มาจะกล่าวบทไป ตอนที่แล้วผมเล่าเรื่องว่ากองทุนคืออะไรในบทความ “คัมภีร์มหากาพย์ กองทุนรวม คืออะไร? มือใหม่อ่านที่นี่ ครบจบที่เดียว“
ทีนี้ก็เริ่มมีคนสงสัยครับว่าถ้าจะลงทุนกองทุนเนี่ย ต้องไปลงที่ไหน อะไรยังไง เริ่มเปิดบัญชีอย่างไรดี ก็เลยจะมาสรุปคร่าว ๆ ให้ฟังว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง แล้วจะลองพาไปเปิดกันออนไลน์เลย
Highlights
1. เปรียบเทียบทุกแง่มุม เปิดบัญชีกองทุนที่ไหนดี ?
2. ลองพาไปเปิดบัญชีกับ FINNOMENA PORT ดู กรอกเต็มที่ไม่เกิน 5 นาที
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
เปรียบเทียบกันก่อนว่าจะเริ่มลงทุนกองทุน เปิดบัญชีที่ใดได้บ้าง
1. ธนาคาร/บล. (บริษัทหลักทรัพย์) ในเครือ
ตัวเลือกแรกๆ ที่คนมักจะนึกถึง ปัจจุบันเกือบทุกธนาคารก็มักจะมีบริการให้นักลงทุนทุกท่านเข้าไปเปิดบัญชีกองทุนรวมได้ง่ายๆ เพียงแค่เดินเข้าไปที่สาขาธนาคารและแจ้งความประสงค์กับพนักงานสาวสวยที่รอต้อนรับทุกท่านอยู่
อย่างไรก็ตามการเปิดบัญชีกับธนาคารนั้นบางแห่งยังสามารถซื้อขายได้เฉพาะกับกองทุนของ บลจ. (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) ในสังกัดเท่านั้น (ในสังกัดเช่น Kbank กับ KAsset)
SCBS Easy Invest Application
TISCO Wealth Advisory
อย่างไรก็ตามบางธนาคารก็เริ่มที่จะเปิดตัว Platform ที่สามารถซื้อได้ต่างธนาคารมากขึ้น เช่น TISCO Wealth , หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS), และอื่นๆ ซึ่งในที่นี้ถ้าใครยังคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมการเงินกับธนาคาร มีการเข้าออกธนาคารบ่อยๆ ก็อาจจะเลือกทางเลือกนี้ได้ทันที
KBank Private Banking
TMB Smart Port
นอกเหนือไปจากนั้นบางธนาคารก็เริ่มจะมีการให้คำแนะนำในการลงทุนด้วยทั้งสำหรับลูกค้าที่มีสินทรัพย์สูง (High Net Worth) ระดับหลายล้านขึ้นไปอย่างของ Kbank Private Banking , KTB Precious หรือบางเจ้าอย่าง TMB Smart Port ก็เริ่มลงมาให้คำแนะนำสำหรับลูกค้าทั่วไป เงินลงทุนขั้นต้น 10,000 บาทเป็นต้น อย่างเจ้าหลังมีการงดเว้นค่าธรรมเนียมการซื้อเข้า ออก (Front/Backend Fees) ให้ลูกค้าด้วยนะครับ เรียกได้ว่าแข่งขันกันดุเดือดเลย แต่ผลประโยชน์ก็มาตกที่นักลงทุนอย่างพวกเรานี่แหละ 🙂
2. เปิดกับหลักทรัพย์ บล.(บริษัทหลักทรัพย์) ที่เน้นความเป็น Fund Supermart
เปิดบัญชีที่เดียว มั่นใจได้ว่าซื้อได้หลาย บลจ. (บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน) อันนี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจครับ โดยมีผู้เล่นรายใหญ่ๆ ที่ผู้เขียนรู้จักอย่าง Nomura iFund, Phillip Fund Supermart และอื่นๆ รวมไปถึง FINNOMENA ที่ผู้อ่านกำลังอ่านอยู่นี่ด้วยครับ
ข้อดีของการเปิดบัญชีลงทุนกับบริษัทเหล่านี้ ที่แน่ๆ นอกเหนือจากซื้อได้หลายบลจ. (ยังไงเช็กแต่ละเจ้าอีกที อาจจะมีแตกต่างกันบ้าง 2-3 บลจ.) แบบไม่มีข้อกังขาแล้ว ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นก็เท่ากับที่เราซื้อกับธนาคารหรือบลจ. เป๊ะๆ เลย เพราะบริษัทเหล่านี้ทำรายได้จากการขอแบ่งค่าธรรมเนียมด้านหลังกับ บลจ. อีกที ตัวอย่างแบบจำลองตัวเลขขึ้นมา ดังนี้ครับ
ปกติซื้อกอง A ผ่านบลจ. A ค่าธรรมเนียม 1 บาท บลจ. A ได้ค่าธรรมเนียมเต็มๆ
พอเรามาซื้อที่บล.เหล่านี้กอง A ค่าธรรมเนียม 1 บาทเหมือนกัน แต่ 50 สตางค์ไปอยู่ที่บล. และ อีก 50 สตางค์แบ่งเข้าบลจ.ไป
เรื่องความปลอดภัยหลายคนอาจจะมองว่าไม่มั่นคงเท่าธนาคาร แต่ความจริงคือ บริษัท บล. เหล่านี้มีหน้าที่รับคำสั่งจากลูกค้าและสิ้นวันส่งเงินไปให้ธนาคารพาณิชย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์กองทุนต่างๆ ที่นักลงทุนได้เลือกลงทุนไป ไม่ได้เก็บที่บล.เหล่านี้แต่อย่างใด
ถ้า บล. พวกนี้มีอันเป็นไป ต้องปิดกิจการ เงินเราก็ไม่หายไปไหน อยู่ที่ บลจ. ปลายทางครับ ไม่ต้องห่วง
ระบบคัดเลือกกองทุนและให้คำแนะนำของ Nomura
ระบบคัดเลือกกองทุนและให้คำแนะนำของ Phillip
ระบบคัดเลือกกองทุนและให้คำแนะนำของ FINNOMENA
สำคัญที่สุดทุกที่ก็ดูเหมือนจะมีคำแนะนำแถมให้ทุกที่เลย และผู้เขียนก็คิดว่าดีกรีความเป็นกลางของแต่ละแห่งนั้นน่าจะสูงพอตัว กองไหนดีบอกดี กองไหนไม่ดีบอกไม่ดี เพราะธรรมชาติของธุรกิจ ไม่ว่าเขาแนะนำไปลงกองทุนที่ไหนก็ได้ค่าธรรมเนียมเหมือนกัน หลายๆแห่งจึงสร้างระบบให้คำแนะนำในการลงทุนขึ้นมาเป็นส่วนเสริม เพิ่มเติมช่วยเหลือนักลงทุนด้วยว่า ควรลงกองทุนใดดี ควรจัดพอร์ตอย่างไร ของ Nomura จะชื่อ NOMURA IWEALTH ส่วนของ FINNOMENA ชื่อ FINNOMENA PORT นั่นเองครับ
กลับมาที่คำถามหลักของเรา แล้วเราจะรู้ว่าแบบไหนจะเหมาะกับเรา? ส่วนตัวผมคิดว่าตรงนี้อาจจะต้องลองเข้าไปศึกษาในเว็บไซต์/ขอข้อมูลจากพนักงานของแต่ละที่ดูได้ครับ แต่ละที่ก็จะมีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป มีคุณภาพคำแนะนำที่แตกต่างกันออกไป หรือบางท่านลองใช้วิธีเปิดบัญชีแล้วลองโหลดแอพมาเล่นดูเลยก็ได้ครับ เพราะหลายๆที่สามารถเปิดบัญชีได้โดยไม่ต้องเสียเงิน หรือลงทุนก่อนแต่อย่างใด ผมรวบรวมลิ้งค์มาให้แล้วข้างล่างครับ
Nomura iFUND | Phillip Fund SuperMart | FINNOMENA |
ลองพาไปเปิดบัญชีกับ FINNOMENA PORT ดู
ก็ไหนๆ มาเขียนที่ FINNOMENA เลยอยากจะพาลองใช้ FINNOMENA PORT ดูครับ โดยเบื้องต้นเนี่ย
- จำนวนบลจ. – FINNOMENA
ซื้อได้ 15 บลจ. (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2562) ซึ่งยังขาดบลจ. ดังๆ อย่าง บัวหลวง ธนชาติ ภัทร แต่เห็นทีมงานกระซิบมาว่าไม่เกินเดือน 7 เดือน 8 นี้ 3 บลจ. นั้นได้ชัวร์ ยังไงเดี๋ยวอัพเดทให้อีกทีครับอัพเดท 1 ธ.ค. 2565 ปัจจุบันซื้อกองทุนได้ 21 บลจ. และล่าสุด สามารถซื้อกองทุน SSF RMF จาก 21 บลจ. ได้แล้วครับ - ไม่ต้องนั่งส่งเอกสาร – อัพเดท 10 ส.ค. 2562 ตอนนี้เปิดบัญชีผ่านแอพพลิเคชันอยู่บ้าน แค่กรอกข้อมูลและถ่ายรูปบัตรประชาชน ไม่เกิน 1-2 วันทำการ พร้อมซื้อได้เลย ไม่ต้องส่งเอกสารอะไรทั้งสิ้น
- ความปลอดภัย – ขึ้นทะเบียนกับ กลต. แล้ว ดูได้ที่ เว็บกลต. อยู่ อยู่ในโครงการ 5 ขั้นมั่นใจของกลต ระบบงานเบื้องหลังใช้ระบบ FundConnext ในการส่งคำสั่งซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ความสะดวกสบาย – มี App ทั้ง iOS , Android หรือจะซื้อขายผ่านเว็บไซต์ก็ได้ ทำซื้อรายเดือน DCA รวมถึงบางคนไม่ถนัดก็ยังโทรมาทำรายการได้ที่ 02-026-5100 หรือคุย LINE ที่ @FINNOMENAPORT
- ฟรี – ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เปิดบัญชีทิ้งไว้ก่อนก็ฟรี ลงทุนในกองทุนค่าธรรมเนียมก็เท่ากับที่ซื้อกับทุกที่นั่นแหล่ะครับ ส่วนใครมือใหม่อยากลองลงทีละนิดก็ทำได้ กองบางกองขั้นต่ำ 1 บาทเท่านั้น
- ของแถม – เป็นเรื่องการให้ข้อมูลข่าวสารการลงทุนผ่านหน้าเว็บ LINE Facebook ดูข้อมูลหุ้น กองทุน รวมถึงทุกคนที่เปิดบัญชีลงทุนที่นี้ สามารถใช้บริการ Hybrid-robo Advisor รับคำแนะนำสถานการณ์ตลาด และการปรับพอร์ตกองทุนแบบถึงพริกถึงขิง (ขั้นต่ำแค่ 5,000 บาทเท่านั้นด้วย) เยอะไปหมด ยังไม่อยากเล่าในบทความนี้เดี๋ยวจะยาวไปครับ เอาเป็นว่าไปดูข้อมูลได้ที่ บทความ , PORT , FUND , STOCK ลองคลิกแต่ละอันเล่นดูครับ
มาเริ่มกันเลย
1. เข้าไปสร้างแผนการลงทุนแบบ Do-it-yourself (DIY) กัน
ใครกดผ่านเว็บเข้าไปที่ finnomena.com/port แล้วกด “ลองใช้งาน PORT” ได้เลยครับ
ส่วนใครกดผ่านแอป โหลดมา แล้วเลือก Tab ที่ 2 “Port” แล้วกด “ลองใช้ FINNOMENA PORT” ได้เลยครับ
ตรงนี้แนะนำถ้าเป็นไปได้โหลดแอปมาตั้งแต่เนิ่นๆจะดีกว่าครับ เพราะว่าปัจจุบันการเปิดบัญชีแบบไม่ต้องส่งเอกสารเนี่ย ทำได้เฉพาะในแอปพลิเคชันอยู่ เพราะต้องมีการให้เซ็นชื่อลงในแอปด้วยครับ
แต่ถ้าใครไม่สะดวก ยังอยากใช้ผ่านเว็บก็ยังทำได้อยู่ แต่ต้องส่งเอกสารเข้ามาทางไปรษณีย์นะครับ 🙂
2. เข้ามาแล้ว จะเจอหน้าให้เลือกแผนการลงทุน ตรงนี้มีแผนให้เลือกเยอะ ถ้าอยากรู้ว่าอันไหนเป็นอย่างไรก็ลองเล่นดูก่อนก็ได้ครับ
โดยแผนพวกนี้จะปรับตามเป้าหมายการลงทุนของนักลงทุน และคอยบอกว่าควรซื้อ ขาย กองทุนในเวลาใดด้วย แต่ ณ ตอนนี้ เราข้ามไปก่อน เราเน้นซื้อขาย บลจ. ตามใจเราต้องการ เลื่อนมาล่างสุดจะเจอแผนที่ชื่อว่า DIY ครับ กดเข้าไปเลย
เข้ามาจะมีให้ใส่ เงินที่พร้อมลงทุน ก็ใส่คร่าวๆ ที่ประมาณไว้ก็ได้ครับ ตรงนี้แก้ไขทีหลังได้ ไม่ซีเรียส
3. เมื่อสร้างแผนเสร็จพอจะกดบันทึกแผน
โดยระบบจะพาท่านไปสมัครสมาชิกกับทางเราก่อนครับ ตรงนี้ใครยังไม่เคยสมัครก็สมัครได้เลยครับ
4. เมื่อสมัครแล้วกลับมา จะเข้าหน้าให้กรอกข้อมูลสำหรับบันทึกแผนการลงทุน
สามารถใส่ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์และอีเมลได้เลยครับ
5. ขั้นตอนต่อมาก็จะเริ่มนำท่านไปสู่การเปิดบัญชีลงทุนจริงๆ แล้วครับ
ผมจะขออนุญาตอธิบายการเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชันก่อนนะครับ
6. กรอกเบอร์โทรศัพท์เพื่อรับรหัส Password
ตรงนี้จะเป็นการยืนยันว่าโทรศัพท์มือถือเป็นของคุณจริงๆนะครับ กรอกเบอร์มือถือเสร็จ จะมี SMS ส่งรหัสเข้าไป เพียงแต่นำมากรอกลงในแอปเป็นอันเรียบร้อย
7. กรอกรหัส PIN สำหรับซื้อขายตามที่ต้องการ
ตรงนี้เป็นเลขรหัสที่จำเป็นต้องจำไว้นะครับ ใช้สำหรับการทำรายการซื้อ/ขายกองทุนที่จะเกิดขึ้น
8. เลือกรูปแบบการเปิดบัญชี
ตอนนี้ FINNOMENA มีการเปิดบัญชีแบบไม่ต้องส่งเอกสาร (Paperless) ที่ให้คุณนั่งกรอกง่ายๆจากบ้านเป็นอันเรียบร้อยครับ ใครอยากลองกดที่ปุ่มสีส้มในรูปได้เลย
ส่วนใครที่ยังสะดวกเซ็นเอกสารในกระดาษแล้วส่งมาทางไปรษณีย์ก็ยังสามารถทำได้ครับผม ด้วยการคลิกตรง “หรือ ต้องการเปิดบัญชีแบบเอกสาร และส่งทางไปรษณีย์” ซึ่งจะมีให้กรอกอีเมลที่ประสงค์จะให้ทาง FINNOMENA ส่งเอกสารเปิดบัญชีไปให้ครับ
นักลงทุนสามารถดาวน์โหลดเอกสารและปริ๊นท์ออกมา เซ็นตามจุดต่างๆ และส่งไปรษณีย์กลับมาทาง FINNOMENA ตามขั้นตอนในอีเมลได้เลย
ไม่เกิน 1 อาทิตย์สามารถเปิดบัญชีได้สำเร็จ จะมีการแจ้งเตือนไปทางอีเมลและเริ่มลงทุนได้เลยครับ
ส่วนใครที่ถนัดเข้าเว็บไซต์ ก็สามารถกรอกอีเมลเพื่อให้ทางฟินโนมีนาส่งเอกสารไปให้ได้เช่นกันครับ แต่ถ้าใครอยากกรอกออนไลน์ แนะนำให้โหลดแอปฯ เลยครับ
9. กลับมาที่ขั้นตอนเปิดบัญชีผ่านแอปฯ เรามาเริ่มกรอกข้อมูลกันเลย
หลังจากกดปุ่มสีส้มเข้ามา เราจะมี 4 ขั้นตอนให้กรอกนะครับ ซึ่งก็คือ “ยืนยันอีเมล”, “ถ่ายภาพบัตรประชาชน”, “ข้อมูลเปิดบัญชี” และ “แบบประเมินความเสี่ยง”
10. ยืนยันอีเมล
มาเริ่มที่ขั้นตอนแรกกันเลยครับ สำหรับการยืนยันอีเมล ระบบจะขึ้นข้อมูลอีเมลมาให้ทำการตรวจสอบอีกครั้ง หากตรวจสอบเรียบร้อยแล้วก็กด “ส่งอีเมลยืนยัน” หลังจากนั้นจะมี OTP ส่งไปที่อีเมล ให้นำรหัส OTP 6 หลัก ที่ได้รับมากรอกลงไปก็เป็นอันเรียบร้อย
11. ถ่ายรูปบัตรประชาชน
ตรงนี้ก็แนะนำว่าควรวางบัตรประชาชนไว้บนกระดาษขาวแล้วค่อยถ่ายนะครับ เพื่อให้เห็นข้อมูลบัตรประชาชนชัดๆ ระวังเรื่องแสงด้วยนะครับ บางทีแสงจ้าๆ ทำให้อ่านข้อความบนรูปยาก ซึ่งตรงนี้ระบบจะทำการปิดบังศาสนาที่แสดงอยู่บนหน้าบัตรเพื่อปกปิดข้อมูลส่วนตัวของนักลงทุน และยังมีการคาดลายน้ำด้วยข้อความ “ใช้เพื่อเปิดบัญชีกับกลุ่มฟินโนมีนา และ บลจ.ต่าง ๆ เท่านั้น” เพื่อป้องกันการนำบัตรประชาชนไปใช้ต่ออีกด้วยครับ เมื่อถ่ายเสร็จแล้วก็อย่าลืมเช็คข้อมูลที่ระบบจับคำออกมาจากบัตรประชาชนให้และเติมข้อมูลบางส่วนเข้าไปให้ครบถ้วน
12. ข้อมูลเปิดบัญชี
ส่วนนี้ก็จะเป็นพวกข้อมูลทั่วไป ความรู้การลงทุน ธนาคารที่ต้องการใช้เพื่อซื้อขายกองทุนครับ สำหรับ Referral Code ถ้าใครมีคุยกับผู้ดูแลการลงทุนอิสระของ FINNOMENA ก็สามารถใส่รหัสผู้ดูแลได้ที่ตรงนี้เลย
13. ข้อมูลระดับความเสี่ยง
ตรงนี้ก็จะเป็นคำถามเพื่อวัดระดับความเสี่ยงด้านการลงทุนครับ นักลงทุนควรจะกรอกให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดครับ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำการลงทุนที่เหมาะสม
14. กรอกครบแล้ว ได้เวลาเซ็นชื่อ!
ข้อดีคือสามารถเซ็นลายเซ็นผ่านแอพพลิเคชันได้เลยครับผม ไม่ต้องปริ้นออกมาให้ยุ่งยาก
15. อีกแค่ 2 ขั้นตอน
มาถึงตอนนี้ก็เรียกได้ว่าส่งข้อมูลเปิดบัญชีซื้อขายเรียบร้อยแล้วครับ ระหว่างนี้นักลงทุนจะเหลือขั้นตอนอีก 2 ขั้นตอนที่จำเป็นคือ การยืนยันตัวตน และ การสมัคร ATS (ตัดบัญชีเงินฝากอัตโนมัติเพื่อซื้อกองทุน)
มาเริ่มกันที่การยืนยันตัวตนก่อน ขั้นตอนนี้เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่าไม่มีใครมาปลอมแปลงเป็นตัวเราแอบสมัครสมาชิกเข้ามา การยืนยันตัวตนกับ FINNOMENA สามารถทำได้ 2 ช่องทางครับ คือ
- ยืนยันตัวตนผ่าน NDID ที่แอปพลิเคชันธนาคารที่เข้าร่วมเครือข่าย NDID
- ยืนยืนตัวตนผ่าน Counter Service ที่ 7-Eleven
ซึ่งจะยืนยันผ่านช่องทางไหนก็สามารถเลือกได้ตามความสะดวกของแต่ละคนเลยครับ ส่วนขั้นตอนการยืนยันตัวตนทั้ง 2 ช่องทาง สามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิงก์ด้านล่างเลย
ทำความรู้จักกับ NDID พร้อมสอนวิธียืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA
ขั้นตอนการยืนยันตัวตนผ่าน Counter Service เพื่อเปิดบัญชีกับ FINNOMENA
หลังจากยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การขออนุมัติหักบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS) เพราะต้องทำการแจ้งธนาคารว่ายินยอมอนุมัติหักเงินค่าซื้อกองทุนเสียก่อน เพื่อเวลาเราซื้อ ระบบจะได้หักเงินจากบัญชีได้เลย
ข่าวดีครับ ไม่ต้องไปธนาคาร ไม่ส่งเอกสาร ทำบนแอปเดิมนี่หล่ะ กดเข้าไปที่ “อนุมัติหักบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS)” ได้เลย
ตัวอย่างข้างล่างก็จะเป็นการกดอนุมัติสำหรับบัญชีของธนาคารกสิกรไทยครับ สามารถกดเลือกแอปมือถือแล้วเชื่อมบัญชี ระบบก็จะส่งข้อความมายืนยันให้คุณกดผ่านแอป K-PLUS ง่ายๆ สบายๆ ไปเลย
ตรงนี้ถ้าเป็นธนาคารอื่นอาจจะต้องเข้าไปกดใน Mobile Banking, Internet Banking, ATM แต่ไม่ต้องห่วง เราเขียนขั้นตอนไว้ให้หมดแล้วครับ
โดยระยะเวลาที่ใช้เพื่อรอให้ทีมงานเราเข้าไปอนุมัติจะขึ้นอยู่กับช่องทางที่นักลงทุนทำเข้ามานะครับ แต่บอกได้เลยถ้าเปิดบัญชีมา ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน กดอนุมัติบัญชีต่อทันที เต็มที่ อย่างช้าสุด ไม่เกิน 2-3 วันทำการ พร้อมซื้อกองทุนที่คุณชื่นชอบได้แน่นอน
เมื่อทำทั้งสองอย่างครบก็รอประมาณ 1-2 วัน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลและแจ้งผลการดำเนินการไปทาง Notification และ Email เพียงเท่านี้นักลงทุนก็พร้อมลงทุนได้ทันทีครับ
ยังไงในขั้นตอนต่างๆ ถ้ามีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ผ่านทางช่องทาง Live Chat บนแอปพลิเคชัน FINNOMENA หรือ LINE “@FINNOMENAPORT” หรือโทร 02 026 5100 ได้เลยครับ มีเจ้าหน้าที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เดี๋ยวไว้ครั้งหน้ามาคุยกันเรื่องการให้คำแนะนำ ในการลงทุนดีกว่า ว่าแต่ละที่จะให้คำแนะนำอย่างไร บางเจ้าเป็น Robo-advisor, Smart Port, Private Wealth เอย น่าสนุกครับ ว่าที่ไหนจะมีจุดเด่น จุดด้อยแตกต่างกันไปอย่างไร สำหรับวันนี้ลาไปก่อนครับผม
เดฟเรนเจอร์
อ่านบทความเพิ่มเติม
พาซื้อกองทุนรวมผ่าน FINNOMENA พร้อมความพิเศษต่าง ๆ ที่หาไม่ได้จากที่อื่น
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion