บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
ตลาด : SET
กลุ่มอุตสาหกรรม : เทคโนโลยี
หมวดธุรกิจ : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปัจจุบันอินทัชประกอบธุรกิจด้านการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี โดยการถือหุ้นและเข้าไปบริหารงาน (Holding Company)
การลงทุนของอินทัช สามารถจำแนกออกเป็น 3 สายธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจสื่อสาร โทรคมนาคมไร้สาย ธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจต่างประเทศ และธุรกิจอื่นๆ
ทั้งนี้ อินทัชมุ่งเน้นการลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต และสร้างผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน โดยอินทัชมีแผนที่จะขยายการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี รวมไปถึงธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจดังกล่าวที่มีศักยภาพการเติบโต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตให้แก่กลุ่มบริษัท
——————–
>> ผลประกอบการของ INTUCH <<
ยอดขาย
ปี 2558 : 12,665.21 ล้านบาท
ปี 2559 : 11,646.29 ล้านบาท
ปี 2560 : 9,627.61 ล้านบาท
ปี 2560(Q2) : 5,086.82 ล้านบาท
ปี 2561(Q2) : 3,249.39 ล้านบาท
กำไร (ขาดทุน)
ปี 2558 : 16,077.79 ล้านบาท
ปี 2559 : 16,397.61 ล้านบาท
ปี 2560 : 10,673.18 ล้านบาท
ปี 2560(Q2) : 5,990.15 ล้านบาท
ปี 2561(Q2) : 6,938.12 ล้านบาท
เงินสดสุทธิ
ปี 2558 : 169.68 ล้านบาท
ปี 2559 : -555.54 ล้านบาท
ปี 2560 : -804.45 ล้านบาท
ปี 2560(Q2) : -984.77 ล้านบาท
ปี 2561 (Q2) : 1160.06 ล้านบาท
เงินปันผล
ยังคงนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่ค่อนข้างสูง รวมปันผลทั้งหมด จาก ADVANC และ THCOM อยู่ที่ 1.54 บาท คิดเป็น Dividend payout ratio ที่ 71% (คิดจากงบการเงินเดี่ยวของ INTUCH) และมีอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 2.8% (เทียบกับราคาหุ้น 56 บาท)
กำไร
มีการบันทึกกำไรจากการขาย CSL เข้ามาด้วย หากตัดกำไรในส่วนนี้ยังโต 28% หลักๆ จาก AIS
Discount to NAV ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 25% ถือว่ากว้างขึ้นมากกว่าในอดีต (ประมาณ 20%) ถือว่ามีความผิดปกติ ส่งผลให้ผลตอบแทนจากปันผลเพิ่มขึ้น
——————–
>> Portfolio <<
นโยบายการลงทุนของ INTUCH
– โครงการ InVent เริ่มมาตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบันลงทุนไปทั้งหมด 14 บริษัท โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 433 ล้านบาท
– ปัจจุบันมีการลงทุนบริษัท ydm thailand โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท
– ปัจจุบันมูลค่าโครงการ InVent เติบโตขึ้นอยู่ที่ 647 ล้านบาท
– Realized value มีการขายบางบริษัทออกไป รับรู้กำไรที่ 63 ล้านบาท ยังไม่รับรู้กำไร 584 ล้านบาท
– ส่วนที่เติบโตมาจาก Ookbee ซึ่งมีการขยายธุรกิจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
– งบประมาณการลงทุนของ VC อยู่ที่ประมาณ 200ล้านบาทต่อปี โดยอาจมีการขยายการลงทุนไปในบริษัทประเภท seed(เพิ่งเริ่มต้น) โดยต้องมีการคำนึงถึงด้านความเสี่ยงเทียบผลตอบแทนด้วย
– กลุ่มบริษัทที่เข้าไปลงทุนส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม TMT ได้แก่ Telecom, Media และ Technology รวมถึงกลุ่มที่เป้น digital อีกด้วย
– Folloe-on investment ลงทุนในธุรกิจที่มีผลประกอบการที่ดี แต่ยังขาดเงินทุน โดยจะมีการพิจารณารายธุรกิจไป
– มีการมองถึงการ Synergy ระหว่างกลุ่มบริษัท
– Exit strategy : เมื่อลงทุนได้ประมาณ 5-6 ปี จะมีการขายออกไปในรูปแบบต่างๆ
YDM Thailand
– ทำธุรกิจ Digital Marketing อันดับ 1 ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย มีการวัด KPI ได้อย่างชัดเจน
– ตั้งเป้าหมาย IPO ในปี 2020
– อุตสาหกรรมโฆษณา online marketing มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ 31% ในปีที่ผ่านมา และประเทศไทยเป็นเบอร์ 2 ในเอเชีย
– มีการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และมีความทันสมัยมาก
– เป็นบริษัท Marketing Technology บริษัทแรกด้านนี้ ที่ INTUCH เข้าไปลงทุน
Wongnai
– มีการเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว มียอดคนเข้าชมถึง 120 ล้านคนต่อเดือน
– รายได้หลักมาจากร้านอาหาร Beauty Spa การทำอาหาร การจัดงานอีเว้นท์ การท่องเที่ยว
– ปัจจุบันได้เข้าร่วมธุรกิจกับ Food story ทำให้ wongnai มี product ที่เป็น POS ให้แก่ร้านอาหารด้วย ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก POS ได้หลายๆอย่าง โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 35 ล้านบาท
– มีการลงทุนไปในบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ใน chain เดียวกัน และมี Feature ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น สร้างโอกาสในการเติบโตได้ในอนาคต
VVR Asia
– เข้าลงทุนโดยการ swap หุ้น โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท
– เป็นผู้นำทางด้าน AR และ VR solution ในประเทศไทย
– มีอุปกรณ์ที่หลากหลายและทันสมัย
– มีแผนการทำ VR live concert ที่จะมาลงใน AIS platform
Ookbee
– มีจำนวนคนเข้าดูสูงถึง 1,000 กว่าล้านวิว
– มี Platform ทื่หลากหลาย และมีการขยายบาง platform ไปยังต่างประเทศอีกด้วย
– มีแผนการจะทำ series ร่วมกับ Line tv โดยปัจจุบันฉายไปแล้ว 2 เรื่อง
Event Pop
– ทำธุรกิจด้าน Event management โดยมีการขยายไปตลาดต่างประเทศมากขึ้น
– หลัก ๆ มี event จากการขาย ticket มีงานเข้ามามากขึ้น รายได้เพิ่มมากขึ้น
** AIS **
– เป็นบริษัทลูกหลัก ๆ รายได้จากการบริการโตขึ้นประมาณเกือบ 5% (ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7-8% เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น) รายได้หลัก ๆ มาจากกลุ่ม Postpaid และ Broadband
– คาดว่าครึ่งปีหลังยังคงมีการแข่งขันที่สูงอยู่ จึงปรับลดประมาณการณ์เติบโตลงอยู่ที่ประมาณ 5-7%
– ยอดขายเครื่องยังคงใกล้เคียงกับปีก่อน (มีการประมาณการณ์ว่าจะลดลงอยู่แล้ว)
– EBITDA margin ครึ่งปีแรกอยู่ที่ประมาณ 47%
– เงินลงทุนในครึ่งปีใช้ไปเพียง 11,000 ล้านบาท (ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ที่ ประมาณ 35,000-38,000 ล้านบาท และได้มีการปรับลดลงมาที่ 25,000ล้านบาท) สาเหตุที่เงินลงทุนลดลง เกิดจากวิธี Cash outflow ที่เปลี่ยนแปลง โดยยืดระยะเวลาการจ่ายเงินให้ลูกค้าออกไป แต่ไม่ได้ลดการลงทุนลง ถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารเงินสดของ AIS
– กลุ่ม Mobile โตจากกลุ่ม Postpaid เป็นหลัก ลูกค้ากลุ่ม Handset เติบโตขึ้น 54% โดยลูกค้ามีการใช้งาน data ต่อคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการใช้งานข้อมูลต่างๆ
– มีการให้บริการผ่านลูกค้าผ่านทางออนไลน์มากขึ้น ตลาดอินเตอร์เน็ตเริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น จึงต้องมีโปรโมชั่น ที่ให้เหมาะกับลูกค้าออนไลน์มากขึ้น
– การใช้จ่ายด้าน Marketing ของ AIS ลดลงทุกไตรมาส โดยมีการ offer handset subsidies แก่ลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป
– FBB ปัจจุบันมีลูกค้ามากขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 623,000 ราย โดยไตรมาสที่ผ่านมามีลูกค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 50,000 ราย ARPU ลดลงอยู่ที่ประมาณ 610 บาท จากการแข่งขันที่สูง ทาง AIS มีการขยาย BB ไปยัง 50 จังหวัดตามหัวเมืองต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายลูกค้าสิ้นปีที่ 800,000 ราย
– Digital service ได้ release CSL ออกไปแล้วเมื่อสิ้นเดือน ก.ค. โดยครึ่งปีแรก รายได้ประมาณ 800 ล้านบาท และมีการพยายามลดต้นทุนลง
– Mobile wallet ร่วมกับ Rabbit line pay (แต่ละเจ้าถือเป็นเบอร์หนึ่งในแต่ละด้าน) มีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น
– Video platform ได้พยายามหา content ที่หลากหลายมาเสนอผู้บริโภค ซึ่ง Active user อยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านราย (ถือว่าไม่เยอะ)
** THCOM **
– ในครึ่งปีแรกรายได้ลดลง จากการสูญเสียลูกค้าทั้ง Broadband และ Broadcast แต่ค่าใช้จ่ายก็ลดลงเช่นกัน
– EBITDA margin ครึ่งปีลดลงจากปีที่แล้วจาก 47% มาอยู่ที่ 39% สาเหตุจากรายได้ที่ลดลง คาดว่าจะคงระดับอยู่ได้ที่ 40-45% ยังอยู่ในระดับที่สูง
– ประมาณการณ์รายได้ทั้งปีคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย
– กำไรครึ่งปีอยู่ที่ 223 ล้านบาท (ลดลงจากครึ่งปีก่อน) แต่จะเห็นว่าใน Q2 รายได้จะเริ่มกลับมาจากการบริหารลูกหนี้และจัดเก็บหนี้ได้ดียิ่งขึ้น
– มีการเซ็นสัญญากับลูกค้าฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น โดยลูกค้าที่เป็น Mobile operator ทั้งหมดที่ญี่ปุ่นเป็นของ THCOM
– BB มีลูกค้าเพิ่มขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศพม่า โดยมีช่องมากกว่า 1000 ช่อง ลูกค้า HD ประมาณ 100 กว่าช่อง
– THCOM ต้องการใช้ความสามารถของพนักงาน ขยายไปสู่การหารายได้ทางอื่นเพิ่มขึ้น โดยให้คำปรึกษากับโครงการดาวเทียมแห่งชาติ ที่บังกลาเทศ
– ธุรกิจอื่น ๆ NAVA service เป็นการใช้บริการบนเรือ เพิ่มลูกค้าได้ 19 ลำ ปัจจุบันมีลูกค้าทั้งหมด 39 ลำ และมีการเซ็นสัญญากับลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 12 ลำ (ยังไม่มีการใช้งาน)
– สัดส่วนรายได้ลูกค้าดาวเทียมหลัก ๆ มาจาก Conventional สูงกว่า BB
– Utilization ดีขึ้นจาก Q2 ของปีก่อน จากการที่ได้ลูกค้าใหม่เพิ่มมากขึ้น สำหรับ Broadband คาดว่าสิ้นปีจะอยู่ในระดับ 30% และ Broadcast อยู่ที่ประมาณ 60%
– Moving Forward
> การให้บริการดาวเทียมยังมีความจำเป็นอยู่ ได้มีการวางแผนพูดคุยกับพันธมิตร และรัฐบาล ในการให้บริการดาวเทียมในภูมิภาค ขยายมาใน Asia Pacific (ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน)
> LOOX TV รายได้ยังไม่มาก รายได้ส่วนใหญ่ยังคงมาจากการเช่าช่องดาวเทียม
> Explore ธุรกิจใหม่ โดยเฉพาะโดรนที่มีการใช้งานที่เยอะและหลายรูปแบบ
High Shopping
– บริษัทภายใต้กลุ่ม Intuch media
– รายได้อยู่ที่ 345 ล้านบาท เติบโตขึ้นจาก Q2 ปีก่อน โดยยอดขายเฉลี่ยต่อวันเติบโตขึ้นที่ประมาณ 7% อยู่ที่ประมาณ 1.9ล้านบาทต่อวัน (ขึ้นกับแต่ละวันว่าขายได้มากน้อย)
– เน้นช่องทีวีเป็นหลัก โดยเข้าไปเช่าช่วงเวลาในช่องที่มีเรทติ้งดีๆ
– มีการหา Product ที่จะให้ Margin สูง ๆ เช่น สินค้าแฟชั่น และสินค้าคุณภาพ
– คาดการณ์รายได้ เติบโตที่ประมาณ 900 ล้านบาท แต่ในช่วงครึ่งปีแรกประสบปัญหาหลาย ๆ อย่าง อาจทำให้รายได้ในครึ่งปีแรกพลาดจากเป้าเล็กน้อย
ประมาณการณ์ผลประกอบการของ INTUCH
– ในปี 2018 เหมือนเดิม อาจลดลงเล็กน้อยจากส่วนของ THCOM
– ส่วนเงินลงทุน VC ตั้งเป้าไว้ที่ 200 ล้านบาทต่อปี (ในปีนี้ลงไปแล้ว 30 ล้านบาท) หากมีโอกาสในการลงทุนอาจลงทุนได้เกินเป้าที่ตั้งไว้ได้
– ต้นทุนค่าใช้จ่ายพนักงานประมาณการณ์ที่ 400 ล้านบาทต่อปี
– นโยบายเงินปันผลเหมือนเดิม โดยจ่ายผู้ถือหุ้นเกือบทั้งหมด (หลังหักสัดส่วนของ INTUCH)
——————–
>> Q&A <<
– ปันผลเมื่อเทียบกับ Cash flow ประมาณ 96%
– Ookbee ถือหุ้นอยู่ที่ประมาณ 20% และ YDM ถืออยู่ที่ประมาณ 8%
– ปัจจุบันหมดสัญญากับ TOT ไปแล้ว เงินที่จ่ายให้ภาพรัฐเป็นส่วนของค่าใบอนุญาต ให้กับ กสทช. คลื่น 1800 อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านบาท (งวดสุดท้าย) และคลื่น 900 อยู่ที่ประมาณ 4,000 ล้านบาท
– ค่าใบอนุญาต จ่าย 50%ในปีแรก และจ่ายอีกครั้งละ 25% ในปีถัดมา แต่ในทางบัญชี การตัดค่า Amortization จะตัดเท่า ๆ กัน ในงบการเงินจะบันทึกเท่า ๆ กันทุกปี ไม่กระทบต่อ Bottom line
– การจ่ายค่าใบอนุญาต จะกระทบในส่วนของงบกระแสเงินสด แต่ในส่วนงบกำไรขาดทุนจะใช้เงินทั้งก้อนตัดตามจำนวนปีที่ได้ โดยลงเป็นค่าใช้จ่าย Amortization รายไตรมาส
– เป้ารายได้ที่ปรับลงเป็นส่วนของ AIS เนื่องจากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
– การเติบโตของ INTUCH มาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกคือบริษัทลูก โดยเฉพาะ AIS และ THCOM ซึ่งยังสามารถสร้างรายได้และยังเติบโตอยู่ ส่วนที่ 2 คือธุรกิจ VC และ New business ต่างๆ โดยที่เงินปันผลจะเป็นสิ่งพื้นฐานที่นักลงทุนจะได้รับ
– INTUCH เน้นการลงทุนระยะยาว การเติบโตไม่ได้หวือหวา แต่ได้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง โดยหลักๆ เป็นเรื่องเงินปันผล และมองถึงการเติบโตอย่างมั่นคง พยายามบริหารจัดการด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพ
ดูข้อมูลหุ้น INTUCH เพิ่มเติมได้ที่
https://www.finnomena.com/stock/INTUCH
https://www.set.or.th
ดูคลิป INTUCH Oppday Q2/2018 ได้ที่ >>> https://www.youtube.com/watch?v=qNjnk5W_iVI
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> wealthinvestmentclinic.wordpress.com/2018/08/13/intuch
อ่านบทความคลินิกการลงทุนได้ที่ >>> wealthinvestmentclinic.wordpress.com
โดย #คลินิกการลงทุน
——————-
Vithan Minaphinant
Securities Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้