dr.wisit-11-15-july

มุมมองในไตรมาส 3 ปี 2016 (11-15 กรกฎาคม 2559)

ในที่สุด Consensus หรือความเห็นนักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองเป็นไปอย่างที่ได้คิดไว้ คือ Rally สู่ระดับ 1,500 หลัง Brexit และ Brexit จะมีฟันด์โฟลว์ไหลสู่ตลาด Emerging Market และอาจจะเป็นช่วงที่สภาพคล่องสูงสุดของ Emerging Market ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างประเทศซื้อพันธบัตร 1.5 หมื่นล้านบาท ซื้อหุ้น 5.7 พันล้านบาท

  • ตลาดหุ้นทั่วโลก ภายหลัง Brexit ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-7% โดยตลาดลาตินและอเมริกาใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7%
  • ยังคงมองว่าตลาดหุ้น EM ใน Asia ยังคง Outperform เนื่องจากมีมูลค่าถูกกว่า Developed Market ในแง่ EV/EBITDA ขณะเดียวกันมี Dividend Yields สูงกว่าสิ่งที่เป็น Catalysis ที่สำคัญของตลาดไทย คือ การที่บริษัทจดทะเบียนมีสถานะเงินสดที่สูง ทำให้ Dividend Yields ของตลาดหุ้นไทยน่าสนใจ (3.3% ซึ่งอยู่ในโซนสูงของตลาดเอเชีย) ผลตอบแทนพันธบัตรของรัฐบาลไทยยังต่ำสุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งผลต่างระหว่างผลตอบแทนเงินปันผลของ SET และเงินฝากระยะ 1 ปี ต่างกันสูงสุดในระยะ 2 ปี ทำให้สภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นภายในประเทศ มี risk appetite ในตลาดทุน ทำให้หุ้นมีความน่าสนใจ สิ่งที่สำคัญที่สุดของตลาดหุ้นไทยคือ ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นตัวตัดสินทิศทางตลาดหุ้นไทย
  • นักลงทุนต่างประเทศมองว่า ตลาดหุ้น USA มี Valuation ที่แพง และ Bond Yield มีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวลดลง สิ่งนี้นำไปสู่การเคลื่อนย้ายเงินทุนจากตลาดพันธบัตรมาสู่หุ้น ค่าเงิน Yen ที่แข็งมาสู่ที่ 102-103 Yen/US$ ทำให้หุ้นญี่ปุ่นไม่น่าสนใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ตลาดไทยน่าสนใจ
  • ด้านตลาดทุนยุโรป รัฐบาลอิตาลียังคงเจรจากับ European Commission ในเรื่องของ Bank Bailout เนื่องจากอิตาลีมีหนี้เสียอยู่ 193,000 ล้านยูโร (60-70% ที่เป็น Default) ซึ่งจะนับเป็นราว 25% ของ GDP อิตาลี ทำให้ Bank ในอิตาลีอาจต้องเพิ่มทุนเกือบ 40,000 ล้านยูโร (เทียบเท่ากับ 3% ของ GDP) สิ่งนี้อาจเป็นแรงกดดันตลาดทุนโลก และตลาดทุนไทยอาจจะมีแนวต้านสั้นๆที่ระดับ 1,480 และอาจจะ Consolidate และ Breakout ในภายหลัง
  • ตัวเลข Non-Farm Payroll หรือ NFP ในเดือนมิถุนายนปรับตัวเพิ่มขึ้น 287,000 ตำแหน่งสูงกว่า Consensus ที่คาดไว้ประมาณ 180,000 ตำแหน่งเท่านั้น แต่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของ NFP กลับไม่ทำให้ Bond Yield เพิ่มขึ้น ตลาดหุ้นในเอเซียยังคงอยู่ในภาวะ Search For Yields
  • การลงทุนในช่วงที่มี Liquidity สูง แต่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ (Small growth เช่น GDP 3% ดังเช่นในช่วงนี้) จะเป็นลักษณะ Rotation ไปสู่หุ้นที่ Laggard และเป็นราย Sectors แทน เพราะฉะนั้นหุ้นจะไม่สามารถปรับตัวขึ้นประเภท Across the Board ได้ (ขึ้นยกแผง)
  • สิ่งที่น่ากังวลคือ การที่ดอกเบี้ยปรับตัวลดลงมากแต่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ถือเป็นสัญญาณที่ไม่ดี (Bad Sign) และเป็นไปลักษณะนี้ทั่วโลก และมองว่านโยบายการเงินของ BoJ ผ่าน Abenomics จะเป็นการขยายในส่วนที่เป็นนโยบายการคลัง หรือ Fiscal QE
  • เราได้เห็นการที่ หุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นต้นน้ำ เช่น กลุ่มรับเหมา และกลุ่มวัฏจักรของราคาไก่ ได้ Outperform
  • หุ้นที่มี Business Model ที่เป็น Capital light (ใช้เงินทุนน้อย) แต่เน้นไปที่การจับเทรนด์ของการเปลี่ยนแปลงการบริโภค (Customer Behavior) จะ Outperform
  • หุ้นที่เป็นโครงสร้าง Duopoly ทีมี ROCE และ EBIT สูง จะ Outperform
  • มองว่า กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและ กลุ่มธนาคารจะได้อานิสงส์ของเงินทุนไหลเข้าไปใน Phase ถัดไป

ที่มาบทความ : https://www.facebook.com/460106474094906/photos/a.460987304006823.1073741828.460106474094906/873587289413487/?type=3&theater