แม้ว่ากลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างประเทศเราและเพื่อนบ้าน มีการฟื้นตัวช้าทางเศรษฐกิจกว่าค่าเฉลี่ยของโลก วันนี้ เด็กการเงิน ขอพาทุกคนมารู้จักกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) ว่ามีอะไรที่น่าสนใจ น่าลงทุนหรือไม่? และดูว่าแต่ละประเทศซ้ำซ้อนกับ CLMVT หรือไม่?
สิ่งที่จะได้จากบทความนี้
- กลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT คืออะไร?
- รู้จักกลุ่มประเทศอาเซียนผ่าน MSCI AC ASEAN INDEX?
- ความน่าสนใจลงทุนของกลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT
- กองทุนใดบ้างที่ลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT?
กลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT คืออะไร?
อาเซียน คือ การรวมตัวกันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย่อมาจาก Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและร่วมมือกันในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ทั้งยังช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้จากสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ช่วยสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจได้อีกด้วย โดยอาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศได้แก่ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย
CLMVT คือ กลุ่มอาเซียนในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ที่มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกัน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย
รู้จักกลุ่มประเทศอาเซียนผ่าน MSCI AC ASEAN INDEX?
กลุ่มประเทศอาเซียนนั้นมีทั้งหมด 10 ประเทศ แต่มีประเทศตามการจัดกลุ่มของ MSCI ที่อยู่ในกลุ่ม Developed Market เพียงประเทศเดียว นั่นก็คือสิงคโปร์ และอีก 4 ประเทศ Emerging Market ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ที่เหลืออีก 5 ประเทศ ไม่ได้ถูกจัดกลุ่ม
ซึ่ง MSCI AC ASEAN INDEX ครอบคลุม 136 บริษัทใน 5 กลุ่มประเทศตามที่กล่าวไป ซึ่งสามารถเป็นตัวแทนได้ถึง 85% ของหุ้นในแต่ละประเทศ (คิดแบบ free float-adjusted market cap)
Country Weight
as of 30 Sep 2021
- สิงคโปร์ 33.36%
- ไทย 21.86%
- อินโดนีเซีย 18.27%
- มาเลเซีย 17.86%
- ฟิลิปปินส์ 8.64%
Sector Weight
as of 30 Sep 2021
- Finance 35.76%
- Communication Services 13.39%
- Industrials 9.28%
- Consumer Staples 8.61%
- Real Estate 8.61%
- Materials 6.32%
- Consumer Discretionary 4.79%
- Energy 4.53%
- Health Care 3.76%
- Utilities 3.59%
- Information Technology 1.37%
Top 10 Stocks
as of 30 Sep 2021
- DBS Group Holdings (SG) 6.89%
- OCBC Bank (SG) 4.86%
- Bank Central Asia (ID) 4.63%
- United Overseas Bank (SG) 3.83%
- Sea A ADR (SG) 3.75%
- Bank Rakyat Indonesia (ID) 3.14%
- Singapore Telecom (SG) 2.56%
- Public Bank (MY) 2.42%
- Telkom Indonesia (ID) 2.18%
- PTT (TH) 1.97%
ความน่าสนใจลงทุนของกลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT
1) กลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT ค่อนข้าง laggard กลุ่มประเทศ Developed Market เนื่องมาจากโควิด-19 ที่ทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ ซึ่งอุตสาหกรรมนี้เป็นรายได้หลักของหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน เมื่อดู YTD Gross return ณ สิ้นเดือนกันยายน พบว่า MSCI AC ASEAN -1.06% MSCI Emerging Market -0.99% ซึ่ง laggard MSCI ACWI ที่บวกถึง 11.49%
2) อัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ เมื่อตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง อัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น หลายประเทศก็เริ่มที่จะเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ
อัตราผู้ได้รับวัคซีนครบโดสภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเทียบระหว่างวันที่ 22 กันยายน และ 22 ตุลาคม (https://ourworldindata.org/covid-vaccinations)
- สิงคโปร์ จาก 77% ขึ้นมาเป็น 80%
- ไทย 23% ขึ้นมาเป็น 38%
- มาเลเซีย 59% ขึ้นมาเป็น 72%
- อินโดนีเซีย 17% ขึ้นมาเป็น 24%
- เวียดนาม 7.2% ขึ้นมาเป็น 20%
3) ประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม CLMVT นั้นถือเป็นฐานผลิตที่สำคัญเพราะค่าแรงต่ำ เรียกได้ว่ามีต้นทุนการผลิตที่แข่งขันได้ การลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ยังได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ทั้งยังมีความสะดวกในเส้นทางการขนส่งทางบกระหว่างกันอีกด้วย มาดูจุดเด่นของแต่ละประเทศกัน
สิงคโปร์ เป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีแรงงานที่มีการศึกษาสูง เป็น Financial Hub ที่สำคัญ ทั้งยังมีอัตราการลงทุนจากต่างชาติ (FDI) สูง ซึ่งมาจากการตั้งศูนย์ R&D และธุรกิจที่รองรับการเติบโตทางเทคโนโลยี
อินโดนีเซีย เป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีประชากรกว่า 270 ล้านคน เป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน และอยู่ในอันตับต้นๆ ของโลก การลงทุนที่เกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศจึงมีความน่าสนใจ นอกจากนี้ปัจจุบันอินโดนีเซียเปิดรับเศรษฐกิจดิจิทัลมาก มีการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้มี Startup ระดับยูนิคอร์นอยู่หลายแห่ง เช่น แพลตฟอร์มการเรียกรถ Gojek, e-commerce อย่าง Tokopedia, ผู้ให้บริการด้านท่องเที่ยวอย่าง Traveloka เป็นต้น
มาเลเซีย เป็นตลาดแรงงานฝีมือสูง ได้รับความนิยมจากนักลงทุนต่างชาติในอุตสาหกรรมการผลิต โลจิสติกส์และบริการ
เวียดนาม มีการเติบโตทางเศรษฐกิจจากจำนวนประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานจำนวนมาก มีค่าแรงที่อยู่ในเรทแข่งขันได้ ทำให้มีต้นทุนการผลิตต่ำ และประชากรส่วนมากอยู่ในชนชั้นกลาง ทำให้มีโอกาสเติบโตจากการบริโภคภายในประเทศอีกด้วย รวมถึงมีแผนพัฒนาของรัฐบาลในการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งยังดึงดูดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติได้มาก หลายบริษัทมีการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาอยู่ที่เวียดนามมากขึ้น
ไทย มีโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC เพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติ โดยมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน และเส้นทางการค้า การขนส่งที่สะดวก เหมาะสำหรับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการขนส่ง
4) การจัดอันดับความน่าสนใจในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานจากบริษัท CMS ที่ได้เผยแพร่ดัชนีโครงสร้างพื้นฐาน ประจำปี 2564 โดยดูจากปัจจัยหลัก 6 ด้าน ได้แก่ 1) สถานะทางเศรษฐกิจ 2) ความยั่งยืนและนวัตกรรม 3) สภาพแวดล้อมด้านภาษี 4) ความมั่นคงทางการเมือง 5) ความสะดวกในการทำธุรกิจ และ 6) การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน พบว่าสิงคโปร์มีความน่าสนใจในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นอันดับ 1 ของโลก มาเลเซีย อันดับที่ 29 ไทย อันดับที่ 32 อินโดนีเซีย อันดับที่ 33 เวียดนาม อันดับที่ 40 ฟิลิปปินส์ อันดับที่ 42 และกัมพูชา อันดับที่ 47
อย่างไรก็ตาม ประเทศกลุ่มอาเซียนและ CLMVT ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศ Emerging Market รวมไปถึง Frontier Market อย่างเวียดนาม ดังนั้นจึงแนะนำให้ลงทุนในกลุ่มนี้โดยมีร่วมกับกองทุนอื่นใน Emerging Market รวมกันไม่เกิน 20-30% หรือตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละคน
กองทุนใดบ้างที่ลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน และ CLMVT?
กลุ่มประเทศอาเซียน
กลุ่ม CLMVT
เด็กการเงิน DekFinance
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/281684797182324
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”