เราเคยสงสัยไหมว่าบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Amazon.com สามารถทำให้ platform ของตัวเองเป็นที่ยอมรับและ เปิดตลาด e-commerce ได้อย่างไร
Jeff Bezos, CEO ของ Amazon.com นั้นเป็นคนที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น Game Changer หรือ ผู้เปลี่ยนเกมจากการพัฒนาบริษัทของเขาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ตอนแรกเขาได้ตั้งชื่อบริษัทของเขาว่า Cadabra โดยเปิดตัว product ใหม่ของเขา Amazon.com ในปี 1995 โดยมีจุดประสงค์ที่จะขายหนังสือออนไลน์ และใช้ข้อได้เปรียบของ Internet Boomในช่วงปี ค.ศ. 1990 โดยความคิดของเขาได้กลายเป็นการ disrupt อุตสาหกรรมค้าปลีกด้วยการย้ายตลาดค้าขายไปไว้ออนไลน์
ความเป็นผู้นำของ Bezos ยังคงผลักดันให้ Amazon.com พัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ บริษัทของเขายังคงลงทุนในเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปกับยุคสมัยใหม่ เช่นการส่งของด้วยเครื่องบินโดรน เป็นต้น
Elon Musk ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Tesla Motors เป็นอีกหนึ่งคนที่ถูกมองว่าเป็นผู้เปลี่ยนเกมในยุคนี้ Musk ก่อตั้ง Tesla ในปี ค.ศ. 2003 ด้วยความทะเยอทะยานสูงในการเป็นผู้เปลี่ยนเกมในอุตสาหกรรมยานยนต์
10 ปีต่อมา Tesla Motors ได้เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงโดยการใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนพลังงานสูงเพื่อขับเคลื่อนรถยนต์แทนน้ำมันเบนซิน ตัว Elon Musk เองเชื่อว่าบริษัทของเขาจะสามารถผลิตรถยนต์ได้ 500,000 คันต่อปีภายในปี ค.ศ. 2020 และวิสัยทัศน์ของเขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยบริษัทคู่แข่งเพราะรถยนต์ไฟฟ้าของเขานั้นได้สร้างคลื่นลูกใหม่ที่บริษัทอื่นต้องมองหาวิธีรับมืออย่างเร่งด่วน
วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ คำว่า Game Changer หรือผู้เปลี่ยนเกม ที่จะทำให้ทุกคนสามารถกลายเป็น Jeff Bezos หรือ Elon Musk หลังจากอ่านบทความนี้โดยทันที!
Game Changer คืออะไร?
Game Changer คือบุคคลหรือบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ที่อยากจะเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางธุรกิจและตั้งเป้าหมายแผนธุรกิจใหม่ทั้งหมด บริษัทประเภทนี้จะจัดตั้งและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งทางตรงหรือทางอ้อม นวัตกรรม Game Changer จะเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตของผู้คนไปในทางที่สะดวกสบายมากขึ้นและไม่เคยพบเห็นมาก่อน
และนี่คือ 6 ขั้นตอน ที่นักเขียน Mike Myatt ประธานบริษัท N2Growth และเจ้าของหนังสือ Hacking Leadership คิดขึ้นมาเพื่อที่จะพัฒนา Game Changer
Simple (ง่าย):
ไอเดียส่วนใหญ่เริ่มจากความคิดง่ายๆ ที่อยากจะแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน บางคนอาจจะแปลคำนี้เป็นความเป็นไปได้ ไม่เกินจริง อย่าพยายามแก้ไขปัญหายากๆ ที่เกินตัวเรา เพราะจะทำให้เราหลุดออกจากเป้าหมายที่แท้จริง
Meaningful (มีคุณค่า):
Game Changer ส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาในตลาดเดิมหรือพยายามที่จะเปิดตลาดใหม่ ซึ่งล้วนแล้วมีความหมายและคุณค่าต่อคนหมู่มาก ถ้าความคิดเราไม่ได้มีประโยชน์ต่อคนหมู่มากมันก็ไม่ดีพอที่จะเป็น Game Changer Idea
Actionable (ทำได้จริง):
ถ้าไอเดียเราไม่สามารถเปลี่ยนเป็นนวัตกรรมได้มันก็จะไม่ปัง แล้วถ้าเราไม่สามารถนำความคิดไปปฏิบัติจริงได้มันก็ไม่ใช่ Game Changer ไอเดียเราต้องเป็นสิ่งที่ตัวเราสามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่สิ่งลึกลับไม่มีตัวตนในโลกความเป็นจริง
Relational (สร้างความสัมพันธ์):
Game Changer ช่วยขยายและยกระดับความสัมพันธ์ที่มีอยู่รวมถึงให้บริการเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ไอเดียที่ดีจริงๆ จะเข้าใจอำนาจของผู้คนและความสัมพันธ์ บริษัทอย่าง Amazon รวบรวมสิ่งนี้ไว้ได้ทั้งในการสร้างสรรค์ไอเดียและการนำไปใช้
Transformational (เปิดรับความเปลี่ยนแปลง):
ตามความหมาย Game Changer คือ นวัตกรรมใหม่ที่จะสร้างความเปลี่ยนเปลี่ยน หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ไม่มีสิ่งใดถูกสร้างขึ้นใหม่ หรือถ้าไม่มีการปรับปรุงใด ๆ แสดงว่าสิ่งที่เราคิดขึ้นมานั้นไม่ใช่ Game Changer บทเรียนหนึ่งที่ประธานบริษัทนวัตกรรมใหญ่ ๆ ส่วนใหญ่ยึดถือคือ เราไม่สามารถสัมผัสกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลง
Scalable (มีความเป็นไปได้):
Game Changer จะสามารถปรับขนาดได้ ถ้าไอเดียเรามันใหญ่เกินกว่าที่เราจะทำเองได้ มันก็จะกลายเป็นไอเดียที่ไม่มีความหวังในอนาคตและมักจะกลายเป็นฝันร้ายมากกว่าที่จะเติมเต็มความฝัน Game Changer ที่แท้จริงสร้างขึ้นด้วยความเร็วและความยั่งยืนในใจ และสิ่งที่ดีที่สุดคือไอเดียที่ดีจะสามารถกระตุ้นโอกาสในการเพิ่มพูนอื่น ๆ
เราได้บอกเคล็ด “ไม่” ลับของการสร้างบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่าง Amazon และ Tesla ให้กับคุณแล้ว คุณพร้อมหรือยังที่จะทำให้ไอเดียคุณกลายเป็น Game Changer ?
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.investopedia.com/terms/g/game-changer.asp
ที่มาบทความ: