หลังจากหายไปสักพัก ระหว่างนั้นด้วยความสงสัยบางอย่าง จึงได้แบ่งเวลาไปศึกษาการเคลื่อนไหวของ yield curve หลังจากที่เคยเขียนเรื่อง Inverted yield curve หากใครสงสัยว่ามันคืออะไร ก็คลิกเข้าไปอ่านกันได้ครับ
เริ่มต้นกันด้วย Yield curve คือ การแสดงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ (พันธบัตรรัฐบาล) ผ่านการพล็อตกราฟ เพื่อความง่าย เราไปดูจากรูปกันครับ
โดยแกน Y (แกนตั้ง) คือ อัตราผลตอบแทน (Yield, %) และแกน X (แกนนอน) คือ อายุของตราสารหนี้ (ปี)
ซึ่งปกติแล้ว ตราสารหนี้ที่อายุสั้นกว่าจะมีอัตราผลตอบแทนน้อยกว่าตราสารหนี้ที่อายุยาวกว่า
พูดง่ายๆ มันคือ กราฟที่บอกความเสี่ยงของหนี้ออกมาในรูปของผลตอบแทน (%)
การเคลื่อนไหวของ yield curve ถูกกำหนดด้วยตัวแปรที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงการผิดชำระหนี้ อัตราดอกเบี้ย มุมมองต่อภาวะเศรษฐกิจ และอื่นๆ ส่งผลให้ Yield curve สามารถเคลื่อนไหวได้
โดยทั่วไปแล้ว yield ของตราสารหนี้ระยะสั้นมักเคลื่อนไหวตามความคาดหวังของตลาดต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ส่วน yield ตราสารหนี้อายุยาวขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อ, มุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจ เป็นต้น
เพื่อความง่าย ขอแบ่งรูปแบบการเคลื่อนไหวของ Yield Curve เป็น 2 รูปแบบ คือ
- Bullish : Yield ของตราสารหนี้ทุกช่วงอายุลดลง
- Bearish : Yield ของตราสารหนี้ทุกช่วงอายุเพิ่มขึ้น
แม้ว่า yield จะลดลงหรือเพิ่มขึ้น แต่ก็ลดลงหรือเพิ่มขึ้นไม่เท่ากันในทุกช่วงอายุ เช่น ปัจจุบันตราสารหนี้อายุ 2 ปีและ 10 ปี ให้ yield ที่ 1.1% และ 3.6% ตามลำดับ
เดือนต่อมา yield ตราสารหนี้อายุ 2 ปี ลดลงเหลือ 0.9% ส่วนอายุ 10 ปี เหลือ 3.2% ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็น การเคลื่อนไหวแบบ Bullish เพียงแต่จะเป็น Bullish แบบใด?
ต่อมารูปแบบทั้ง Bullish และ Bearish ออกเป็นอย่างละ 2 รูปแบบ
- Steepening Yield Curve
- Flattening Yield Curve
หากผลต่างระหว่าง yield ของตราสารหนี้ระยะยาวและสั้นเพิ่มขึ้น สาเหตุเกิดจาก
- yield ของตราสารหนี้ระยะยาวปรับขึ้นมากกว่าของระยะสั้น
- yield ของตราสารหนี้ระยะสั้นลดลงมากกว่าของระยะยาว
หากผลต่างระหว่าง yield ของตราสารหนี้อายุยาวและสั้นลดลง สาเหตุเกิดจาก
- yield ของตราสารหนี้ระยะยาวปรับขึ้นน้อยกว่าของระยะสั้น
- yield ของตราสารหนี้ระยะยาวลดลงมากกว่าของระยะสั้น หรือ yield ของตราสารหนี้ระยะยาวลดลง ขณะที่ yield ของตราสารหนี้ระยะสั้นปรับขึ้น
เรามาเน้นกันตรงนี้ดีกว่าครับ นำทั้งหมดมาแสดงปรากฏการณ์เคลื่อนไหวของ Yield Curve ทั้งหมด 4 รูปแบบ
1. Bearish flattening
มีสาเหตุจาก Fed ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อจากการที่เศรษฐกิจเติบโต การผลิตและการบริโภคขยายตัวอย่างร้อนแรง ช่วงนั้นราคาหุ้นมักเพิ่มขึ้น ซึ่งตามมาด้วยสัญญาณที่ไม่ดีของเศรษฐกิจ
2. Bullish flattening
บ่งบอกความต้องการเงินในระยะกลางและยาวลดลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและยาวต่ำลง บ่งชี้ว่าราคาหุ้นระยะสั้นจะไม่ค่อยดี และจะตามมาด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก Fed จากนั้นก็จะเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น
3. Bearish steepening
เกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนกังวลเรื่องของอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว หรือ การกู้ยืมเงินอย่างมหาศาลของภาครัฐ ด้วยความที่กราฟชันขึ้น เป็นสัญญาณที่ดีต่อมุมมองเศรษฐกิจ และราคาหุ้นในระยะสั้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อเริ่มมา Fed เริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น คือมุมมองต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นที่แย่ลง
4. Bullish steepening
มักเกิดขึ้นจากการที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวลง เป็นสัญญาณให้นักลงทุนมีมุมมองที่ดีต่อเศรษฐกิจและตลาด ส่งผลให้ราคาหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อจากนั้น
เรามาดูกันว่าในวัฏจักรเศรษฐกิจที่ผ่านมาเกิดการเคลื่อนไหวในรูปแบบไหนบ้าง จากรูปด้านล่างกันเลยครับ
แล้วตอนนี้ลักษณะ yield curve เป็นอย่างไรกัน ส่งสัญญาณแนวโน้มเศรษฐกิจอย่างไรต่อไป !? มาแชร์มุมมองกันได้ครับ
Sources:
http://fundmanagertalk.com/investment-talk-analyze-economy-stock-by-yield-curve/
https://www.ishares.com/us/insights/what-the-yield-curve-can-tell-equity-investors
https://www.investopedia.com/terms/y/yieldcurve.asp