จากสถานการณ์บริษัทจดทะเบียนในไทยที่เสนอขายหุ้นกู้ในปัจจุบัน ทำให้นักลงทุนหลาย ๆ ท่านมีความกังวลในการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และถ้าเลือกได้ตอนนี้ขอลงทุนตราสารหนี้ตัวที่ปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องผิดนัดชำระหนี้ ถามว่ามีไหม? คำตอบคือ “มี” และตอนนี้ถือเป็นจังหวะในรอบสิบปีที่ควรลงทุนด้วย! รายละเอียดเป็นอย่างไรไปดูกัน
โดยทางบลป.เดฟินิท มีมุมมองว่า
ถึงเวลาล็อกดอกเบี้ยตราสารหนี้ไทย ก่อนจะเข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยขาลงในสิ้นปีนี้ พร้อมโอกาสขายทำกำไรปีหน้า
แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว คือ พันธบัตรรัฐบาล LB436A อัตราผลตอบแทน 2.86% และ ESGLB376A อัตราผลตอบแทน 2.45% พร้อมโอกาสขายทำกำไรมากกว่า 5% !!
กรุณาติดต่อที่ปรึกษาการลงทุนของท่าน หรือแจ้งความสนใจของท่านมาได้ที่ https://forms.gle/X5jFBJBeAHa9V43d8
ตราสารหนี้ เป็นเครื่องการระดมทุนของผู้ออกแต่ละประเภท ทั้งบริษัทเอกชนหรือที่นักลงทุนเรียกกันในชื่อ “หุ้นกู้” และรัฐบาล โดยตราสารหนี้ของรัฐบาลจะมีทั้งแบบ ตั๋วเงินคลัง (อายุไม่เกิน 365 วัน) และพันธบัตรรัฐบาล (อายุตั้งแต่ 365 วัน)
“พันธบัตรรัฐบาล” เคยได้ยินมานานแล้ว ว่าแต่มันมีกี่ประเภท?
พันธบัตรรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังออกเพื่อระดมทุนสำหรับโครงการสาธารณะต่าง ๆ และเพื่อบริหารจัดการเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ พันธบัตรเหล่านี้มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีคุณลักษณะและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน
1. พันธบัตรรัฐบาล (Government Bonds)
วัตถุประสงค์: ใช้สำหรับการจัดหาเงินทุนระยะยาวให้กับโครงการของรัฐบาล
- สำหรับการใช้ในโครงการรัฐ รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่นทั่วไปที่เรียกว่า Loan Bond (LB)
- สำหรับการใช้ในโครงการรัฐเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสังคม รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนเรียกว่า Sustainability Bond (ESGLB)
อายุพันธบัตร: มักมีอายุระหว่าง 5 ถึง 30 ปี
การจ่ายดอกเบี้ย: จ่ายดอกเบี้ยคงที่ (Coupon) ทุก 6 เดือน
2. พันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bonds)
วัตถุประสงค์: เพื่อส่งเสริมการออมของประชาชนทั่วไป เรียกว่า Saving Bond (SB)
อายุพันธบัตร: มักมีอายุระหว่าง 3 ถึง 10 ปี
การจ่ายดอกเบี้ย: อัตราดอกเบี้ยคงที่ และมักมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับนักลงทุนรายย่อย
เนื่องจากรัฐบาลมีอำนาจในการเรียกเก็บภาษีจากประชาชนทำให้พันธบัตรรัฐบาลไม่มีความเสี่ยงเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ ทำให้สินทรัพย์นี้เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่อยากรับความเสี่ยงเรื่องของการผิดนัดชำระหนี้ อย่างไรก็ตามการลงทุนยังคงมีความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ เช่น
- ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย: การลงทุนในตราสารหนี้ในปัจจุบันเป็นการล็อกดอกเบี้ยรับในปัจจุบัน ซึ่งกรณีอัตราดอกเบี้ยมีการปรับตัวสูงขึ้น อาจทำให้นักลงทุนเสียโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนมากขึ้น
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง: ช่องทางที่ให้นักลงทุนบุคคลในการเปลี่ยนมือสำหรับตราสารหนี้นั้นยังมีจำกัด
มีความเสี่ยงแบบนี้ แล้วทำไมถึงเป็นโอกาสในรอบ 10 ปี?
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลนั้นแปรพันตามดอกเบี้ยนโยบายชัดเจน โดยในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่จุดสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ 2.5%
จากทั้งสถานการ์อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก เริ่มจากยุโรปที่เริ่มปรับตัวลดลงแล้ว และธนาคารกลางสหรัฐถูกคาดการณ์ว่าจะปรับลดลงในสิ้นปีนี้เช่นกัน
นักวิเคราะห์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศมองไปในลักษณะเดียวกันว่า นับจากนี้ไปอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยคาดว่าจะถูกปรับลดสิ้นปีนี้เป็นต้นไปจนถึงต้นปีหน้า
การลดลงของดอกเบี้ยส่งผลกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอย่างไร และเมื่อมีการระบุชัดเจนว่ามูลค่าหน้าตั๋วและดอกเบี้ยรับจะเป็นเท่าไร?
ตราสารหนี้มีการระบุ มูลค่าหน้าตั๋ว (Face Value) หน่วยลงทุน (Unit Holder) อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon Rate) งวดการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon Frequency) และวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity date)
โดยทั้งหมดนี้จะทำให้นักลงทุนทราบว่าการลงทุนในตราสารหนี้นั้นจะได้รับเงินทั้งหมด (Cashflow) จากเงินต้นคืนจำนวนเท่าใด (มูลค่าหน้าตั๋ว คูณกับจำนวนหน่วย) รวมถึงดอกเบี้ยรับตลอดระยะเวลาการลงทุน (อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วคูณกับมูลค่าหน้าตั๋ว เป็นระยะเวลาตามงวดการจ่ายดอกเบี้ยจนถึงวันครบกำหนดชำระ)
📉เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ราคาของตราสารหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่มักจะปรับตัวสูงขึ้น 📈 เนื่องจากนักลงทุนใหม่ต้องการซื้อตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ที่ถือครองตราสารหนี้ระยะยาวมีโอกาสได้รับกำไรจากการเพิ่มขึ้นของราคาตราสารหนี้
จากการจำลองกรณีดอกเบี้ยลดลง 0.10% อัตราผลตอบแทนต่อปีที่รวมทั้ง Cashflow และราคาตราสารหนี้ปรับตัวสูงขึ้นนั้นจะปรับตัวสูงขึ้นจาก 2.86% มีโอกาสไปถึง 3.75% รวมทั้งใน scenario อื่น ๆ กรณีดอกเบี้ยปรับลดลงมากขึ้นว่าอัตราผลตอบเเทนจะเป็นเท่าใด
ในปัจจุบันนักลงทุนสามารถคิดคำนวณอัตราผลตอบแทนได้ง่าย ๆ โดยการใช้เครื่องคิดเลขบนเว็บไซต์ของ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA)
นักลงทุนบุคคลจะสามารถลงทุนในพันธบัตรได้หรือไม่ แล้วถ้าอยากขายต้องทำอย่างไร?
จากข้อมูล ThaiBMA การเข้าถึงพันธบัตรของนักลงทุนบุคคลทั่วไปถือว่ายังอยู่ในวงจำกัด คิดเป็นสัดส่วนเพียง 5% เท่านั้น อย่างไรก็ตามต้องบอกว่าสถาบันการเงินในปัจจุบันมีการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลทุกวัน โดยมูลค่าการซื้อขายกว่า 98,000 ล้านบาทต่อวัน ทำให้มีสภาพคล่องสูง
บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท ในกลุ่มบริษัทฟินโนมีนา ได้มองเห็นโอกาสการลงทุนในตราสารหนี้ จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้นำด้านตราสารหนี้ตลาดรองจึงทำให้ลูกค้ามีโอกาสในการลงทุนหุ้นกู้ตลาดรองคุณภาพที่มีเรทติ้ง A- ขึ้นไป พร้อมถึงพันธบัตรรัฐบาลที่สามารถทำให้นักลงทุนซื้อง่าย ขายคล่องทุกวัน
สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในตราสารหนี้ไม่มีความเสี่ยงเรื่องของการผิดนัดชำระหนี้และโอกาสขายทำกำไร สามารถติดต่อที่ปรึกษาการลงทุนของท่าน หรือแจ้งความสนใจของท่านมาได้ที่ https://forms.gle/X5jFBJBeAHa9V43d8”
Source:
- https://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2021/170621.aspx
- https://www.thaibma.or.th/EN/Calculation/Calculation.aspx
- https://www.thaibma.or.th/Report/Corner/Doc/w110424.pdf
คำเตือน: ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในหุ้นกู้ไม่ใช่การฝากเงิน | การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้เป็นเพียงข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนเท่านั้น มิใช่สิ่งชี้นำการซื้อขายตราสารหนี้ที่เสนอขาย และไม่ได้เป็นการรับประกันความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกหุ้นกู้
ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ บลป.เดฟินิท 02-109-9933
Disclaimer : เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาการลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เดฟินิท จำกัด ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ จัดทาโดยอาศัยข้อมูลที่จัดหามาจากแหล่งที่เชื่อหรือควรเชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือและ/หรือถูกต้อง อย่างไรก็ตามบริษัทไม่ยืนยัน และไม่รับรองถึงความครบถ้วนสมบูรณ์หรือถูกต้องของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้ประกันราคา,ผลตอบแทนของหน่วยลงทุนหรือโอกาสผิดนัดชำระหนี้ที่ปรากฏข้างต้น แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะปรากฏข้อความที่อาจเป็น หรืออาจตีความว่าเป็นเช่นนั้นได้ บริษัทจึงไม่รับผิดชอบต่อการนาเอาข้อมูล ข้อความ ความเห็น และหรือบทสรุปที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ไปใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ บริษัทรวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทต่าง ๆ อาจจะทำการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ได้ทุกเวลา ข้อมูล และความเห็นที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ มิได้ประสงค์จะชี้ชวน เสนอแนะ หรือจูงใจให้ตัดสินใจลงทุน หรือซื้อ หรือขายหน่วยลงทุนที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ และข้อมูลอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ผู้ลงทุนควรใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบในการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อหรือขายหลักทรัพย์ บริษัทสงวนลิขสิทธิ์ในข้อมูลที่ปรากฎในเอกสารนี้ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ ทำซ้า ดัดแปลง นำออกแสดง ทาให้ปรากฏหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ซึ่งข้อมูลในเอกสารนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากบริษัท เป็นการล่วงหน้า การกล่าวคัด หรืออ้างอิงข้อมูลบางส่วนตามสมควรในเอกสารนี้ ไม่ว่าในบทความ บทวิเคราะห์ บทวิจัย หรือในเอกสาร หรือการสื่อสารอื่นใดจะต้องกระทำโดยถูกต้อง และไม่เป็นการก่อให้เกิดการเข้าใจผิดหรือความเสียหายแก่บริษัท ต้องรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลของบริษัท และต้องอ้างอิงถึงฉบับที่และวันที่ในเอกสารฉบับนี้ของบริษัทโดยชัดแจ้งการตัดสินใจลงทุน หรือซื้อ หรือขายหน่วยลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ท่านควรทาความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อลักษณะของหน่วยลงทุนแต่ละประเภท และควรศึกษาข้อมูลของบริษัทที่ออกหน่วยลงทุนและข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องก่อนการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อหรือขายหน่วยลงทุน