หุ้นกู้กลุ่มอสังหาฯ ที่นำมารีวิวมี 9 บริษัทด้วยกัน ได้แก่

  1. LPN: บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 
  2. MJD: บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
  3. ORI: บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)
  4. PF: บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน)
  5. RML: บริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน)
  6. S: บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)
  7. SA: บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน)
  8. SC: บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  9. SENA: บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

 

รีวิวหุ้นกู้ กลุ่มอสังหาฯ ตัวไหนน่าลงทุน

วิธีรีวิวหุ้นกู้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  1. Fundamental ประกอบด้วย ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น, ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นไม่รวม Inventory, หนี้สินต่อทุน, ความสามารถในการทำกำไร, ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย และกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
  2. Momentum ประกอบด้วย Bloomberg default probability และ Altman Z-score

 

รีวิวหุ้นกู้ กลุ่มอสังหาฯ ตัวไหนน่าลงทุน

วิเคราะห์ Fundamental

รีวิวหุ้นกู้ กลุ่มอสังหาฯ ตัวไหนน่าลงทุน

รีวิวหุ้นกู้ กลุ่มอสังหาฯ ตัวไหนน่าลงทุน

1. ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น

ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น วิเคราะห์จากตัวเลข “อัตราส่วนทุนหมุนเวียน” หรือ Current Ratio มีสูตรดังนี้

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) / หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)

  • ถ้าค่า > 1 = สินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน หมายถึงบริษัทนั้นมีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นที่ดี
  • ถ้าค่า < 1 = หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน หมายถึงบริษัทนั้นอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นได้

ซึ่งในกรณีนี้จะนำค่ามัธยฐาน (Median) มาเป็นค่ากลางในการวิเคราะห์ โดยค่า Median คือ 1.8 จากภาพจะเห็นได้ว่ามีอยู่ 4 บริษัทที่มีค่า Median จากข้อมูลปี 2022 เกิน 1.8 ได้แก่ LPN, ORI, SA และ SC

2. ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นไม่รวม Inventory

วิธีการคำนวณเหมือนกับความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น แต่ในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนจะไม่รวม Inventory หรือสินค้าคงคลัง เนื่องจากสินค้าคงคลังของธุรกิจกลุ่มอสังหาฯ คือบ้านและคอนโดที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง หรือก่อสร้างเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างรอขาย ซึ่งอาจจะไม่ได้นำมาชำระหนี้ได้ง่าย ดังนั้นการคำนวณความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นไม่รวม Inventory จะวิเคราะห์จากตัวเลข “อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว” หรือ Quick Ratio มีสูตรดังนี้

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) – สินค้าคงคลัง (Inventory) / หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities)

ดังนั้นจะมี 5 บริษัทที่มีค่า Median จากข้อมูลปี 2022 เกิน 0.4 ซึ่งเป็นค่ามัธยฐานของกลุ่มอสังหาฯ ได้แก่ MJD, ORI, S, SENA

3. หนี้สินต่อทุน

หนี้สินต่อทุนเป็นตัวเลขแสดงที่สัดส่วนการกู้หนี้ยืมสินว่าเป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น มีสูตรดังนี้

หนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) = หนี้สินรวม (Total Debt) / ส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity)

ยิ่ง D/E สูง จะแสดงถึงภาระหนี้ที่สูง สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทนั้น โดยค่ามัธยฐานของกลุ่มอสังหาฯ ในปี 2022 คือ 1.7 ดังนั้นจะมี 5 บริษัทที่มีค่า Median น้อยกว่า 1.7 ได้แก่ LPN, ORI, RML, SC และ SENA

4. ความสามารถในการทำกำไร

ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น วิเคราะห์จากตัวเลข “อัตรากำไรสุทธิ” (Net Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่าขาย 100 บาท จะมีกำไรสุทธิเท่าไร ยิ่ง Net Profit Margin สูง แสดงว่าบริษัทนั้นมีความสามารถในการทำกำไร มีสูตรดังนี้

อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) = (กำไรสุทธิ / ยอดขายสุทธิ) *100

ค่า Median ของกลุ่มนี้คือ 6% หมายความว่าถ้าขาย 100 บาท จะมีกำไรสุทธิ 6 บาท ดังนั้นจะมี 4 บริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรเกินกว่าค่า Median ของกลุ่ม ได้แก่ MJD, S, SA และ SC

5. ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย

ความสามารถในการชำระดอกเบี้ย วิเคราะห์จากตัวเลข “อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย” (Times Interest Earned Ratio) มีสูตรดังนี้

อัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (Times Interest Earned Ratio) = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี / ดอกเบี้ยจ่าย (เท่า)

  • ถ้าค่า > 1 กิจการมีรายได้เพียงพอต่อดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
  • ถ้าค่า < 1 กิจการไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ เจ้าหนี้สามารถบังคับหนี้ได้ตามกฎหมาย

สำหรับอัตราส่วนนี้ ยิ่งมีค่าสูงยิ่งดี โดยค่ามัธยฐานของกลุ่มอสังหาฯ ในปี 2022 คือ 1.0 ดังนั้นมี 4 บริษัทที่ความสามารถในการชำระดอกเบี้ยที่ดี ซึ่งได้แก่ MJD, RML, SA และ SC

6. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow from Operating: CFO) คือกระแสเงินสดที่เหลือจากการใช้จ่ายเพื่อให้กิจการดำเนินกิจการต่อได้

จากตารางจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทในอุตสาหกรรมอสังหาฯ จะติดลบ ตรงนี้แนะนำให้ไปดูอีกทีว่าเหตุผลที่ตัวเลขนี้ติดลบมาจากอะไร เพราะบางบริษัทอาจนำเงินไปลงทุนต่อเพื่อขยายกิจการ ซึ่งมักใช้เงินก้อนใหญ่ จึงทำให้ตัวเลขติดลบได้

วิเคราะห์ Momentum

1. Bloomberg Default Probability 

Bloomberg 1-Year Default Probability คือความน่าจะเป็นที่บริษัทจะมีการผิดนัดชำระหนี้ (Default) ภายใน 1 ปี ข้างหน้า วิเคราะห์จากสถิติข้อมูลในอดีตกว่า 65,000 บริษัทจดทะเบียนใน 10 อุตสาหกรรมทั่วโลก ตั้งแต่ปี 1998-2018 โดยใช้ค่า Distance to default และ Interest Coverage Ratio ในการคำนวณ ทำให้มีความแม่นยำของแบบจำลองสูงถึง 92%

รีวิวหุ้นกู้ กลุ่มอสังหาฯ ตัวไหนน่าลงทุน

วิธีการอ่านค่า Bloomberg Default Probability อ่านได้ตรงตัว เช่นจากตาราง หุ้นกู้ของ Property Perfect มีค่า Bloomberg Default Probability = 2.5% แสดงว่า หุ้นกู้ของ Property Perfect มีความน่าจะเป็นในการผิดนัดชำระหนี้ 2.5% ซึ่งค่านี้ควรเปรียบเทียบกันระหว่างอุตสาหกรรมเดียวกัน

2. Altman Z-score

Altman Z-score เป็นแบบจำลองทำนายบริษัทล้มละลาย สร้างโดย Edward Altman ศาสตราจารย์ด้านการเงินที่ NYU ในปี 1968 ใช้ข้อมูลทางบัญชีของบริษัทในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1970-1999 สามารถทำการคาดการณ์การล้มละลายของบริษัทภายในระยะเวลา 1 ปี ได้ถึง 80-90% โดยมีอัตราความผิดพลาดอยู่ที่ประมาณ 15-20% เท่านั้น

ถ้าค่า Altman Z-score อยู่ระหว่าง 0-1.8 คือมีความเสี่ยง, 1.8-3.0 สรุปไม่ได้ และ 3.0-4.0 ปลอดภัย

รีวิวหุ้นกู้ กลุ่มอสังหาฯ ตัวไหนน่าลงทุน

หมายเหตุ: เนื้อหาทั้งหมดมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้เป็นการชี้ชวนให้ลงทุนแต่อย่างใด


“ชมรมหุ้นกู้” รายการที่จะพาผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงข่าวในวงการหุ้นกู้ หุ้นกู้ออกใหม่ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นกู้ พร้อมคลีนิกหุ้นกู้ ให้นักลงทุนได้สอบถามความเห็นที่เป็นกลางตามหลักสากล และวิธีลงทุนในหุ้นกู้ได้อย่างถูกต้อง!

🔔 พบกันทุกวันอังคาร เวลา 19.00 น. ที่ Facebook และ Youtube ของ FINNOMENA