Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่
สัญญาอัจฉริยะหรือ smart contract เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้คริปโตเคอร์เรนซีเกิดการต่อยอดอย่างหลากหลายนะครับ เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการเงินบนโลกกระจายศูนย์ (decentralized finance หรือ DeFi) ขึ้น ซึ่งเปลี่ยนโฉมหน้าการใช้งานคริปโตเคอร์เรนซีไปเยอะพอสมควร และทำให้ผู้คนทั่วไปหันมาสนใจโลกการเงินใหม่ครับ นั่นทำให้คริปโตเคอร์เรนซีหลาย ๆ ตัวที่สามารถเขียนสัญญาอัจฉริยะได้ มีฐานผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่การขยายตัวดังกล่าวก็ทำให้โปรเจกต์คริปโตหลาย ๆ โปรเจกต์เผชิญกับปัญหาด้านความเร็วของการทำธุรกรรมที่ต่ำลงครับ วันนี้ผมจะพาทุก ๆ คนมารู้จักกับโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีตัวหนึ่งที่สามารถเขียนสัญญาอัจฉริยะได้ และถูกออกแบบมาพร้อมกับโครงสร้างที่แตกต่างไปจากโปรเจกต์คริปโตทั่วไปพอสมควร ซึ่งการออกแบบดังกล่าวทำให้สามารถรองรับฐานผู้ใช้งานได้มาก โดยที่ประสิทธิภาพของเครือข่ายไม่ลดลงครับ วันนี้ผมพาทุกคนมารู้จักกับ  ครับ

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่อ Fantom พร้อมกับ Andre Cronje ซึ่งเป็นศาสดาแห่งโลกคริปโตของใครหลาย ๆ คน มาลองดูว่ารายละเอียดของ Fantom เป็นอย่างไร และเกี่ยวข้องกับ Andre Cronje อย่างไรกันครับ

What is Fantom?

Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่

 เป็นแพลตฟอร์มที่มีการใช้งานสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสินทรัพย์ดิจิทัลและการใช้งานแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (dApp) ครับ โดยมีเป้าหมายเป็นแพลตฟอร์มทางเลือก นอกเหนือจาก  ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มหลักสำหรับแอปพลิเคชันลักษณะดังกล่าว

Fantom เร่ิมต้นในปี 2018 โดยคุณ Ahn Byung Ik โดย Ahn จบการศึกษาปริญญาเอกด้านคอมพิวเตอร์จากเกาหลีใต้ครับ แต่ในปัจจุบัน Ahn ไม่ได้มีส่วนร่วมในโปรเจกต์ Fantom แล้วครับ ไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่หลายคนเดาว่าเกิดจากการที่รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มร่างกฎหมายควบคุมการใช้งานคริปโตเคอร์เรนซี ทำให้ Ahn ตัดสินใจลาออกจาก Fantom ครับ โดยในปัจจุบัน Fantom ถูกพัฒนาโดย  ซึ่งมีคุณ Michael Kong เป็น CEO ของบริษัทอยู่ครับ

Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่

ถึงแม้ Ahn จะเป็นผู้ริเริ่มโปรเจกต์ Fantom แต่คนที่พัฒนา Fantom ให้เติบโตมาจนถึงปัจจุบัน คือ  ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ผู้คนในวงการคริปโตเคอร์เรนซีน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีครับ โดย Andre เริ่มต้นจากการเป็นนักพัฒนาใน Fantom และเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคให้กับ Fantom Foundation ครับ

Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่

ในจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ Fantom มีเป้าหมายที่จะสร้างคริปโตเคอร์เรนซีที่จะสามารถนำไปใช้งานกับเมืองอัจฉริยะ (smart city) ได้ ซึ่งการใช้ดังกล่าวจำเป็นต้องมีบล็อกเชนที่มีความเร็วในการประมวลผลธุรกรรม (transactions per second:tps) ที่สูงมาก ๆ ในวันที่เริ่มต้นโปรเจกต์ Fantom ตั้งเป้าหมาย tps ไว้ที่ 300,000 ธุรกรรมต่อวินาทีครับ แต่ในปัจจุบันตัวโปรเจกต์ก็ยังไม่สามารถไปถึงเป้าหมายนั้นได้ และดูเหมือนว่าทีมพัฒนาของ Fantom จะเบนเป้าหมายจากการปรับปรุงประสิทธิภาพไปยังการเพิ่มความหลากหลายของการใช้งานทั้งในระดับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการติดตามห่วงโซ่อุปทาน, การแพทย์, รวมถึง central bank digital currency (CBDC) ด้วยครับ นอกจากนี้ Fantom ยังชูจุดเด่นในด้านการประหยัดพลังงานครับ อ้างอิงจาก Fantom Foundation การทำธุรกรรมบน Fantom หนึ่งครั้ง จะกินพลังงานอยู่ที่ 0.024–0.028 วัตต์ชั่วโมง และด้วยปริมาณการทำธุรกรรมในปัจจุบัน ในหนึ่งปี Fantom จะกินพลังงานอยู่ที่ 8,200 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้านหนึ่งหลังในสหรัฐอเมริกา (ซึ่งอยู่ที่ 10,700 กิโลวัตต์ชั่วโมง) เสียอีกครับ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานของ Fantom ได้ที่นี่)

อ้างอิงจาก FTMScan ซึ่งเป็นเว็บไซต์แสดงค่าสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับบล็อกเชน Fantom พบว่า Fantom มีจำนวนกระเป๋าเงินดิจิทัลสูงกว่า 42 ล้านกระเป๋า ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับขนาดโปรเจกต์ เพราะ Fantom เป็นบล็อกเชนที่มีมูลค่าตลาดยังไม่สูงมากครับ (เทียบกับ Avalanche ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่มีมูลค่าตลาดสูงกว่ามาก ก็มีจำนวนกระเป๋าที่น้อยกว่า Fantom อยู่หลายเท่าตัวครับ)

Technology

Directed Acyclic Graph (DAG)

Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่

โครงสร้างของ Fantom ไม่ได้มีลักษณะเป็นบล็อกหลาย ๆ บล็อก เชื่อมต่อกันแบบ 1 ต่อ 1 เหมือนกับบล็อกเชนอื่น ๆ ที่เราคุ้นเคยครับ แต่มีลักษณะเป็น  ซึ่งเป็นวิธีการเก็บข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่มีส่วนร่วมในการประมวลผลข้อมูล สามารถทำงานแบบขนาน (parallel) กันไปได้ครับ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกเชนทั่วไปตรงที่ในบล็อกเชนทั่วไป ในแต่ละรอบการเขียนบล็อก จะมีนักขุด (miner) หรือผู้ตรวจสอบ (validator) เพียงหนึ่งคนหรือหนึ่งกลุ่ม ถูกเลือกมาด้วยกลไกบางอย่าง เพื่อทำหน้าที่เขียนบล็อกใหม่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะทำได้ทีละรอบ เพราะไม่สามารถมีสองบล็อกใหม่ถูกเขียนขึ้นพร้อมกันได้ครับ (อีกหนึ่งโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีที่ใช้ DAG เหมือนกันคือ Avalanche ครับ ซึ่งก็เป็นโปรเจกต์ที่มีความเร็วสูงมาก ๆ เช่นกัน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Avalanche ได้ที่นี่ครับ)

การทำงานแบบขนานช่วยให้ระบบของ Fantom สามารถประมวลผลธุรกรรมได้เร็วขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องครับ Fantom มีการทำ network gossiping นั่นคือคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำการ “กระซิบ” (gossip) ข้อมูลธุรกรรมจากเครื่องของตัวเองไปยังกลุ่มของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบนิเวศของ Fantom กลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มดังกล่าวเกิดจากการสุ่มขึ้นมาครับ จากนั้นคอมพิวเตอร์เครื่องที่ได้รับข้อมูลก็จะทำการ gossip ข้อมูลไปยังกลุ่มของคอมพิวเตอร์กลุ่มใหม่ ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ในท้ายที่สุดข้อมูลก็จะถูกกระจายไปทั่วระบบนิเวศของ Fantom ครับ การออกแบบดังกล่าวนอกจากจะช่วยให้ tps ของ Fantom เร็วขึ้น ยังช่วยให้ Fantom มี finality (ระยะเวลาที่แต่ละธุรกรรมต้องรอจนกว่าจะได้รับการยืนยันความถูกต้อง) ภายใน 1–2 วินาที ซึ่งถือว่าเร็วมาก ๆ เมื่อเทียบกับโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีตัวอื่น ๆ ครับ

Ethereum Virtual Machine (EVM)

ตัว Fantom เองไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับฟังก์ชัน smart contract ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างกลไกที่มีความซับซ้อนบนบล็อกเชนได้ เช่นการกู้ยืม การทำฟาร์ม หรือฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ NFT ครับ ดังนั้น Fantom จึงต้องใช้บริการ EVM เพื่อให้สามารถสร้าง smart contract บน Fantom ได้ ในปัจจุบัน อ้างอิงจาก Defillama Fantom มีมูลค่าทรัพย์สิน (total value locked: TVL) อยู่ที่ 578 ล้านดอลลาร์สหรัฐครับ แต่การใช้งาน EVM ก็มีข้อเสียหนึ่งอย่าง คือ tps ของ EVM จะต่ำกว่า tps ของ Fantom ทำให้ Fantom ที่ใช้งาน EVM จะประมวลผลธุรกรรมต่อวินาทีได้ต่ำลงครับ

Consensus Mechanism

Fantom ใช้กลไกฉันทามติ Proof-of-Stake (PoS) รูปแบบพิเศษที่มีชื่อว่า  ครับ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับกลไก PoS แบบทั่วไป คือจะมีผู้ตรวจสอบ (validator) ที่จะต้องวาง (stake) FTM ซึ่งเป็นโทเคนหลักของโปรเจกต์ เพื่อรับสิทธิในการตรวจสอบการทำธุรกรรมครับ ส่วนที่เป็นความแตกต่างของ Lachesis กับกลไก PoS รูปแบบอื่น ๆ ตรงที่การแก้ไขบิดเบือนข้อมูลผ่าน Lachesis สามารถทำได้ด้วยผู้ตรวจสอบเพียงแค่ 1/3 ของผู้ตรวจสอบทั้งหมด (การที่บล็อกเชนโดยปกติจะบิดเบือนข้อมูลได้ จะต้องมีจำนวนผู้ตรวจสอบที่สมรู้ร่วมคิดกันเกินครึ่งของผู้ตรวจสอบทั้งหมด) นั่นทำให้ Lachesis เป็นกลไกฉันทามติที่มีความปลอดภัยต่ำกว่า PoS รูปแบบอื่น ๆ ครับ แต่นั่นก็แลกมาด้วยความเร็วของ Fantom ที่สูงกว่าบล็อกเชนอื่น ๆ ที่ใช้กลไกฉันทามติ PoS ทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดครับ ซึ่งทาง Fantom Foundation ก็เคยออกมาบอกว่าตัว Fantom มีกลไกที่ช่วยลดโอกาสการถูกบิดเบือนข้อมูลอยู่ครับ

DeFi Ecosystems

Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่

ระบบนิเวศของ Decentralized Finance (DeFi) บน Fantom จะมีอยู่สองส่วนด้วยกันครับ ระบบแรกคือ Fantom Web Wallet ซึ่งเป็นหน้าเว็บ DeFi ของ Fantom ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีม Fantom เองครับ ซึ่งภายในจะประกอบไปด้วยกลไกหลาย ๆ อย่างที่ถูกเขียนขึ้นโดย smart contract และมีโทเคนให้เลือกซื้อขายหลากหลายครับ รวมไปถึงโทเคนที่ตรึงมูลค่าไว้กับโทเคนบนบล็อกเชนอื่น ๆ เช่น fBTC และ fETH ที่ตรึงมูลค่าไว้กับ BTC และ ETH ตามลำดับ และโทเคนที่มีมูลค่าอ้างอิงตามราคาสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น fWTIOIL ที่อ้างอิงคาราตามราคาน้ำมันดิบ WTI หรือ fGOLD ที่อ้างอิงราคาตามราคาทองคำโลกครับ ซึ่งวิธีการที่ Fantom ใช้ตรึงมูลค่าโทเคนเหล่านี้คือการวาง FTM ซึ่งเป็นโทเคนประจำโปรเจกต์ไว้เป็นหลักประกันราคาของโทเคนเหล่านี้ในอัตราส่วน 5:1 ครับ โดยผู้ใช้งานที่ต้องการจะผลิต (mint) โทเคนเหล่านี้สามารถนำโทเคนที่มีอยู่ไปวางเป็นหลักประกันเพื่อผลิตโทเคนใหม่ ผ่าน Fantom Web Wallet ได้เลยครับ

นอกจาก Fantom Web Wallet แล้ว Fantom ก็ยังมีระบบนิเวศ DeFi อีกหนึ่งส่วน ที่ประกอบไปด้วยโปรโตคอล DeFi ชื่อดังหลาย ๆ เจ้า เช่น Curve Finance, Sushi และ Beefy Finance ครับ โดยสามารถติดตามโปรโตคอล DeFi ภายใน Fantom ได้ที่ Defillama ครับ

FTM

Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่

เป็นโทเคนหลักประจำบล็อกเชน Fantom ครับ นอกจากนี้ FTM ยังมีตัวตนเป็นโทเคน ERC-20 บนบล็อกเชน Ethereum และ BEP-20 บน BNB Chain ด้วย ในฝั่งของอุปทาน FTM มีปริมาณอุปทานสูงสุด (maximum supply) บนทุกบล็อกเชนรวมกัน อยู่ที่ 3,175 ล้านโทเคน และโทเคนทั้งหมดถูกผลิตขึ้นมาในวันที่เริ่มเปิดใช้งาน Fantom mainnet ในเดือนธันวาคม 2019 ครับ โดยปริมาณอุปทานทั้งหมดถูกแบ่งสัดส่วนออกมาดังนี้

  • 37% ถูกใช้ระดมทุนจากนักลงทุนรายใหญ่ทั้งหมดสามรอบ ซึ่งระดมทุนไปได้กว่า 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • 1.5% ถูกใช้ระดมทุนจากนักลงทุนรายย่อยผ่านการระดมทุนแบบ initial coin offering (ICO) ซึ่งระดมทุนไปได้ 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • 15% ถูกแบ่งให้กับที่ปรึกษาโปรเจกต์
  • 10% ถูกแบ่งให้กับทีมนักพัฒนาของ Fantom เอง
  • 4% ถูกแบ่งเก็บไว้เป็นทรัพย์สินสำรองสำหรับการสร้างชุมชนผู้ใช้งานโปรเจกต์ในอนาคต
  • 31% ถูกแบ่งเก็บไว้เป็นรางวัลสำหรับการ stake FTM โดยถ้าคาดการณ์จากอัตราผลตอบแทนปัจจุบัน FTM ส่วนนี้น่าจะถูกแจกจ่ายจนหมดในปี 2024 ครับ

การจะเป็นผู้ตรวจสอบบน Fantom จะต้องทำการ stake FTM ขั้นต่ำ 5 แสน FTM แต่จะต้องไม่เกิน 15 ล้าน FTM ครับ และถ้าหาก Fantom ตรวจจับได้ว่าผู้ตรวจสอบมีความตั้งใจจะบิดเบือนข้อมูล FTM ทั้งหมดที่ stake ไว้จะถูกริบครับ สำหรับการฝาก (delegate) มีปริมาณการฝากขั้นต่ำคือ 1 FTM และสามารถทำได้ผ่าน fWallet โดยเชื่อมต่อ Metamask ครับ โดยผลตอบแทนสำหรับทั้งผู้ตรวจสอบและผู้ฝากจะแปรผันตามระยะเวลาการ lock FTM ที่ฝากไว้ครับ ซึ่งสามารถเลือกได้ตั้งแต่ 1 วันถึง 1 ปีครับ และทุก ๆ การฝากจะมีระยะเวลาถอน (unbonding period) เพิ่มเติมจากระยะเวลาการ lock ที่เลือกไว้อีก 7 วันครับ และถ้าหากผู้ตรวจสอบที่ฝาก FTM ไว้ ถูกริบ FTM เนื่องจากมีความตั้งใจจะบิดเบือนข้อมูล FTM ของผู้ฝากที่ฝากไว้กับผู้ตรวจสอบดังกล่าวก็จะถูกริบเช่นกันครับ

นอกเหนือจากการ stake แล้ว ความต้องการใช้งานด้านอื่น ๆ ของ FTM โดยหลักจะมาจากการใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม (gas fees) ของบล็อกเชน Fantom และการใช้วางเป็นหลักประกันในการผลิตโทเคนเช่น fBTC, fETH หรือ fWTIOIL ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นครับ

Roadmap

Fantom Virtual Machine

Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นครับว่า Fantom ในปัจจุบันใช้งาน Ethereum Virtual Machine (EVM) สำหรับการเขียนสัญญาอัจฉริยะในแอปพลิเคชันต่าง ๆ ซึ่ง EVM มีข้อจำกัดสำคัญคือเรื่องความเร็วในการประมวลผลธุรกรรม ทำให้การใช้งานแอปพลิเคชันบน Fantom มีความเร็วที่ไม่ได้สูงมากนักครับ ทีมพัฒนาของ Fantom จึงมีแผนสร้าง  (FVM) เพื่อแทนที่ EVM และกำจัดข้อจำกัดเกี่ยวกับความเร็วออกไปครับ

การอัปเกรดดังกล่าวจะมีการปรับโครงสร้างบล็อกเชน จากเดิมที่มีบล็อกเชน Fantom และมี EVM มาซ้อนทับเป็น layer-2 เพื่อให้นักพัฒนาเขียนสัญญาอัจฉริยะ จะเปลี่ยนโครงสร้างใหม่เป็น Fantom ที่เป็น layer-1 เพียงชั้นเดียว แต่มีการอัปเกรดบล็อกเชนเพื่อให้เขียนสัญญาอัจฉริยะได้เหมือนกับ EVM การอัปเกรดดังกล่าวจะช่วยลดความซับซ้อนของบล็อกเชน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นครับ สำหรับใครที่อยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FVM สามารถเข้าไปอ่านได้ที่นี่เลยครับ

Axelar’s Cross Chain Swaps

Fantom: ขุมกำลัง DeFi กับโครงสร้างใหม่

สิ่งหนึ่งที่ Fantom ยังขาดหายไปคือการเชื่อมต่อกับบล็อกเชนอื่น ๆ ครับ การเชื่อมต่อระหว่างบล็อกเชนถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบล็อกเชนแต่ละตัวจะมีข้อดีข้อเสียที่ต่างกัน และเหมาะกับการใช้งานคนละประเภท ดังนั้นการเชื่อมต่อระหว่างบล็อกเชนจะช่วยขยายฐานการใช้งานบล็อกเชน และสร้างระบบนิเวศที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้บล็อกเชนตามความเหมาะสมได้ครับ

 เป็นโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีภายในระบบนิเวศของ Cøsmos (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cøsmos ได้ที่นี่) ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อบล็อกเชนโดยเฉพาะ และสามารถรวมการใช้งานข้ามบล็อกเชนเข้ากับแอปพลิเคชันที่ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชนใดบล็อกเชนหนึ่งได้ โดยในปัจจุบัน Axelar สามารถเชื่อมต่อบล็อกเชนภายในระบบนิเวศของ Cøsmos กับบล็อกเชนอย่าง Bitcoin หรือ Ethereum ได้แล้วครับ ซึ่ง Fantom จะเป็นเป้าหมายต่อไปที่ Axelar จะสร้างสะพานเชื่อมต่อเข้ากับบล็อกเชนอื่น ๆ โดยถ้าหากสะพานดังกล่าวสำเร็จ แอปพลิเคชัน DeFi บน Fantom อย่างเช่น Spookyswap จะสามารถโอนโทเคนข้ามบล็อกเชนได้โดยมีความปลอดภัยที่สูงขึ้น และจะช่วยเพิ่มความหลากหลายของการใช้งานแอปพลิเคชันบน Fantom ได้เยอะเลยครับ สำหรับใครที่อยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนดังกล่าว สามารถอ่านได้ที่นี่ครับ

Concerns

Validators

การที่ผู้ตรวจสอบจะต้อง stake FTM อย่างน้อย 5 แสน FTM เป็นกำแพงสำคัญครับ ในปัจจุบัน Fantom มีจำนวนผู้ตรวจสอบอยู่เพียง 60 เครื่องเท่านั้น และในจำนวนดังกล่าวยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งที่อยู่ภายใต้การดูแลของทีมพัฒนา Fantom อีกด้วยครับ ประเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่ควรติดตาม เพราะส่งผลโดยตรงกับความกระจายศูนย์ (decentralization) ของบล็อกเชนครับ ซึ่งในปัจจุบัน ทีมพัฒนาของ Fantom ก็ยังไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการเป็นผู้ตรวจสอบแต่อย่างใดครับ

Andre Cronje’s Influence

ในวันที่ 6 มีนาคม 2022 Anton Nell ซึ่งในขณะนั้นทำงานในตำแหน่ง senior solutions architect ของ Fantom Foundation ประกาศในทวิตเตอร์ของตนว่าตนเองและ Andre Cronje ตัดสินใจลาออกจาก Fantom Foundation และยุติการทำงานในวงการคริปโตเคอร์เรนซีครับ ซึ่งจริง ๆ แล้ว Andre เคยประกาศว่าจะเลิกพัฒนาแอปพลิเคชันในวงการคริปโตมาแล้วสองรอบ คือช่วงต้นและปลายปี 2020 ซึ่งในขณะนั้น Andre โฟกัสการพัฒนาแอปพลิเคชันบน Ethereum แต่หลังจากที่ประกาศว่าจะกลับมาพัฒนาแอปพลิเคชันในวงการคริปโตในช่วงปลายปี 2021 ก็ได้ย้ายความสนใจมาที่ Fantom เป็นหลัก ซึ่งในการประกาศยุติการทำงานครั้งนี้ Anton กล่าวว่าจะหยุดการทำงานของแอปพลิเคชัน DeFi 25 ตัวในเดือนเมษายน (ซึ่งเป็นเดือนถัดไป) ครับ

การประกาศดังกล่าวทำให้โทเคนคริปโตเคอร์เรนซีทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชัน DeFi กลุ่มดังกล่าวถูกเทขายอย่างหนัก แต่คงไม่มีโทเคนตัวไหนที่จะได้รับผลกระทบมากไปกว่า FTM แล้วครับ เนื่องจาก FTM เป็นโทเคนที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดเมื่อเทียบกับโทเคนตัวอื่น ๆ ที่โดนผลกระทบ และสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ การที่บล็อกเชนของ Fantom สามารถขยายฐานผู้ใช้งานและเพิ่มมูลค่าของบล็อกเชนมาได้ไกลขนาดนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการมี Andre ช่วยดูแลโปรเจกต์อยู่ด้วยครับ ดังนั้นเมื่อ Andre ประกาศยุติบทบาท ราคาของ FTM ร่วงลงไปกว่า 35% ในช่วง 7 วันแรกหลังจากการประกาศลาออก และยังคงอยู่ในช่วงขาลงมาจนถึงปัจจุบันครับ

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 มีนาคม 2022 ทาง Fantom Foundation ได้ออกประกาศลงบนเว็บไซต์ของตัวเอง เกี่ยวกับการทำงานของ Andre ภายใน Fantom Foundation โดยกล่าวว่าในช่วงก่อนหน้าที่ Andre จะลาออก ตำแหน่งของ Andre คือที่ปรึกษาของโปรเจกต์เท่านั้น ไม่ได้มีส่วนในการร่วมพัฒนาโปรเจกต์ Fantom โดยตรง และนักพัฒนาคนอื่น ๆ ก็ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรเจกต์ต่อไปครับ สำหรับใครที่อยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศจาก Fantom Foundation สามารถเข้าไปอ่านได้ที่นี่เลยครับ

แต่ล่าสุดในปลายปี 2022 ที่ผ่านมา Andre ก็ได้ประกาศในตำแหน่ง director ของ Fantom Foundation และมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการดำเนินไปของตัวโปรเจกต์ครับ สังเกตุเห็นได้ว่าหลังจาก Andre ประกาศกลับมา ราคาของ FTM มีการปรับตัวขึ้น แสดงให้เห็นว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกับราคาของ FTM คือตัว Andre เองครับ ถ้าหากในอนาคต Andre ตัดสินใจลาออกจาก Fantom Foundation อีกครั้ง FTM เองก็คงจะเจอแรงขายอย่างหนัก เหมือนกับเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาครับ

Summary

Fantom เป็นหนึ่งในโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีที่มีความน่าสนใจในตัว เพราะเป็นหนึ่งในไม่กี่โปรเจกต์ที่เลือกใช้เทคโนโลยี directed acyclic graph (DAG) มาใช้ครับ เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้ Fantom มีความเร็วสูงมาก ๆ และขยายฐานรองรับผู้ใช้งานได้อย่างดีครับ มูลค่า TVL ของ Fantom ก็มีอยู่หลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนแอปพลิเคชันก็มีหลายร้อยตัว เป็นโปรเจกต์คริปโตที่มีฐานผู้ใช้งานแข็งแกร่งพอสมควรเลยครับ

แต่การที่มีฐานผู้ใช้งานสูงขนาดนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ Andre Cronje มีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรเจกต์ครับ ในช่วงที่ Andre ประกาศลาออก เราเห็นราคาของ FTM ร่วงลงหนัก มีแอปพลิเคชันหลายตัวที่ทยอยปิดตัวไป และมูลค่า TVL ของ Fantom ก็ลดลงไม่น้อยเลยครับ สื่อให้เห็นว่า Andre มีอิทธิพลต่อโปรเจกต์ขนาดไหน ก็ต้องรอดูกันต่อไปครับว่า Fantom ในอนาคตจะดำเนินต่อไปในทิศทางใด ถึงแม้ว่าในตอนนี้ Andre จะกลับมาทำงานกับ Fantom Foundation แล้ว แต่ก็มีโอกาสที่เขาจะแยกทางกับ Fantom อีกครั้ง ยังไม่นับในเรื่องกลไก Lachesis และการมีจำนวนผู้ตรวจสอบที่น้อย ซึ่งทั้งสองประเด็นทำให้ Fantom มีความเสี่ยงในเรื่องการถูกควบคุมจากความไม่กระจายศูนย์ของโปรเจกต์ ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไปว่า Fantom จะพัฒนาไปอย่างไรในอนาคตครับ

Further Read:

CodeBreaker

ที่มาบทความ: https://link.medium.com/T04XspZIdxb


คำเตือน

การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูล รวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

TSF2024