Impossible Trinity ต้มยำกุ้ง

วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 หรือวันนี้เมื่อ 27 ปีก่อน! ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตต้มยำกุ้ง

สิ่งที่อยู่เบื้องหลังและบังคับให้ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งนั้น มาจากการดำเนินนโยบายการเงินระหว่างประเทศที่ละเมิดทฤษฎี Impossible Trinity หรือ สามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้ เข้าอย่างจัง

Impossible Trinity เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของ 3 สิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้ในการกำหนดนโยบายการเงินของแต่ละประเทศ ได้แก่

1. การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate)
2. การปล่อยให้มีเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี (Free Flow of Capital)
3. การกำหนดนโยบายการเงินได้อย่างอิสระ (Autonomous Monetary Policy)

Source: Investopedia as of 04/10/2023

กฏบอกเอาไว้ว่าในแต่ละประเทศจะสามารถเลือกทำได้เพียง 2 จาก 3 ข้อเท่านั้น

คือ ถ้าจะให้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และเงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี ก็ต้องสูญเสียความสามารถในการกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ เช่น ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป

หรือถ้าอยากให้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ และกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ ก็ต้องแลกกับการออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าออกประเทศอย่างเข้มงวด เช่น ประเทศจีน

ส่วนกลุ่มประเทศที่ปล่อยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายแบบเสรี และกำหนดนโยบายการเงินอย่างอิสระ แน่นอนว่าจะไม่สามารถกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ได้ ซึ่งเป็นแนวทางส่วนใหญ่ของประเทศทั่วโลก รวมถึงไทยในปัจจุบัน

อย่างไรก็ดี ช่วงก่อนปี 2540 ไทยได้มีการฝืนกฎดังกล่าว โดยใช้นโยบายทั้ง 3 อย่างในเวลาเดียวกัน!!!

ซึ่งกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Fixed Rate ไว้ระหว่าง 24-26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับเปิดให้เงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี ในขณะเดียวกันก็ดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างเป็นอิสระ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

จึงนำมาสู่การโดนโจมตีค่าเงินบาทระลอกแล้วระลอกเล่า และเพื่อรักษาความมั่นคงในระบบอัตราแลกเปลี่ยน แบงก์ชาติจึงปกป้องค่าเงินบาท จนส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอ

กระทั่งในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาท กลายเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตต้มยำกุ้งที่รุกรามไปทั่วเอเชีย


อ้างอิง: Investopedia, What Is a Trilemma and How Is It Used in Economics?

TSF2024