ตอนนี้วารสารการเงินธนาคาร มีคอนเทนต์แพลตฟอร์มแห่งใหม่ในรูปแบบออนไลน์แล้วนะครับ จากประสบการณ์ทำสื่อด้านเศรษฐกิจมา 39 ปี และตอนนี้การเงินธนาคารได้ก้าวเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ก็ถือว่าเป็นการทำให้คอนเทนต์ต่างๆ เข้าถึงผู้อ่านได้มากขึ้น และเป็นการสร้าง financial literacy ให้กับคนไทยในวงกว้างมากขึ้นด้วย สามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของการเงินธนาคารได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ https://www.moneyandbanking.co.th/


นับตั้งแต่เข้าเดือนมีนาคม ตลาดการเงินทั่วโลกร่วงกันถ้วนหน้าในระดับเดียวกับวิกฤติิปี 2008 นักลงทุนหลายท่านคงกำลังหาโอกาสจากวิกฤติิครั้งนี้ ขณะที่หลายท่านคงกำลังปวดหัวกับข้อมูลที่ไหลมาเทมาจนเยอะเกินไป โอกาสนี้เลยขอแชร์เว็บไซต์และมุมมองที่ใช้ติดตามตลาดในแบบฉบับ CrisisMan เผื่อว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

ข่าวและดัชนีตลาดการเงินทั่วโลก

1. Investing.com

Investing.com เป็นทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นที่อัปเดตข่าวซึ่งรวบรวมมาจากสำนักข่าวชื่อดัง นอกจากข่าวแล้วยังสามารถติดตามดัชนีตลาดการเงินที่อัปเดตตลอดเวลาได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นดัชนีตลาดหุ้น, ราคาหุ้น ETFs, ตลาดตราสารหนี้, ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) และ Cryptocurrency

นอกจากนี้ยังมีปฏิทินประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่มาพร้อมกับคาดการณ์ของตลาดและข้อมูลย้อนหลัง เรียกได้ว่าหากมีเวลาเพียงไม่กี่นาทีแล้วต้องการแหล่งข้อมูลที่ครบถ้วน Investing.com ตอบโจทย์นี้อย่างแน่นอน

LinkInvesting.com

ข้อมูลเศรษฐกิจและตลาดการเงิน

1. Trading Economics

เป็นแหล่งข้อมูลที่คล้ายกับ Investing.com แต่จุดเด่นของเว็บไซต์นี้จะเป็นข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลังของแต่ละประเทศทั้งปัจจุบันและย้อนหลังที่ครบถ้วน เช่น GDP, อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Interest rate), ดุลการค้า (Trade balance), งบประมาณต่อ GDP ฯลฯ เพียงเข้าหน้าเว็บไซต์และพิมพ์ keyword ข้อมูลที่ต้องการในช่อง Search ก็ตามอ่านได้ง่ายๆ

Link: https://tradingeconomics.com/

2. ETF.com

แหล่งข้อมูลสำหรับอัปเดต Fund flows ของตลาดกองทุน ETF โดยเฉพาะ จุดประสงค์หลักเพื่อติดตาม Momentum ของเงินทุนในตลาดการเงินโลก

Link: etf.com

3. Signs of stress

หนึ่งในสุดยอดเว็บไซต์ที่ต้องใช้ในช่วงที่ตลาดปกคลุมด้วยความกังวล สร้างสรรค์โดย REUTERS Graphics ให้ข้อมูลเชิงลึกที่หาได้ยากเกี่ยวกับความตึงเครียดในตลาดการเงินโลก ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินเยนเทียบกับดอลลาร์ (Dollar/Yen), 2-10 Spread หรือแม้กระทั่ง LIBOR/OIS SPREADS, TED SPREAD ซึ่งเป็นความตึงเครียดในตลาดเงินที่ถูกตีความมาจากต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นระหว่างธนาคาร (short-term interbank lending rates)

Link: http://fingfx.thomsonreuters.com/gfx/rngs/1/817/1161/index.html

ธนาคารกลางและนโยบายการเงิน

1. Balance sheets / Repo Operations

ในยุคที่ตลาดการเงินเสพติดสภาพคล่อง หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่ต้องติดตามงบดุลของธนาคารกลาง (Balance sheets) ที่การเพิ่มลดแต่ละครั้งส่งผลต่อสภาพคล่องในตลาด สำหรับ Balance sheets ของธนาคารกลางที่สำคัญ ประกอบไปด้วย Fed, ECB, BOJ และ PBOC ซึ่งจะอัปเดตสัปดาห์ละครั้ง

Link: https://www.yardeni.com/pub/peacockfedecbassets.pdf

ส่วน Balance sheets ของ Fed ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องติดตามมากที่สุด สามารถติดตามได้จาก

Link: https://www.federalreserve.gov/monetarypolicy/bst_recenttrends.htm

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว Fed เริ่มอัดฉีดสภาพคล่องเข้าตลาดซื้อคืน (Repo market) หลังมีภาวะสภาพคล่องตึงตัว และยังคงอัดฉีดสภาพคล่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการติดตามปริมาณสภาพคล่องที่เข้าสู่ระบบก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกความตึงตัวในระบบได้ ใน link ด้านล่าง จะมีข้อมูลการเพิ่มสภาพคล่องที่ทำไปแล้ว รวมถึงปริมาณที่จะทำในอนาคตอีกด้วย

Link: https://apps.newyorkfed.org/markets/autorates/tomo-results-display?SHOWMORE=TRUE&startDate=01/01/2000&enddate=01/01/2000

Market Indicators

1. Fear & Greed Index

มาตรวัดความกลัว / ความโลภ ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จัดทำโดย CNN ที่นำตัวชี้วัดจำนวน 7 ตัว มาใช้คำนวณ ไม่ว่าจะเป็นตัวชี้วัดด้านความผันผวน การเก็งกำไร การเปรียบเทียบผลตอบแทนกับสินทรัพย์ปลอดภัย หรือแม้กระทั่งแนวโน้มดัชนีตลาด นอกจากนั้นยังแสดงดัชนีในอดีตออกมาเป็นกราฟ ให้ได้เปรียบเทียบความกลัวหรือโลภของตลาดในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย

Link: https://money.cnn.com/data/fear-and-greed/

Economic Indicators

1. The 12 Global Economic Indicators to Watch

ถ้าหากข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจรายวันเป็นอะไรที่มากเกินไป Bloomberg ได้รวบรวม 12 ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่บ่งชี้ถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกมาไว้ในที่เดียว ซึ่งมีการอัปเดตรายวัน รวมทั้งสามารถปรับรูปแบบแยกตามแต่ละภูมิภาค หรือเรียงตามข้อมูลที่อัปเดตล่าสุด หรือเรียงตามข้อมูลที่กำลังจะอัปเดตในลำดับต่อไปก็ได้

Link: https://www.bloomberg.com/graphics/world-economic-indicators-dashboard/

2. The Jobs Numbers: Who’s Hiring in America—and Who’s Not

อีกแหล่งข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg อย่างที่ทราบกันว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ เป็นภาคส่วนที่หนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจมาโดยตลอด ในเว็บไซต์นี้จะอัปเดตตัวเลขการจ้างงานและอัตราการว่างงาน และยิ่งไปกว่านั้นยังแสดงการจ้างงานและอัตราค่าจ่างเฉลี่ยรายชั่วโมงโดยแยกแต่ละอุตสาหกรรมอีกด้วย เรียกได้ว่าครบเครื่องและดูง่ายที่สุดแล้วสำหรับตัวเลขภาคแรงงาน

Link: https://www.bloomberg.com/graphics/jobs-numbers/


สุดท้ายมีอีกแหล่งข้อมูลที่อยากแนะนำ คือ Covid-19 Investment War Room ที่ทีมงานของ FINNOMENA จัดทำเฉพาะกิจขึ้นมาครับ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดในการติดตามสถานการณ์การลงทุนในช่วงวิกฤติ Covid-19 มาไว้ในที่เดียวให้ติดตามได้ง่ายๆ

ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงครับ

เขียนโดย CrisisMan
facebook.com/MrCrisisman/

TSF2024