อะไรเอ่ย ทำแล้วได้บุญ แล้วยังได้ลดหย่อนภาษีแบบคูณ 2? สิ่งนั้นก็คือสิทธิลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาค แต่ก็ไม่ใช่ว่าบริจาคที่ไหนก็ได้ลดหย่อน เท่าเหมือนกันทั้งหมด เดี๋ยววันนี้เรามาพูดคุยกันว่า บริจาคที่ไหน ลดหย่อนภาษีได้ เท่ากันบ้าง

เงื่อนไขการลดหย่อน 2 เท่าจากการบริจาค

  • สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มบริจาค
  • การบริจาคบางรายการเท่านั้นที่ได้รับลดหย่อนภาษี เท่า ในขณะที่บางการบริจาคก็จะได้รับลดหย่อนเท่าที่ได้บริจาคจริงตามปกติ

สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ. คลิก https://finno.me/open-plan

บริจาคที่ไหน ได้ลดหย่อนภาษี 2 เท่าบ้าง?

บริจาคอะไร ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า ! I TAX เพื่อนๆ EP8

  • สถานศึกษา: ไม่ว่าเป็นโรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษา โดยจะต้องเป็นการบริจาคเพื่อใช้จ่ายสำหรับอาคารสถานที่ สื่อการเรียนการสอน และบุคลากร โดยจะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น ไม่อย่างนั้นจะลดหย่อนได้แค่เท่าเดียว 
  • สถานพยาบาลของรัฐ: โดยทั่วไป ถ้าเป็นการบริจาคให้ โรงพยาบาล โดยตรง กรณีนี้จะลดหย่อนภาษีได้ เท่า แต่ถ้าเป็นการบริจาคให้ มูลนิธิโรงพยาบาล” กรณีนี้จะลดหย่อนภาษีได้เท่าเดียว แนะนำให้เช็กจากใบเสร็จที่ได้จะชัวร์สุด
  • หน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย / กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง / องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก / สถานพักฟื้น บำบัด และฟื้นฟูเด็ก / กองทุนยุติธรรม / เงินบริจาคเพื่อคนพิการเพื่อการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ แล้วก็สภากาชาด ที่จะลดหย่อน เท่าได้ ต่อเมื่อบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น
  • การจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน: สามารถบริจาคให้ทั้งโรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หอสมุด ห้องสมุด หรือแหล่งหนังสืออื่น ๆ ที่ให้บริการแก่ประชาชน ไปจนถึงห้องสมุดของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่าง ๆ ด้วย

การบริจาคให้แต่ละหน่วยงาน ในแต่ละปี อาจจะลดหย่อนภาษีได้ไม่เท่ากัน

  • อย่างการบริจาคให้สถานศึกษา หลายปีก่อนหน้านี้ก็บริจาคแล้วลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต่อมาก็มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้นำมาลดหย่อนภาษีได้ เท่าไปจนถึงสิ้นปี 2564 ซึ่งก็อาจมีการขยายอายุออกไปอีกก็ได้
  • แนะนำว่า ในแต่ละปีถ้าอยากจะเช็กว่าบริจาคที่ไหนลดหย่อนได้ เท่าบ้าง แนะนำให้เข้าไปตรวจสอบรายชื่อองค์กรรับบริจาคที่เว็บไซต์สรรพากร www.rd.go.th จะชัวร์ที่สุด

การบริจาคที่ลดหย่อนได้ 2 เท่า อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่เราบริจาคเงินให้อย่างเดียว แต่อยู่ที่วิธีการด้วย

  • อย่างเช่น การบริจาคให้สถานศึกษา และสภากาชาด จะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น ถ้าบริจาคด้วยวิธีการปกติ ก็จะลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริงเท่านั้น เป็นต้น

แล้ว e-Donation คืออะไร?

  • e-Donation เป็นระบบบริจาคเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่สรรพากรใช้รองรับข้อมูลการรับบริจาคของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกผู้บริจาคให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้โดยไม่ต้องเก็บหลักฐานการบริจาคอีกต่อไป และทำให้ได้รับเงินคืนภาษีเร็วขึ้นอีกด้วย
  • เราสามารถเช็กรายชื่อหน่วยงานทีรับบริจาคผ่าน e-Donation ได้ ผ่านทางเว็บไซต์ edonation.rd.go.th  

หลักฐานที่ต้องเก็บ ในกรณีบริจาคด้วยวิธีการทั่วไป

  • ใบอนุโมทนาบัตร หรือใบเสร็จรับเงิน ที่มีข้อความระบุชื่อหน่วยงานที่บริจาคเงินให้ วันเดือนปีที่บริจาค ชื่อผู้บริจาค และจำนวนเงินที่บริจาค

วิธีการคำนวณภาษีจากการลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

บริจาคอะไร ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า ! I TAX เพื่อนๆ EP8

  • การคำนวณภาษีจะเริ่มจากการนำเงินได้พึงประเมินทั้งปี มาหักค่าใช้จ่าย แล้วหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคออกก่อน เรียบร้อยแล้วถ้ามีค่าลดหย่อนเงินบริจาค ซึ่งก็ต้องแยกเป็น กลุ่ม คือกลุ่มที่บริจาคแล้วลดหย่อนได้ เท่า และกลุ่มที่ลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริง โดยจะต้องเริ่มคำนวณจากกลุ่มที่ลดหย่อนได้ เท่าก่อน
  • ตัวอย่าง สมมติมีเงินเดือน ล้านบาท ค่าลดหย่อนสมมติว่ามีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท กับค่าบริจาคให้โรงพยาบาลที่ลดหย่อนได้ เท่าอีก 10,000 บาท แล้วก็บริจาคให้วัดลดหย่อนได้ตามจริงอีก 10,000 บาท
  • เริ่มต้นคือ นำเงินเดือน ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 หักค่าใช้จ่าย 50% ไม่เกิน 100,000 เหลือ 900,000 บาท
  • หักค่าลดหย่อนอื่นที่ไม่ใช่ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ในที่นี้ก็คือค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 เหลือ 840,000
  • จาก 840,000 ให้ลองคูณ 10% แล้วตั้งพักไว้ก่อน ก็จะได้ 84,000 เป็นเพดานการลดหย่อนด้วยเงินบริจาค เท่า อย่างถ้าเราบริจาคให้โรงพยาบาล 10,000 จะนำมาลดหย่อนได้ 20,000 ซึ่งไม่เกินเพดาน 84,000 แปลว่าหักลดหย่อนได้ทั้ง 20,000 เหลือ 820,000
  • ทีนี้เอา 820,000 คูณ 10% อีกที จะได้เพดานการลดหย่อนด้วยเงินบริจาคทั่วไปที่ลดหย่อนได้ตามจริงก็คือ 82,000 อย่างถ้าเราบริจาคให้วัด 10,000 ซึ่งไม่เกินเพดาน 82,000 อยู่แล้ว ก็แปลว่าลดหย่อนได้ทั้ง 10,000 เหลือ 810,000 
  • 810,000 ก็จะเป็นจำนวนสุดท้ายก่อนนำไปคำนวณค่าภาษตามอัตราภาษีขั้นบันไดต่อไปนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

เปิดบัญชีกองทุนประหยัดภาษี SSF RMF กับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีมากกว่า 10 บลจ. คลิก https://finno.me/open-plan

TSF2024