คาดการณ์ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะอยู่ในภาวะไร้ทิศทางในช่วงสั้น ภาวะสับสนในทิศทาง (direction) เนื่องจากการส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกันเองของ Fed มีทั้งผลในทางบวก และผลในทางลบ เพราะฉะนั้นภาวะตลาดทุนจึงอาจจะเน้น Sideway กรอบแคบ การเลือกลงทุนในหุ้นรายบริษัทจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าลงทุน across the board
- สัญญาณในทางบวก คือ บันทึก (Fed Minute) การประชุมของ Fed เมื่อเดือนก.ค. บ่งบอกว่าดอกเบี้ยจะอยู่ระดับต่ำตราบเท่าที่เงินเฟ้อยังต่ำและสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน
- ในทางลบ ประธาน Fed สาขา San Francisco เสนอแนะการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในเดือนก.ย. ซึ่งสอดคล้องกับประธาน Fed สาขา New York William Dudley และประธาน Fed สาขา Atlanta
- แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงสับสนใน Essay ของประธาน Fed สาขา New York ที่ว่าสภาพเศรษฐกิจแบบนี้ต้องมีดอกเบี้ยที่ต่ำสำหรับอนาคตที่เห็นได้ (Foreseeable future) และ Fed ควรเพิ่ม Inflation Targeting
- ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือไม่ ให้ติดตาม 3 ปัจจัยคือ
- ตลาดหุ้นโลกได้ให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนกันยายนมากเกินไป (การประชุมของเฟดเดือนกันยายน ในวันที่ 20-21) ในขณะเดียวกัน ได้ให้น้ำหนักการเพิ่มดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนธ.ค. น้อยเกินไปถ้า Fed ไม่ขึ้นดอกเบี้ยเดือนกันยายนนี้ มีโอกาสที่ตลาดหุ้นโลกมี Relief Rally อีกครั้งช่วงเดือนกันยายน
- ถ้าค่าเงิน Yen ต่อ US$ ต่ำกว่า 100 การประชุมของ BOJ ในวันที่ 21 กันยายนนี้จะมีความสำคัญมากๆ ต่อมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของ BOJ ซึ่งจะถือว่าเป็นรอบของ Comprehensive assessment BOJ ยอมรับว่าการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบเพิ่มมีโอกาสเป็นไปได้สูงถ้าดอกเบี้ยนโยบายติดลบเพิ่มขึ้น เราอาจจะได้เห็น search for yield ในตลาด emerging market เพิ่มขึ้น
- ถ้อยแถลงของ Janet Yellen ที่ Jackson Hole วันที่ 26 สิงหาคม ซึ่งถือเป็น Forward Guidance ที่สำคัญ เมื่อการประชุมปี 2010 Bernanke ได้ให้ Guidance เรื่อง QE 2 และนักวิเคราะห์คาดกันว่า Janet Yellen ยังคงใช้คำว่า Expanded Balance sheet สำหรับเศรษฐกิจที่ตกต่ำแบบ new normal รวมถึง Fed อาจจะเริ่มใช้คำพูด explore negative interest rate policy หรือ นโยบายดอกเบี้ยติดลบในกรณีที่เศรษฐกิจมีสัญญาณถดถอย
- สิ่งที่น่าสนใจคือ นักลงทุนต่างประเทศซื้อหุ้นไทยประมาณ 100,000 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปี โดยส่วนใหญ่เป็น passive fund ทั้งสิ้น (ผ่าน ETF) ในขณะที่ Active Fund ยังคง underperform และมี position ที่น้อย มองว่า ใน Stage ถัดไป การปรับตัวขึ้นของตลาดทุนไทยจะต้องมาจากการเพิ่ม Position ของ Active Fund หุ้น large cap ที่ยังคง laggard และมี high yields จะได้ผลบวกถ้า Active Fund เริ่ม overweight
- มุมมองยังคงเหมือนเดิมที่เคยให้ไว้ คือ สภาพคล่องในไตรมาส 3 จะสูงสุด ในขณะที่ไตรมาส 4 มีเหตุการณ์ที่จะ Trigger ฟันด์โฟล์มีโอกาสไหลออก หลายเหตุการณ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การที่มี short position ที่มากเกินไปของตลาด VIX (ปริมาณ net short ของ VIX แตะระดับ US$1.3 พันล้าน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2004) การที่นักลงทุนเริ่มมี long position ใน US$ น้อยเกินไปและโอกาสที่เกิด Bond shock มีสูง
แท็ก: