The Opportunity – ได้เวลา! Tactical Call หุ้นจีน A shares” (29 มี.ค. 2021) ครั้งสุดท้ายของไตรมาส 1

Bear Market

  • ช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตรงกันข้ามกับ Bull Market ที่หมายถึงช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น นึกภาพกระทิงขวิดขึ้น หมีตะปบลง
  • อาจต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือเป็นหลายปีเลยก็ได้ 
  • อีกความหมายนึงคือช่วงที่นักลงทุนต่างก็ Risk-Averse ไม่ Risk-Seeking 
  • มักสอดคล้องกันกับสภาวะเศรษฐกิจขาลง 
  • สัญญาณตลาดหมี เช่น อัตราการจ้างงาน รายได้ส่วนบุคคล ประสิทธิภาพ/กำไรกิจการลดลง กิจกรรมของรัฐก็เป็นส่วนหนึ่งได้ เช่น การปรับเพิ่มอัตราภาษี

MSCI Index / ใช้ในการสังเกต Global Equity Style Performance 

  • MSCI Index คือดัชนีอ้างอิงจัดทำโดยบริษัท Morgan Stanley Capital International ซึ่งเป็นบริษัทจัดทำดัชนีราคาสินทรัพย์ลงทุนชั้นนำของโลก เพื่อให้นักลงทุนสามารใช้ดัชนีเหล่านี้เป็นเกณฑ์มาตรฐานให้กับนักลงทุนทั่วโลกในการตัดสินใจลงทุน 
  • ดัชนีจัดทำละเอียดมาก โดยแบ่งตามประเภทสินทรัพย์ เช่น
    • หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาฯ
    • แบ่งตามภูมิภาคหรือประเทศที่ออกสินทรัพย์ลงทุนนั้น เช่น Developed / Emerging Market
    • แบ่งตามขนาดของกิจการเช่น Large / Small Cap
  • MSCI World Index: ดัชนีที่มีองค์ประกอบเป็นหุ้นของบริษัทขนาดกลางและใหญ่จาก 23 ประเทศพัฒนาแล้ว ครอบคลุ่ม 85% ของมูลค่าตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับด้วยปริมาณการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย เพื่อให้ดัชนีสามารถสะท้อนสภาพการณ์ของตลาดได้ดี 
  • MSCI World Growth Index เน้นหุ้นเติบโต / MSCI World Value Index เน้นหุ้นมูลค่า 
  • MSCI World Large Cap / MSCI World Small Cap เน้นขนาดกิจการ 
  • MSCI World Quality Net$: กลุ่มหุ้นเติบโตคุณภาพดี พิจารณาจาก ปัจจัยหลัก นั่นคือ กำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูง อัตราการเติบโตของกำไรเทียบปีต่อปีสูง โครงสร้างเงินทุนมีสัดส่วนของหนี้สินต่ำ 
  • MSCI World Momentum Net$: กลุ่มหุ้นที่มีอัตราเร่งของราคาสูง มีการซื้อขายหนาแน่น 
  • MSCI Emerging Market กลุ่มหุ้นตลาดเกิดใหม่ 

USD vs THB เงินอ่อน-แข็งมีผลยังไงกับกองทุน 

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ เช่น หากเราขายหน่วยลงทุนไปในวันที่บาทมีค่าแข็งขึ้น เราจะได้เงิน (บาท) น้อยลง แต่ถ้าในวันดังกล่าวเงินบาทมีค่าอ่อนลง นั่นคือเราได้เงินกลับมามากกว่า 
  • การป้องกันความเสี่ยง (Hedge) มีประโยชน์หากค่าเงินบาทจะแข็ง ตรงกันข้ามหากวันนั้นเงินบาทอ่อนค่าลง เราก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสี่ยงไปฟรี ๆ 
  • ปัจจุบัน FIF มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงนี้ รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 ป้องกันความเสี่ยงเกือบทั้งจำนวน (Fully Hedge) / แบบที่ 2 ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน เช่น 50% ของเงินลงทุน ส่วน 50% ที่เหลือให้เป็นดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และ แบบที่ 3 เป็นดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งอาจจะป้องกันหรือไม่ป้องกันก็ได้ 

Hedge Funds เปิด Long เงินดอลล่าร์มากขึ้น 

  • Hedge Fund คือ กองทุนทางเลือกที่มีกลยุทธ์การลงทุนซับซ้อน เนื่องจากมีข้อจำกัดในการลงทุนน้อย ถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์ต่าง ๆ น้อยกว่ากองทุนรวมทั่ว ๆ ไป (Mutual Fund) 
  • มักใช้เทคนิคการลงทุนที่นักลงทุนทั่วไปเข้าถึงได้ยาก เช่น การใช้ตราสารอนุพันธ์/สัญญาซื้อขายล่วงหน้า การลงทุนโดยใช้เงินกู้ (Leverage)
  • หมายเหตุ: Hedged fund ไม่เท่ากับ Hedge fund 

Bullish Divergence / บน RSI เทียบกับราคา / MACD 

  • ตรงกันข้ามกับ Bearish Divergence โดย Divergence แปลว่าความขัดแย้ง ในที่นี้คือความขัดแย้งระหว่างกราฟราคาและ Indicators 
  • Bullish Divergence จึงหมายถึงสัญญาณที่เกิดขึ้นเมื่อตลาดหลักทรัพย์อยู่ในขาลง แล้วจู่ ๆ ดันมีโอกาสเข้าสู่ทิศทางกลับตัวเป็นขาขึ้น 
  • วิธีการสังเกต คือดูเปรียบเทียบทิศทางของดัชนี เทียบกับเครื่องมือชี้วัดทางเทคนิค (Indicators) ซึ่งในที่นี้คือ RSI และ MACD 
  • โดยเมื่อเห็นราคาลงมาทำจุดต่ำสุดใหม่ แต่ตัวบ่งชี้ไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่ตาม กลับดีดขึ้นเหนือจุดต่ำสุดก่อนหน้าได้ มีโอกาสสูงที่จะเกิด Bullish Divergence = โอกาสสูงที่ราคาหลักทรัพย์จะกลับตัวเป็นขาขึ้น
  • ส่วน RSI (Relative Strength Index) คืออะไร: เป็นเครื่องมือชี้วัดทางเทคนิคตัวนึง ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคาว่ามีภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ การขายมากเกินไป (Oversold) โดยมีค่าตั้งแต่ 0-100  
  • โดยค่ามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปนั้นจะอยู่ที่ 30 และ 70 โดยหาก RSI อยู่ในระดับที่ตํ่ากว่า 30 จะถือว่าราคาอยู่ในภาวะ “ขายมากเกินไป” (Oversold) อาจเป็นสัญญาณให้นักลงทุน “ซื้อ” และหากมากกว่า 70 จะถือว่าราคาอยู่ในภาวะ “ซื้อมากเกินไป” (Overbought) อาจเป็นสัญญาณให้นักลงทุน “ขาย” นั่นเอง 
  • ส่วน MACD (Moving Average Convergence Divergence) อีกเครื่องมือชี้วัดทางเทคนิคมีที่มาจากการเทียบเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) 2 เส้น ในที่นี้จะเป็นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Exponential โดยให้ควมสำคัญกับวันสุดท้ายมากกว่าวันแรก เรียกย่อว่า EMA โดยทั่วไปมักเทียบที่ระยะ 12 วัน และ 26 วัน ตัดกันที่เส้น 9 วัน แล้ววิเคราะห์ลักษณะของเส้นที่เกิดขึ้น
TSF2024