52 สัปดาห์ชาเลนจ์ เป้าหมายการเงิน

อยากจะชวนให้ทุกคน ลองหยิบมาทบทวนตัวเองสัปดาห์ละ 1 ข้อ เริ่มทำตั้งแต่วันนี้… ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี ส่วนมากเป็นพื้นฐานการเงินง่าย ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไร แต่อาจจะถูกมองข้าม เพราะใกล้ตัวจนโดนละเลย

52 สัปดาห์ชาเลนจ์ เป้าหมายการเงิน

1. ออมก่อนใช้

2. ใช้ให้น้อยกว่าหา

3. ออมเป็นประจำ >10% ของรายได้

4. เก็บเงินสำรองฉุกเฉินให้ครบ 6 เดือน

5. มีรายได้มากกว่า 1 ทาง

6. จดเงินเข้าออก รายรับรายจ่าย

7. เงิน 100% ที่หามาได้ จัดสรรให้ได้เป็นสัดส่วน

8. ใช้สูตร 50-30-20 คือมีเงินได้ 100 บาท แบ่งไว้ใช้จำเป็น (Needs) 50 ใช้จ่ายเพื่อความสุข (Wants) 30 บาท ออมหรือลงทุน 20

9. ถ้าเพิ่งเริ่มต้นทำงาน อาจจะปรับเป็นสูตร 60-25-15 หรือหากอายุใกล้เกษียณก็สามารถปรับเป็นสูตร 45-25-30 แทนได้

10. เริ่มตั้งโจทย์เก็บเงินให้พอใช้ 20 ปีหลังเกษียณ

11. นำเงินไปลงทุน ถ้ายังจับจังหวะลงทุนไม่เก่ง ให้ DCA อย่างมีวินัย

12. เลือกสินทรัพย์ลงทุนไม่เก่ง ให้ลงทุนแบบจัดพอร์ต กระจายไม่กระจุก

13. เลิกลงทุนด้วยความโลภ หรือใช้หูฟังจากคนอื่น

14. ตั้งเป้าหมายการลงทุนให้ชัด ทั้งเป้าหมาย ระยะเวลา และผลตอบแทนที่คาดหวัง

15. ศึกษาและลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้และเป้าหมาย

16. เตรียมเงินก้อนเผื่อค่าใช้จ่ายที่มาไม่บ่อยแต่เยอะ เช่น ซ่อมบ้าน ซ่อมรถ เจ็บป่วยหนัก

17. ไม่มีภาระผ่อนหนี้เกิน 1 ใน 3 ของรายได้

18. หลีกเลี่ยงเงินกู้นอกระบบ เงินกู้ดอกเบี้ยสูง

19. มีบัตรเครดิตแค่ 1-2 ใบก็พอแล้ว

20. อย่าใช้บัตรเครดิตเพื่อกดเงินสดมาใช้จ่าย

21. ไม่เปิดเผยข้อมูลบนบัตรโดยไม่จำเป็น เช่น เลขบัตร เลข CVV

22. ตั้งรหัสผ่านทางการเงินให้เดายาก และเปลี่ยนเป็นระยะ เช่น 3 เดือน

23. ตั้งสติ ไตร่ตรอง ก่อนโอนเงินให้คนที่ไม่รู้ใจ

24. ระวังการลงทุนที่พูดถึงแต่ผลตอบแทนสูง แต่ไม่เคยพูดเรื่องความเสี่ยง

25. คำนวณเงินเกษียณที่ควรมี = ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตหลังเกษียณ

26. เช็กเงินออมเพื่อเกษียณที่มีอยู่ จะได้รู้ว่าต้องเก็บอีกเท่าไหร่

27. เพิ่มเงินออมและลงทุนเพื่อเกษียณตามรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

28. ซื้อประกันสุขภาพหรือประกันชีวิต

29. ตั้งงบประมาณสำหรับการท่องเที่ยว

30. ศึกษาเรื่องภาษีและลดหย่อนภาษี

31. เพิ่มพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขค้น

32. มีรายได้แบบ Passive Income

33. ลงทุนในหุ้นหรือกองทุนปันผล

34. อ่านหนังสือการลงทุนให้ได้เดือนละเล่ม

35. เรียนรู้ทักษะใหม่ที่ช่วยเพิ่มรายได้

36. จัดทำแผนการลงทุนของตัวเองอย่างเป็นระบบ

37. วางแผนลงทุนด้านอื่น ๆ เช่น สุขภาพ ความรู้

38. ลงทุนอะไรแล้วนอนไม่หลับ อย่าเพิ่งลงทุน

39. ลงทุนในสิ่งที่ตัวเองเข้าใจ

40. ตั้งเป้าเพิ่มการเติบโตของพอร์ตให้ชนะตลาด

41. รู้จัก Cut Loss เมื่อลงทุนผิดทาง

42. เพิ่มสัดส่วนเงินออม PVD

43. ปรับพอร์ตทุกครึ่งปี

44. สำรวจพอร์ตทุก ๆ เดือน

45. วางแผนความคุ้มครองทรัพย์สิน หนี้สิน ชีวิต และสุขภาพ

46. มีวินัย อดทน ทำตามแผนการของตัวเอง

47. ไม่เล่นนอกเกมที่ตัวเองไม่ถนัด ไม่รู้ไม่เข้าใจ

48. รู้จักและเข้าใจสินทรัพย์ที่จะลงทุนให้หลากหลายมากขึ้น

49. รู้จักตัวเองให้มากขึ้น อะไรคือเป้าหมาย อะไรคือความพอใจ

50. เมื่อมีพอแล้ว รู้จักแบ่งปันเพื่อคนอื่น

51. ส่งต่อความรู้ที่ดี

52. อย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเองเป็นนักลงทุนที่ดี