Relative Purchasing Power Parity (RPPP) หรือ ทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อโดยเปรียบเทียบ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎี Purchasing Power Parity (PPP) หรือ ทฤษฎีความเสมอภาคของอำนาจซื้อ อันเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ โดยอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินสองประเทศต้องอยู่ในภาวะสมดุล ทำให้อำนาจการซื้อหรือราคาสินค้าอย่างหนึ่งในประเทศทั้งสองเท่ากัน
ทฤษฎีนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเงินเฟ้อและอัตราแลกเปลี่ยน ขอสมมติว่าประเทศ A มีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าประเทศ B 10% ต่อปี ดังนั้นเมื่อถึงสิ้นปี สกุลเงินของประเทศ A จะมีอำนาจซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งลดลงไป 10%
ดังนั้นจากแนวคิดตามทฤษฎี Relative Purchasing Power Parity ความแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อ จะส่งผลให้สกุลเงินของประเทศ A อ่อนค่าลง 10% เพื่อรักษาอำนาจซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งให้เท่าเทียมกัน
ตัวอย่าง
อัตราเงินเฟ้อ
ประเทศไทย (Local) = 6% ต่อปี ประเทศสหรัฐอเมริกา (Foreign) = 3% ต่อปี
อัตราแลกเปลี่ยน
ปัจจุบัน (Spot Exchange Rate) = 30.50 THB/USD สามารถคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตได้จาก
เมื่อผ่านไป 1 ปี อัตราแลกเปลี่ยนควรอ่อนค่าไปที่ระดับ 31.39 THB/USD เพื่อรักษาอำนาจซื้อ
สรุป
จาก Relative Purchasing Power Parity (RPPP) สรุปได้ว่าประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า ค่าเงินจะมีแนวโน้มอ่อนค่ากว่า อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น เช่น คุณภาพสินค้า มุมมองของผู้บริโภค และสภาพทางเศรษฐกิจด้านอื่น ที่ส่งผลให้ทฤษฎีดังกล่าวใช้ไม่ได้ผลในโลกความเป็นจริง โดยเฉพาะในระยะสั้น
Source : Investopedia, fundmanagertalk.com
อ่านคำศัพท์อื่นๆ ทางการเงินได้ที่ : https://www.finnomena.com/vocab/