จัดกลุ่มกองทุน USA เข้าใจได้ใน 5 นาที

[รวมจักรวาล กองทุน USA จัดพอร์ตไม่มีซ้ำ]

วันนี้เด็กการเงินจะพาทุกคนไปรู้จักกองทุนที่ลงทุนในประเทศมหาอำนาจอย่าง USA ซึ่งมีอยู่ประมาณ 34 กอง แต่ละกองมีความแตกต่างกันอย่างไร กองประเภทเดียวกันมีทั้งแบบปันผลและสะสมมูลค่า รู้ไว้วางกลยุทธ์การลงทุนไม่มีพลาด

โอ้!!! I can do this all day.

จัดกลุ่มกองทุน USA เข้าใจได้ใน 5 นาที

ที่มา: เพจเด็กการเงิน DekFinance
ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2564

วิธีการคัดแยกมีดังนี้ครับ

(ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2564)

  1. กองทุนประเภท US Equity มีอยู่ 34 กองทุน
  2. เป็นกองทุนที่รายย่อยสามารถลงทุนได้ 29 กองทุน
  3. ใน 29 กองทุนนั้นแบ่งออกเป็น กองทุนประเภท passive และ active จำนวน 16 และ 13 กอง ตามลำดับ

กองทุน passive เน้นการบริหารกองทุนให้ได้ใกล้เคียง Benchmark ที่สุด หรือลงทุนใน ETF ซึ่งก็เคลื่อนไหวตามดัชนีที่ ETF พยายาม tracking ให้ใกล้เคียงที่สุด

กองทุน passive ของ USA มีดังนี้

– ดัชนี S&P500 หุ้นใหญ่ 500 ตัว

– NASDAQ 100 หุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา 100 ตัวแรก

– ETF ดัชนี Top Billionaire Investors Index รวม 30 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด ที่บริหารงานโดย Self-made Billionaires รวยพันล้านฯ ด้วยตัวเอง เช่น Tesla, Facebook, Amazon และ Crowdstrike เป็นต้น (น่าสนใจเนอะ)

– ETF ที่ลงทุนใน Financial Sector ของ S&P 500 มีอยู่ด้วยกันหนึ่งกอง คือ TUSFIN-A

กองทุน active หรือกองทุนที่บริหารงานโดยผู้จัดการกองทุน เน้นจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อเอาชนะ Benchmark มีดังนี้ครับ

กองทุนแบบผสม มีทั้งแบบ value และ growth

ยกตัวอย่างกลุ่ม growth เช่น KF-US, KT-US-A และ TMBUSO

ยกตัวอย่างกลุ่ม value เช่น TMBBLUESHIP

นอกนั้นมีการผสมกันระหว่างสองกลุ่มครับ

กองทุนรวมหุ้นไซส์ขนาดกลางและเล็ก ขนาดไม่เกิน $6 Bn.

กองทุนที่เน้น sector ธนาคารใน USA ที่มีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง คือ MN-USABANK-A

การเลือกกองปันผล หรือสะสมมูลค่าอยู่ที่ความต้องการใช้กระแสเงินสดของเราระหว่างทางเลยครับ

ถ้าอยากให้มูลค่ามันสะสมทบไปในกองทุนไปเรื่อย ๆ เราเลือกแบบสะสมมูลค่านะ

หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้นำไปใช้คัดเลือกกอง USA ให้เหมาะสมกับความชอบของตัวเองนะครับ

เด็กการเงิน DekFinance

Ref:
Morningstar Thailand
Fund Factsheets
รูปโล่ Captain America จาก Wikipedia “Captain America Shield”

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/141874107830061


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวม โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้ขายหน่วยลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”