หลายคนที่เคยวางแผนภาษี น่าจะเคยได้ยินสิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อการเกษียณ ที่มาด้วยกันเป็นแพ็กเกจ มีรวมกันได้ไม่เกิน 500,000 บาท แต่ก็อาจจะยังงง ๆ หรือไม่แน่ใจว่า เจ้ากลุ่มนี้มันประกอบไปด้วยอะไร ลดหย่อนได้เท่าไหร่ และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง คลิปนี้จะมาเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ กัน

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ.
คลิก https://finno.me/open-plan

กลุ่มแรก “ร่วมด้วยช่วยออม”: เมื่อออมแล้วจะมีคนสมทบเงินออมเพิ่มให้ด้วย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

  • เป็นระบบการออมเพื่อการเกษียณสำหรับพนักงานประจำในบริษัทเอกชน
  • บังคับพนักงานออมเงินโดยการหักเงินสะสมออกจากเงินเดือนให้อัตโนมัติ
  • เริ่มต้นที่ 3% ไปจนถึงสูงสุดที่ 15% ของเงินเดือน
  • ออมเท่าไหร่ลดหย่อนได้เท่านั้น
  • นายจ้างจะมีหน้าที่ต้องสมทบเงินออมให้ด้วยไม่น้อยกว่าที่ลูกจ้างได้สะสมเข้ามาด้วย

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

  • สำหรับข้าราชการทุกท่าน
  • เป็นระบบการบังคับออมลักษณะใกล้เคียงกันกับ Provident fund คือออมขั้นต่ำ 3% ของเงินเดือน สูงสุดออมเพิ่มได้ถึง 15% ต่อเดือน
  • แต่ที่แตกต่างคือนายจ้าง (รัฐบาล) จะสมทบเงินออมให้ไม่เกิน 3% เท่านั้น
  • มีการสมทบเงินในส่วน เงินชดเชย” โดยข้าราชการจะได้รับเงินชดเชยก็ต่อเมื่อตอนเกษียณแล้วเลือกรับเงินบำนาญเท่านั้น

กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

  • สำหรับบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนเอกชน
  • ลูกจ้างหักสะสมจากเงินเดือน 3%
  • โรงเรียนในฐานะนายจ้างสมทบเงินให้อีก 3%
  • รัฐช่วยสมทบให้อีก 6%

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

  • เป็นอันเดียวที่ใช้ความสมัครใจ ไม่บังคับออม
  • เป็นระบบการออมเพื่อการเกษียณที่ออกแบบมาเพื่อ Freelance และผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนข้างต้นโดยเฉพาะ 
  • ออมได้สูงสุด 13,200 บาทต่อปี
  • นอกจากลดหย่อนภาษีได้ เมื่อออมแล้วก็จะมีรัฐบาลสมทบเงินให้ด้วย โดยจะกำหนดวงเงินสมทบตามช่วงอายุของผู้ออม เช่น ถ้าอายุระหว่าง 15 – 30 ปี รัฐจะสมทบเงินออมให้ 50% แต่จะไม่เกิน 600 บาท เป็นต้น
  • ยิ่งอายุมากขึ้น รัฐก็จะสมทบให้มากขึ้นไปอีก
  • ถ้าออมครบตามเงื่อนไข ก็จะได้รับบำนาญตลอดชีพด้วย

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับกลุ่ม “ร่วมด้วยช่วยออม” 

  • เป็นการออมเพื่อการเกษียณที่ได้ประโยชน์หลายเด้ง ได้วินัยการออม ได้เงินออมเพิ่มจากนายจ้างหรือภาครัฐ แล้วยังลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย 
  • อย่างไรก็ตาม ในแต่ละช่วงเวลา ผู้ออมจะได้รับเงินสมทบจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้น
  • อย่างเช่นพนักงานประจำที่ได้สะสมเงินใน Provident fund และกองทุนประกันสังคมอยู่แล้ว ก็จะไปออมเงินใน กอช. เพื่อให้ได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลด้วยอีกไม่ได้

กลุ่มที่สอง ออมเองได้ โตแล้ว”: ไม่มีหน่วยงานใด ๆ สมทบเงินออมเพิ่มให้

SSF

  • เป็นกองทุนรวมลดหย่อนภาษีชนิดหนึ่ง ที่อาจมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย
  • ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองที่สนใจได้อย่างอิสระ
  • เงื่อนไขสำคัญของการลงทุนใน SSF คือซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ต่อปี หรือไม่เกิน 200,000 และต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 10 ปี
  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สรุปเงื่อนไข “SSF” พร้อมกองทุนแนะนำ I TAX เพื่อนๆ EP2

RMF

  • เป็นกองทุนรวมลดหย่อนภาษีลักษณะเดียวกับ SSF
  • แต่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันอย่างการซื้อได้ไม่เกิน 30ของเงินได้ต่อปี หรือไม่เกิน 500,000
  • และเมื่อซื้อแล้วจะต้องซื้อต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ปี และจนกว่าจะอายุ 55 ปี
  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “RMF” คืออะไร? ทบทวนเงื่อนไขพร้อมกองทุนแนะนำ I TAX เพื่อนๆ EP3

ประกันบำนาญ

  • เป็นประกันชีวิตที่มีคุณสมบัติการันตีกระแสเงินสดช่วงหลังเกษียณตั้งแต่อายุ 55 ปีเป็นต้นไป
  • เงื่อนไขสำคัญคือจะต้องจ่ายเบี้ยประกันต่อเนื่อง โดยที่จะไม่ได้รับเงินคืนในระหว่างทางก่อนเริ่มรับบำนาญ
  • จะซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้ไม่เกน 15% และไม่เกิน 200,000 บาท

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับกลุ่ม “ออมเองได้ โตแล้ว”

  • SSF และ RMF ถ้าซื้อเกินจะมีความผิด
  • ส่วนประกันบำนาญซื้อเกินได้ ไม่ผิด เพียงแต่จะเอามาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินที่กฎหมายกำหนด

เมื่อพิจารณารายตัว สิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณจะมีเพดานขั้นสูงในการซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีเป็นของตัวเอง แต่เมื่อรวมกันทั้งกลุ่ม “ร่วมด้วยช่วยออม” และ “ออมเองได้ โตแล้ว ก็จะมีอีกเพดานที่แชร์รวมกันอยู่คือไม่เกิน 500,000 เป็นเพดานขั้นสูงสุดอีกชั้นนึง

แนวทางการตัดสินใจวางแผนภาษีด้วยสิทธิลดหย่อนภาษี

  • แนะนำให้เริ่มจากการลองคำนวณเป้าหมายเงินเกษียณของตัวเองดูก่อน โดยในปัจจุบันก็มีเว็บไซต์หรือแอปฯ ที่บริการการคำนวณเงินเกษียณเยอะแยะมากมาย ตัวอย่างเช่น แอปฯ Start-to-Invest.com โดย กลต.
  • เมื่อคำนวณแล้วว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่กว่าจะบรรลุเป้าหมาย ก็ลองสังเกตความสามารถในการรับความเสี่ยงการลงทุนของตัวเองดู
  • ถ้ารับความเสี่ยงได้น้อย ก็เน้นเก็บออมด้วยสินค้าการเงินที่ความเสี่ยงต่ำลงหน่อย เช่น ประกันบำนาญ, SSF หรือ RMF ที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้
  • หรือถ้ารับความเสี่ยงการลงทุนได้มากก็เน้นสินค้าการเงินที่ความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น SSF หรือ RMF ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น 
  • อย่าลืมพิจารณาระยะเวลาก่อนจะถึงวันเกษียณด้วย เมื่อวันเกษียณใกล้เข้ามาเต็มที อย่าลืมพิจารณาการปรับพอร์ตการลงทุนให้มีความเสี่ยงต่ำลงมา เพื่อให้มั่นใจว่าเงินที่เก็บไว้จะนำมาใช้ในวันเกษียณได้เพียงพอ

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ.
คลิก https://finno.me/open-plan

TSF2024