FINNOMENA LIVE ตอน “Winners and Losers amid Rising Inflation”
Cost-push inflation
- คู่กันกับ Demand-pull เป็นอีก 2 ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนอัตราเงินเฟ้อ
- Cost-push = อัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการขายที่ลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
- Demand-pull = อัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้น
Core PCE
- ดัชนีวัดค่าการเปลี่ยนแปลงราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (อัตราเงินเฟ้อ)
- ซึ่งถ้ามีคำว่า Core = พื้นฐาน = ไม่รวมถึงสินค้าประเภทอาหารและพลังงานซึ่งมีความผันผวนสูง
- PCE: ผPersonal Consumption Expenditure (ดัชนีการบริโภคส่วนบุคคล) ส่วน CPI คือ Consumer Price Index (ดัชนีราคาผู้บริโภค)
- PCE เก็บข้อมูลจากยอดค้าปลึกภาคุธุรกิจ ส่วน CPI เก็บข้อมูลจากผู้บริโภค
- PCE รู้ว่าผู้บริโภคใช้จ่ายกับอะไรเท่าไหร่ ทั้งผู้บริโภคที่เป็นบุคคลทั่วไปและที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ใช้จ่ายแทนบุคคลทั่วไป ส่วน CPI รู้แค่มุมของผู้บริโภคที่เป็นบุคคลทั่วไปว่าใช้จ่ายเงินไปกับอะไรเท่าไหร่เท่านั้น
- ธนาคารกลาง เช่น FED ให้ความสำคัญกับ PCE มากกว่า CPI เพราะครอบคลุมกว่า
Break-even inflation
- คือการหักลบกันระหว่างอัตราผลตอบแทนตามระบุบนตราสาร (Nominal yield) และอัตราผลตอบแทนแท้จริง หรือผลตอบแทนชดเชยเงินเฟ้อแล้ว (Real yield)
- ถูกนำมาใช้ในการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอนาคตว่าจะอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งโดยเฉลี่ยมักจะใกล้เคียงกับ Break-even
Russell 1000
- ดัชนีราคาหุ้นบริษัท 1000 ลำดับแรกที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์อเมริกา จัดทำโดย FTSE Russell
- นับเป็น 92% ของมูลค่าตลาดทั้งหมดของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา
- ปัจจุบันนักลงทุนหลายท่านมองว่าเป็นดัชนีที่สะท้อนตลาดหุ้นอเมริกาได้ดีกว่าดัชนี S&P500 เพราะ S&P500 ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับหุ้นบริษัทใหญ่ไม่กี่ตัวเท่านั้น (FANGMAN คิดเป็น 50% ของ NASDAQ และ 25% ของ S&P500) ในขณะที่การใช้ดัชนี Russell จะทำให้มองเห็นภาพรวมของตลาดได้กว้างกว่า
Niche product
- สินค้าเฉพาะกลุ่ม โดยอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของผู้ผลิต เช่น สินค้าสำหรับผู้สูงอายุ กรรไกรสำหรับคนถนัดซ้าย แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟัน
- เมื่อสินค้าเจาะจงตลาดกลุ่มเล็กมาก ราคาจึงมักสูง
Stoxx600 / IBOVESPA Index / Kospi Index / Nifty 50
- STOXX600 หรือ STOXX Europe 600 ดัชนีตลาดหุ้นยุโรป ที่ประกอบด้วยหุ้นที่นำมาคำนวณองค์ประกอบของดัชนี 600 ตัว ครอบคลุมตั้งบริษัทขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จาก 17 ประเทศทั่วยุโรป
- IBOVESPA ดัชนีตลาดหลักทรัพย์บราซิล หรือ Sao Paulo Stock Exchange เป็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ออริจินอลของบราซิล
- KOSPI ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เกาหลี
- Nifty 50 ดัชนีหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ 50 บริษัทจากตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก NYSE
REITs
- Real Estate Investment Trust = ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะเป็นกองทรัพย์สิน มีผู้จัดการกองทรัสต์ (REIT manager) เป็นผู้บริหารการลงทุนให้
- สภาพคล่องมากกว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ลงทุนในอสังหาได้หลากหลายประเทศ รวมถึงอสังหาฯ ต่างประเทศ กู้ยืมเงินลงทุน พัฒนาอสังหาฯ ได้
- REIT ไม่ใช่กองทุนรวมอสังหาฯ (Property fund)
- Property fund มีข้อจำกัดมากกว่า เช่น ลงทุนอสังหาฯ ต่างประเทศไม่ได้ กู้ยืมมาลงทุนได้แค่ไม่เกิน 10% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ขณะที่ REIT กู้มาลงทุนได้ 35-60%