[แบ่งประเภทของกองทุนหุ้นยุโรป เข้าใจได้ใน 5 นาที เก็บไว้เปรียบเทียบ]
วันนี้ เด็กการเงิน ขอพามาจัดกลุ่มกองทุนหุ้นยุโรป ซึ่งมีอยู่ประมาณ 30 กองทุน
ซึ่งกองทุนหุ้นยุโรปนี้สามารถเป็น Core Port ให้เราได้อย่างสบาย โดยภูมิภาคยุโรปส่วนใหญ่จัดเป็น Developed Country ระดับการพัฒนาของประชากรมีคุณภาพ มีการเงินและการศึกษาที่ดี ก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อในสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เราจึงมีภาพจำว่าธุรกิจส่วนใหญ่ในยุโรปเต็มไปด้วยหุ้น Old Economy แต่เราอาจจะต้องมองยุโรปใหม่ โดยกลุ่มอุตสาหกรรม Health Care ที่มีโอกาสเติบโตสูง ควบคู่กับ Information Technology ที่สามารถเข้าสู่ผู้ใช้ทั่วยุโรปได้ทันที ยุโรป ณ ปัจจุบันจึงผสมผสานทั้งยุคใหม่เข้าด้วยกัน
วิธีคัด
1. เราแบ่งกองทุน ออกเป็น 2 ประเภทคือ กองทุน Passive และ Active
โดยกองทุน Passive ลงทุนใน ETF ที่เป็น EURO STOXX 50 (ไม่มี UK) และ EURO STOXX 600 ซึ่งเลข 50 และ 600 นั้นคือจำนวนหุ้นเรียงตามมูลค่าของกิจการหรือ Market Cap ดังนั้น 50 ตัว จึงดูกระจุกตัวกว่า 600 แต่สัดส่วน 30 ตัวแรกจะมีความเข้มข้นใกล้เคียงกัน
2. กองทุนแบบ Active สามารถแบ่งได้ตามขนาดของหุ้นตาม Market Cap เป็น Large-Mid Cap (ขนาดใหญ่-กลาง) และ Mid-Small Cap (ขนาดกลาง-เล็ก)
กองทุนหุ้นยุโรปที่เน้นหุ้นขนาดเล็กจะดีช่วงรอบเศรษฐกิจเปิด และจะย่ำแย่ช่วงตลาดขาลง เนื่องจากขนาดของกิจการมีขนาดเล็ก รายได้ของกิจการจึงมีผลต่อราคาหุ้นมาก ซึ่งแน่นอน รายได้ที่มาจากเศรษฐกิจที่ดี ทำให้หุ้นขนาดเล็กสามารถไปได้ไกลทีเดียว ส่วนหุ้นตัวใหญ่ มักจะมีภูมิต้านทานการขึ้นลงของเศรษฐกิจได้ดีกว่า (โดยเฉลี่ย) ซึ่งบางบริษัทมีสินค้าที่ติดตลาดและเป็นที่นิยมแล้ว สินค้าสามารถทำรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง มั่นคงกว่าหุ้นขนาดเล็กนั่นเอง
3. สไตล์ของกองทุน
เราแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- Growth คือ กองทุนเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มเติบโต หรือ เทคโนโลยีเป็นหลัก กองทุนถือหุ้นประเภทนี้เยอะ เช่น ASP-EUG ของค่าย Baillie Gifford และ K-EUROPE ของค่า Allianz มีสัดส่วนในหุ้นกลุ่มดังกล่าวเยอะ เน้นให้ราคาหุ้นสามารถโตได้หลายเท่าต่อจากนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หุ้น growth และกองทุน style growth มักจะผันผวน ขึ้นลงแรง ดังนั้นเราจะต้องบริหารความเสี่ยงให้ดี โดยมีกอง growth แต่พอเหมาะ
- Quality คือ กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มคุณภาพ หรือกิจการมีกระแสเงินสดสูง มีความมั่นคง คงทนต่อสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นกองทุนสไตล์นี้น้อยลง พบหุ้นตัวใหญ่ เช่น Unilever ได้ในกองทุน Passive เสียมากกว่า หรือเป็นแบบ Blend/Flexible ที่เอาหุ้นเติบโตมารวมอยู่ด้วย
- Flexible คือ กองทุนที่มีนโยบายทั้งรับและรุกอยู่ในกองทุนเดียวกัน โดยผู้จัดการกองทุนและทีมต้องมีความเชี่ยวชาญในการเลือกหุ้นแล้ว จำเป็นจะต้องคาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจได้ดี ดังนั้นกอง Flexible จึงเหมาะกับนักลงทุนทั่วไปที่ไม่ต้องมาเลือกสไตล์ของกองทุนเลย (เช่น M-EURO, SCBEUROPE(A))
4. เลือกกองไหนดี
ความเห็นของเรา กองทุน Europe เป็น Core Port ที่สามารถเลือกได้มากกว่า 1 กองทุนหรือ มีหลายสไตล์รวมกันได้ หรือเลือกกองทุนเดียวเป็นแบบ Flexible ได้ในสัดส่วน 20-25%
โดยคนที่รับความเสี่ยงได้มาก สามารถเลือกกองสไตล์ growth ได้มากเข้าไปในพอร์ตนั่นเอง
เช่น เดียวกับ small cap ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า large cap มีได้ 10-15% ของพอร์ต
นี่เป็นการแบ่งประเภทการลงทุนตามแบบฉบับเด็กการเงินเท่านั้น อาจจะไม่ได้ถูกต้องตามตำรา แต่สามารถนำไปใช้ศึกษา/เปรียบเทียบกองทุนต่อได้เลย ถ้าเราเลือกและเข้าใจในสิ่งที่ลงทุนไป เราก็ปล่อยให้เงินมันทำงานได้อย่างสบายใจกับกองทุนหุ้นยุโรปมุมมองใหม่
เด็กการเงิน DekFinance
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/229251619092309
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”