[รีวิวกองทุน Health Care ทุกกอง และแนะนำวิธีการเลือก]
ธีม Health Care เป็นธีมการลงทุนที่ Boom มากในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ถ้าไม่นับว่าเป็นวิกฤตจากการแพร่ระบาดของไวรัสแล้ว Health Tech และ Health Care ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของ Mega Trend ในเรื่อง Health and Society เนื่องจาก ยาและการรักษาโรคเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต ยาและการรักษาใหม่ ๆ จึงจำเป็น ประชากรมีอายุมากขึ้น รักการออกกำลังกาย และเอาใจใส่ต่อสุขภาพมากขึ้น และเลี่ยงไม่ได้แน่นอนที่คนเราจะป่วยและเจ็บ และเข้ารับการรักษาที่ที่มี Facility ที่สะดวกสบาย
วันนี้ เด็กการเงิน ขอนำกองทุน Health Care มารีวิวและเปรียบเทียบให้ดูกัน ว่ากองไหนเหมาะกับเรา แต่ละกองมีวิธีการจัดการอย่างไร
สิ่งที่จะได้จากบทความนี้
- แบ่งแยก Health Care และ Health Tech (Health Innovation) ให้ชัดเจน
- กองทุน Health Care ที่มีทั้งหมดในไทย ประกอบด้วยกองทุนหลักอะไรบ้าง
- สไตล์การบริหาร และองค์ประกอบของกองทุนหลัก
- คำแนะนำในการเลือกกองทุน Health Care
- คำแนะนำในการจัดพอร์ต โดยเด็กการเงิน
1. แบ่งแยก Health Care และ Health Tech (Health Innovation) ให้ชัดเจน
เริ่มต้นที่ดัชนี Health Care ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ MSCI World Health Care Index และ MSCI ACWI Health Care Index ซึ่งวัดผลตอบแทนกลุ่ม Health Care ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และรวมประเทศทั่วโลกตามลำดับ ได้แบ่งประเภทและสัดส่วนของธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวดังนี้
- กลุ่มประเภทยาทั่วไป (Pharmaceuticals) (38%) เป็น กลุ่ม บ.ผู้ผลิตยาที่สามารถจ่ายได้โดยแพทย์และเภสัชกรทั่วไป หาซื้อได้ตามร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อ ยาบางประเภทพิเศษและต้องการใบสั่งแพทย์
- กลุ่ม Health Care Equipment (21%) เป็นกลุ่ม บ.ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์ และฟื้นฟูสุขภาพ
- กลุ่ม Bio Technology (13%) เป็นกลุ่ม บ.ที่วิจัย และคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาจากชีวภาพ เช่น วัคซีน เซรุ่ม ยาพิเศษจากพืชและสัตว์ กระบวนการผลิตยาโดยกระบวนการทางชีวภาพ รวมถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพันธุกรรม หรือ ยีนส์
- กลุ่ม Managed Health Care (8%) เป็นกลุ่ม บ.ที่รวมการรักษาครบวงจรไว้ในที่เดียว เพื่อเป็นศูนย์การแพทย์ที่เพิ่มมูลค่าในกับคนมีฐานะ และต้องการดูแลเป็นพิเศษ
- กลุ่มอื่น ๆ เช่น Life Science และ Health Technology เป็นต้น
การลงทุนในกลุ่ม Health Care สามารถเปรียบเทียบได้ว่าเป็น Defensive Sector เนื่องจากอุตสาหกรรมสามารถเติบโตได้อยู่ในช่วงเวลาที่เป็นเศรษฐกิจขาลง ไม่หวือหวา และไม่เป็น Cyclical
กองทุนยุคใหม่ จะใส่ความเป็น Growth Play ในเรื่องของ Biotech และ Health Technology เข้ามาปนกับส่วน Pharmaceuticals และ Equipment ซึ่งเป็นส่วนที่มั่นคง
เช่น overweight Biotech >20% ขึ้นไป มี Medical Technology เข้ามามากขึ้น เป็นต้น
ส่วนเพิ่มนี้มีความอ่อนไหวผันผวน แต่ก็แลกมาด้วยการเติบโตอันน่าตื่นเต้น ซึ่งเราจะกล่าวถึง Health Innovation ในลำดับถัดไป
Health Innovation หรือ Health Technology สามารถแบ่งออกได้เป็นหลากหลายสาขา เป็น กลุ่มที่แตกต่างจากกลุ่มบนอย่างชัดเจน คือ เน้นในเรื่องของเทคโนโลยีสุขภาพและการรักษาที่เน้นนวัตกรรม เช่น
- Medical Robotics หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัด
- Telemedicine/Tele Health การรักษาผ่านทางไกล
- Bio and Health Analytics การวิเคราะห์สุขภาพและยีนส์ด้วย Super Computer
- A.I. Diagnostics การร่วมวินิจฉัยด้วยเอไอ
- Advanced Medical Devices เครื่องมือทางการแพทย์ล้ำยุค
- Health Care Info Tech แพลตฟอร์มเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
อย่างที่ได้กล่าวไปว่ากลุ่มนี้มีการเติบโตอันน่าตื่นเต้นรออยู่ แต่มีความผันผวนสูงเนื่องจากรายได้ยังไม่คงที่และแน่นอนเหมือน Health Care ดั้งเดิม ผลิตภัณฑ์บางชนิดยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น และต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานสาธารณสุขของประเทศ หรือของโลก การเพิ่มสัดส่วนลงทุนในกลุ่มนี้ย่อมมีความเสี่ยงสูงขึ้น จึงต้องทำความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ให้ดี
ปัจจุบันมีกองทุนที่เป็น Health Innovation เพียงอย่างเดียว ออกสู่ตลาดหลายกอง ดังนั้นเราควรจำแนกประเภทของกองทุนให้เป็น หรือ ศึกษาได้จากบทความนี้
จัดกลุ่มกองทุน Health Care มีเยอะแค่ไหนก็ไม่งง
2. กองทุน Health Care ที่มีทั้งหมดในไทย ประกอบด้วยกองทุนหลักๆ 5 กองทุนด้วยกัน
1. JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund
ประกอบด้วยกองทุนและบลจ.ดังต่อไปนี้
- บลจ.กสิกรไทย
- K-GHEALTH (D)
- K-GHEALTH(UH) (D)**
- KGHRMF
- บลจ.กรุงศรี
- KFHCARERMF
- KFHEALTH-A **
- KFHEALTH-D (D)
- KFHHCARE-A
- KFHHCARE-D (D)
*(D) หมายถึงเป็นกองทุนแบบปันผล
**ไม่hedgeค่าเงิน
2. Wellington Global Healthcare Equity Fund
ประกอบด้วยกองทุนและบลจ.ดังต่อไปนี้
3. Janus Henderson Global Life Sciences Fund
ประกอบด้วยกองทุนและบลจ.ดังต่อไปนี้
- บลจ.เกียรตินาคินภัทร
- KKP GHC (D)
- บลจ.กรุงไทย
- บลจ.ไทยพาณิชย์
- บลจ.ธนชาต Eastspring
4. United Global Health Care Fund
ประกอบด้วยกองทุนจาก บลจ. UOB ดังต่อไปนี้
5. Manulife Global Fund – Healthcare Fund
ประกอบด้วยกองทุนจาก บลจ. Manulife
3. สไตล์การบริหาร และองค์ประกอบของกองทุนหลัก
1. Wellington Global Healthcare Equity Fund
ตัวอย่างกองทุน: BCARE
Morningstar Rating: 4 stars
Top-5 Sub-Sector: (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564)
- Medical Tech 31.3%
- Biopharma Large 25.8%
- Biophrama Mid 18.7%
- Health Care 16.9%
- Biophrama Small 6.89 %
Top-5 Holdings: (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564)
- UnitedHealth 6.3%
- Eli Lilly & Co 4.6%
- AstraZeneca 3.9%
- Pfizer 3.6%
- Boston Scientific 3.5%
สไตล์การบริหาร
เป็นกองทุนที่เน้นนวัตกรรมในเรื่องของเทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรม โดย overweight ใน sub-sector นี้อย่างชัดเจน และเน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กและกลาง ดังนั้นจึงต้องเน้นการเติบโตระยะยาวเป็นหลัก เนื่องจากหุ้นในกลุ่มดังกล่าวค่อนข้างเคลื่อนไหวผันผวน อย่างไรก็ตามกองทุนไม่เน้นลงหุ้นกระจุกตัวและกระจายตัวออก (Diversified)
2. JPMorgan Funds – Global Healthcare Fund A & C Acc USD
ตัวอย่างกองทุนในไทย: KF-HHCARE-A และ K-GHEALTH-A
Morningstar Rating: 5 stars
Top-5 Sub-Sector: (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564)
- Pharmaceutical 27.5%
- Biotechnology 25.9%
- Medical Tech 23.4%
- Healthcare Services 17.6%
Top-5 Holdings: (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564)
- UnitedHealth 6.5%
- Thermo Fisher Sci 4.4%
- Roche 4.1%
- Eli Lilly 3.6%
- Johnson & Johnson 3.4%
สไตล์การบริหาร
- บริหารอย่าง Active ในการประเมินมูลค่าหุ้นและติดตามตลาด
- เน้นหุ้นกลุ่ม Quality และ Defensive หลีกเลี่ยงการเก็งกำไรในหุ้นที่มูลค่าสูงเกินจริง
- มีการแจ้งด้วยว่าไม่ได้ลงทุนใน Moderna (11 ส.ค. 2564)
- จัดพอร์ตกระจายแบบความเสี่ยง
3. Janus Henderson Global Life Sciences I2 acc USD
ตัวอย่างกองทุนในไทย: KKPGHC (D), KT-HEALTHCARE-A, SCBGHC (D) และ T-HEALTHCARE
Morningstar Rating: 4 stars
Top-5 Sub-Sector: (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564)
- Biotech 30.6%
- Pharmaceuticals 27.7%
- Health Care Equipment 18.1%
- Managed Healthcare 9.4%
- Life Sciences Tools & Services 6.4%
Top-5 Holdings: (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564)
- AstraZeneca 4.37%
- UnitedHealth 4.14%
- Roche Holding 2.91%
- AbbVie 2.83%
- Merck & Co 2.70%
สไตล์การบริหาร
เป็นกองทุนที่ผสมผสานความคิดในการจัดการให้ชนะ Benchmark โดยยึดส่วนที่มั่นคง โดยที่ยังหาผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากนวัตกรรม เป็นสไตล์ยืดหยุ่นและสมดุล
บริหารแบบ active จัดพอร์ตกระจายแบบความเสี่ยง
4. Manulife Global Fund-Healthcare Fund AA USD
ตัวอย่างกองทุนในไทย: KWI HCARE-A (หรือชื่อเดิม MS-HCARE-A)
Morningstar Rating: 3 stars
Top-5 Sub-Sector: (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564)
- Pharmaceuticals 35.84%
- Healthcare Equipment & Supplies 23.74%
- Healthcare Provider & Services 14.99%
- Biotech 14.35%
- Life Sciences Tool & Services 9.83%
Top-5 Holdings: (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564)
- Eli Lilly 7.07%
- Abbott Laboratories 6.75%
- UnitedHealth 6.17%
- Johnson & Johnson 5.77%
- Roche Holding 5.76%
สไตล์การบริหาร
- เน้นเลือกหุ้นใหญ่ คุณภาพดีที่สุดมารวมกันไว้
- เน้น Defensive ในลักษณะ Traditional Healthcare
- มีการลงทุน Biotech ไม่ห่างจาก Benchmark มากนัก
- การลงทุนเน้นเลือกตัวที่ดีที่สุดจึงมีการกระจุกตัวในหุ้นคุณภาพเพียง 40-60 ตัว
5. United Global Healthcare A USD
ตัวอย่างกองทุนในไทย: UOBSHC และ UGH
Morningstar Rating: 4 stars
Top-5 Sub-Sector: (ข้อมูล ณ วันที่ ส.ค. 2564)
- Pharmaceuticals 24.71%
- Biotechnology 23.53%
- Health Care Equipment 21.37%
- Managed Health Care 9.77%
- Life Sciences Tools & Services 7.51%
Top-5 Holdings: (ข้อมูล ณ วันที่ ส.ค. 2564)
- UnitedHealth 6.09%
- Eli Lilly & Co 4.43%
- AstraZeneca 3.81%
- Pfizer 3.53%
- Boston Scientific 3.39%
สไตล์การบริหาร
มีความคล้ายคลึงกับ Wellington คือเน้นนวัตกรรมในด้านเทคโนโลยีชีวภาพและ Medical Technology เพื่อหาผลตอบแทนส่วนเพิ่มในระยะยาว จึงมีความ Defensive น้อยลง
อย่างไรก็ตาม มีการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตโดยการลงทุนในหุ้นมากกว่า 70-80 ตัวขึ้นไป
4. คำแนะนำในการเลือกกองทุน Health Care
กองทุน Health Care ในไทยมีส่วนผสมทั้ง Defensive และ Growth เข้าด้วยกัน ดังนั้นการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และระยะเวลาลงทุนเป็นหลัก โดยเมกะเทรนด์ Health Care ควรเป็นธีมหนึ่งที่ต้องเลือกลงทุนยาว ไม่เป็น Cyclical เหมือน sector อื่น
ในแง่วัตถุประสงค์ เราขอแบ่งกองทุน ออกเป็น 2 ประเภทเพื่อให้เลือกลงทุนได้ง่ายขึ้นดังนี้
1. Defensive เน้นผันผวนต่ำ เน้นหุ้นคุณภาพขนาดใหญ่แบบ Traditional Health Care
- กองทุนค่าย JP Morgan ได้แก่ KF-HHCARE-A และ K-GHEALTH-A
- กองทุนค่าย Manulife ได้แก่ KWI HCARE-A
2. Defensive Growth Blend
คือมีส่วนผสมทั้ง Defensive และ Growth ปนกัน เน้นลงทุนหวังผลตอบที่เหนือกว่า รับความเสี่ยงเพิ่มเติมได้ คือ
- กองทุนค่าย Wellington ได้แก่ BCARE
- กองทุนค่าย Janus Henderson ได้แก่ KKPGHC (D), KT-HEALTHCARE-A, SCBGHC (D) และ T-HEALTHCARE
- กองทุนค่าย UOB Global Healthcare ได้แก่ UOBSHC
5. คำแนะนำในการจัดพอร์ต โดยเด็กการเงิน
กองทุน Health Care จัดเป็น Thematic หรือมีลักษณะ Sector Focus มีความเสี่ยงกระจุกตัว ควรลงทุนในระยะยาว โดยเลือกสไตล์กองทุนได้จากคำแนะนำในข้อ 3. และ 4. ตามวัตถุประสงค์ Defensive / Growth หรือผสมผสานเข้าด้วยกัน
โดยกองทุน Health Care สามารถมีร่วมกับ Health Innovation ได้ 15-20% ของพอร์ต โดยการลงทุนเสี่ยงมากเพิ่มน้อย ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล
อย่างไรก็ตาม กองทุน Health Care จะมีความผันผวนน้อยกว่า Health Innovation จึงต้องยึดวัตถุประสงค์และระยะเวลาในการลงทุนเป็นสำคัญ รวมถึงความเข้าใจในธุรกิจและผลิตภัณฑ์ เราทุกคนต่างเห็นว่า Heath Care คือ เมกะเทรนด์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกคนต้องใช้ ดังนั้นเวลาลงทุนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้มันได้ทำงานนานพอ ที่จะสร้างผลตอบแทนจากความเป็นไปและพลวัตของโลก
Reference:
- Fund Information / Fund Factsheet / Fund Commentary and Performance Reports
- Financial Times
- Bloomberg
เด็กการเงิน DekFinance
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/DekFinance101/posts/233025578714913
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”