแข็งแกร่งทางการเงินของภูมิภาค

ดูแลโดยผู้จัดการมากประสบการณ์

คณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee)

คณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee) | Source: Source: Krungsri Finnovate as of October 2024

นายแซม ตันสกุล ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต และผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีประสบการณ์ในวงการการเงินกว่า 20 ปี และเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Krungsri RISE’ Fintech Corporate Accelerator แห่งแรกของไทย ที่บ่มเพาะ Startup ชื่อดัง เช่น Finnomena, Appman, Peak และ ChocoCRM

ปัจจุบันนายแซมเป็นผู้นำด้าน Fintech ในไทยและภูมิภาค โดยมุ่งเน้นการลงทุนด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีในไทยและอาเซียน พร้อมดำรงตำแหน่งกรรมการในสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทยและสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน

ต่อมาคือ นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ เป็นนักธุรกิจและนักลงทุนที่มีชื่อเสียงในวงการ Startup โดยเขาเป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการของบริษัทอี-ฟราสทรัคเซอร์ รวมถึงผู้จัดการกองทรัสต์ร่วมของ Finno Efra Private Equity Trust

นายภาวุธมีประสบการณ์การลงทุนใน Startup กว่า 50 บริษัท โดยส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จและเติบโตได้ดี มีเพียงแค่ 3-4 บริษัทเท่านั้นที่ล้มเหลว 

ซึ่งสูตรความสำเร็จของนายภาวุธคือการลงทุนใน Startup ตั้งแต่ช่วง Idea Stage ซึ่งช่วยให้สามารถสร้าง Upside ที่สูงและใช้เงินลงทุนไม่มาก โดยเขาจะเข้าไปช่วยเหลือทั้งด้านเงินทุนและให้การสนับสนุนจนกระทั่ง Startup เหล่านั้นเติบโตขึ้นมา

บริษัทที่นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ก่อตั้งและมีผลงานโดดเด่น ได้แก่

  • TARAD.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ขายให้ Rakuten ในปี 2009 มูลค่า 100 ล้านบาท
  • PaySolution ระบบชำระเงินออนไลน์ที่มียอดขายเกือบ 5,000 ล้านบาท และมีมูลค่าบริษัทเกิน 100 ล้านบาท
  • Shippop แพลตฟอร์มขนส่งและโลจิสติกส์ที่สร้างยอดขายเกือบ 500 ล้านบาท และมีมูลค่าบริษัทเกิน 100 ล้านบาทภายในปีที่ 3
  • Winter Energy เอเจนซี่โฆษณาที่มียอดขายเกือบ 300 ล้านบาท มูลค่าบริษัทเกิน 100 ล้านบาท 
  • WISESIGHT บริษัทผู้เชี่ยวชาญ Big Data ที่มียอดขายกว่า 200 ล้านบาท

ผลตอบแทนที่คาดหวัง

ผลตอบแทนย้อนหลังขกองทุน Venture Capital

ผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน Venture Capital ระยะ Early Stage ในภูมิภาคอาเซียน ระหว่างปี 2015 – 2023 | Source: Source: Krungsri Finnovate as of May 2024

*คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

กองทุน ONE-FINEPE-UI* คาดหวังโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ประมาณ 25% ต่อปี โดยมีการอ้างอิงจากบรรทัดฐานว่าการเติบโตของ Startup จะเกิดขึ้นในแต่ละรอบของการระดมทุน จาก Series A ไปสู่ Series B ซึ่งคาดว่า Startup จะสามารถเพิ่มมูลค่า (Valuation) ได้ประมาณ 100% ในแต่ละรอบ 

โดยทั่วไปการเติบโตจาก Series A ไปสู่ Series B (ระดมทุน 2 รอบ) จะใช้เวลาประมาณ 4 ปี และการเติบโตเฉลี่ยอยู่จะที่ 50% ต่อปี ทั้งนี้กองทุนมองว่าการคาดหวังโอกาสสร้างผลตอบแทนเพียงครึ่งหนึ่งที่ 25% ถือว่าเป็นอัตราที่น่าพอใจ

นอกจากนี้ จากข้อมูลอัตราผลตอบแทนในอดีตในช่วงปี 2013 – 2023 พบว่า การลงทุนในธุรกิจ Startup ช่วง Early Stage มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 28% ต่อปี สะท้อนถึงความสามารถในการสร้างมูลค่าจากการลงทุนในธุรกิจช่วงเริ่มต้น

ความน่าสนใจของ ONE-FINEPE-UI*

*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย | กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ | กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน

  1. ลงทุนในหุ้นนอกตลาด (Private Equity) โดยเฉพาะในธุรกิจ “New Economy” ซึ่งเป็น Startup ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือ Pre-Series A ผ่านหน่วย Finno Efra Private Equity Trust 
  2. ใช้ FinnoEfra Accelerator ซึ่งเป็นโปรแกรม Mentor ที่มีโค้ชผู้เชี่ยวชาญมาช่วยสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ Startup โดยไม่เพียงแค่ให้คำแนะนำในด้านธุรกิจ แต่ยังช่วยสนับสนุนให้ Startup สามารถเพิ่มโอกาสในการเติบโตได้อีกด้วย
  3. บริหารโดย Krungsri Finnovate ซึ่งร่วมมือกับ E-fraStructure โดย 2 หน่วยงานนี้มีสถานะเป็น Corporate Venture Capital (CVC) ที่มีประสบการณ์ในการลงทุนในธุรกิจ Startup มาแล้วหลากหลายโครงการ ความเชี่ยวชาญของทีมบริหารนี้เพิ่มความมั่นใจในการบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการวิเคราะห์โอกาสการลงทุน และโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับนักลงทุน
  4. มีระบบนิเวศ (Ecosystem) และเครือข่ายการลงทุน (Networking) ที่เข้มแข็ง โดยมีทั้ง VCs และ CVCs ที่พร้อมจะสนับสนุนการเติบโตของ Startup เพื่อเข้าสู่ Stage ถัดไป ช่วยเปิดโอกาสให้ Startup ได้เข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นในการขยายธุรกิจและสร้างโอกาสใหม่ ๆ 

ONE-FINEPE-UI* เหมาะกับใคร

*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย | กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ | กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน

  1. ผู้ลงทุนที่คาดหวังโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงจากการลงทุน Startup

เนื่องจากกองทุนนี้ลงทุนในธุรกิจ Startup ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระยะเริ่มต้น โดยตั้งเป้าสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ 25% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าการลงทุนทั่วไปมาก โดยอ้างอิงจากสถิติย้อนหลังของการลงทุนใน Startup ช่วง Early Stage ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 28% ต่อปี

  1. ผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ

เนื่องจาก ONE-FINEPE-UI* เป็นกองทุน UI หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้น จึงไม่สามารถขายหน่วยลงทุนให้กับผู้ลงทุนรายย่อยได้

  1. ผู้ลงทุนที่มองเห็นโอกาสในตลาดอาเซียน 

เหมาะสำหรับผู้ที่เชื่อมั่นในการเติบโตของภูมิภาคอาเซียนที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยกองทุนนี้มีการกระจายการลงทุนในสัดส่วน 60% ในไทยและ 40% ในอาเซียน ทำให้ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของทั้งตลาดในประเทศและภูมิภาค

  1. ผู้ลงทุนที่สนใจธุรกิจ Impact และ Digital Transformation

กองทุนมุ่งเน้นลงทุนใน Startup ด้านเทคโนโลยีหลากหลายประเภท เช่น FinTech, EdTech, HealthTech, AgriTech และอื่น ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) และธุรกิจที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Impact)

  1. ผู้ที่สามารถลงทุนระยะยาวได้ 10 ปี 

เนื่องจากกองทุนนี้มีอายุโครงการ 10 ปี และเปิดให้ลงทุนเฉพาะช่วง IPO เท่านั้น โดยบริษัทจัดการจะไม่เปิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนระหว่างอายุโครงการ และเนื่องจากการลงทุน Startup ในระยะเริ่มต้นต้องใช้เวลาในการเติบโต ผู้ลงทุนจึงควรพร้อมถือครองระยะยาว

  1. นักลงทุนที่เชื่อมั่นในทีมผู้บริหารที่มีประสบการณ์ 

เหมาะสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของทีมบริหาร โดยกองทุนนี้บริหารโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างคุณแซม ตันสกุล และคุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ที่มีประวัติความสำเร็จในการลงทุนและพัฒนา Startup มาแล้วหลายราย รวมถึงมีเครือข่ายและระบบนิเวศที่แข็งแกร่งผ่าน FinnoEfra Accelerator ที่ช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับธุรกิจ Startup

รายละเอียดอื่น ๆ ของกองทุน

*ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 1/11/2024

  • ความเสี่ยงระดับ 8+ (ความเสี่ยงสูงอย่างมีนัยยะสำคัญ)
  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล: ไม่จ่าย 
  • มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก: 500,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งถัดไป: 500 บาท
  • การป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน: ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end Fee): 
    • ลงทุนต่ำกว่า 25 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 1.25%
    • ลงทุนตั้งแต่ 25 – 49 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 1.00%
    • ลงทุนตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ยกเว้นค่าธรรมเนียม
  • ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end Fee): ปัจจุบันยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee): 1.25% ต่อปี

อ้างอิง: ONE-FINEPE-UI Factsheet

คำเตือน: กองทุนนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้บริษัทจัดการเดียวกัน ทั้งนี้ บริษัทจะจัดให้มีระบบงานที่ป้องกันธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์จากการลงทุนดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ถือหน่วยลงทุน | การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนเปิด วรรณ ฟินโน อีฟรา ไพรเวทอีควิตี้ ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน และผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวได้ | บลจ.วรรณ ในฐานะทรัสตีของ PE ทรัสต์ – Finno Efra Private Equity Trust (“PE ทรัสต์”) มีหน้าที่กำกับดูแลให้ PE ทรัสต์ ปฏิบัติตามสัญญาก่อตั้งทรัสต์ โดย มอบหมายให้บริษัทกรุงศรีฟินโนเวต จำกัด ร่วมกับ บริษัท อี-ฟราสทรัคเชอร์ จำกัด เป็นผู้จัดการทรัสต์ แต่อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการป้องกันการทำธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บลจ.วรรณ ได้มีมาตรการป้องกันและการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงมีการเปิดเผยการทำธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหน่วยทรัสต์เป็นสำคัญ | กองทุน ONE-FINEPE-UI ลงทุนในหน่วยทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust หรือ PE ทรัสต์) โดยไม่จำกัดอัตราส่วน ซึ่งมีความแตกต่างจากการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป ผู้ลงทุนควรจัดสรรเงินลงทุนในทรัพย์สินอื่นเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ และ ผู้ลงทุนควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ขาย และ/หรือศึกษารายละเอียดจากเอกสารประกอบการเสนอขายหน่วยลงทุน | เนื่องจากกองทุนมีนโยบายนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ จึงทำให้กองทุนอาจมีความเสี่ยงในเรื่องของเสถียรภาพจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง การเงิน ตลอดจนภาวะตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศที่กองทุนลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน | กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ดังนั้น กองทุนอาจยังมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน | กองทุนอาจมีการลงทุนในตราสาร non-investment grade / unrated รวมถึง unlisted securities ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย | กองทุนอาจเข้าทำธุรกรรมซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Reverse Repo) หรือธุรกรรมประเภทการให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Lending) รวมถึงอาจกู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการจัดการลงทุนได้ ดังนั้น กองทุนจึงอาจมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมทั่วไป | กองทุนนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด หมายเลขโทรศัพท์ 02-659-8888  | หรือที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

TSF2024