FINNOMENA x Franklin Templeton ตอน “เปิดมุมมองหุ้นโลก หลังวิกฤตโควิด-19” ประจำวันที่ 16 มี.ค. 64
Fixed Income
- หมายถึงประเภทการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นกระแสเงินสดหรือดอกเบี้ยเป็นรายงวด จนถึงวันที่ตราสารนั้นครบอายุ ผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นหรือมูลค่าที่ระบุไว้หน้าตราสารนั้นคืน
- หลายคนอาจเคยได้ยินศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Bond ซึ่งแปลว่าตราสารหนี้ ก็คือสินทรัพย์ที่เป็นการลงทุนแนวนี้
- ตัวอย่างตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล จะหมายถึงตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล หุ้นกู้ จะหมายถึงตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน
- การออกตราสารหนี้เป็นวิธีนึงในการระดมทุนสำหรับภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่อาจมีต้นทุนต่ำกว่าการกู้ธนาคาร แต่ก็อาจมีภาระในการต้องจ่ายดอกเบี้ยที่ได้การันตีเอาไว้ล่วงหน้าให้กับผู้ถือตราสารหนี้ ไม่อย่างนั้นก็อาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือขององค์กรในการออกตราสารหนี้ครั้งต่อไป
- ส่วนฝั่งของผู้ลงทุนตราสารหนี้ ก็จะมีโอกาสได้รับดอกเบี้ยตามที่การันตีเอาไว้ พร้อมได้เงินต้นคืนเมื่อตราสารหนี้นั้นครบอายุ นับว่ามีความเสี่ยงจากความผันผวนของผลตอบแทนที่น้อยกว่าการลงทุนในหุ้น แต่ก็คาดหวังผลตอบแทนการลงทุนได้น้อยกว่าการลงทุนในหุ้นเช่นกัน
- กองทุนตราสารหนี้ จะหมายถึงกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก สังเกตได้จากชื่อของกองทุน ถ้ามีคำว่า “Fixed”, “Income” หรือ “Bond” มักจะหมายถึงกองทุนรวมตราสารหนี้
Value vs Tech
- หุ้น Value หมายถึง หุ้นที่มีมูลค่าสูงกว่าราคา หรือ “หุ้นราคาถูก” มักจ่ายปันผลสูง เติบโตช้าแต่ยั่งยืน
- หุ้น Growth หมายถึง “หุ้นโตไว” “หุ้นซิ่ง” ส่วนราคาจะถูกจะแพงขอแรงไว้ก่อน มักเป็นหุ้นกิจการที่มีสัญญาณการขยายตัวของสินทรัพย์หรือรายได้ และมักไม่จ่ายปันผล เพราะจะนำกำไรไปลงทุนขยายธุรกิจต่อไป
- ตัวอย่างกลุ่มหุ้น Value เช่น หุ้น Healthcare อย่าง Johnson & Johnson
- ตัวอย่าง Growth เช่น Technology อย่าง Tesla
Emerging Market (EM)
- “ตลาดเกิดใหม่” หรือตลาดกำลังพัฒนา ตรงกันข้ามกันกับ Developed market (DM) หรือตลาดพัฒนาแล้ว
- แบ่ง EM และ DM จาก 1. รายได้ประชากรเฉลี่ยต่อหัว เส้นแบ่งคือรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำกว่า $3,995/ ปีลงไปไป จะถือว่าเป็น EM
- EM มักมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่า DM อย่างปี 2019 DM อย่างอเมริกา ญี่ปุ่น เศรษฐกิจเติบโตประมาณไม่ถึง 3% ส่วน EM อย่างจีน เวียดนาม เติบโต 6-7%
- EM ที่ถูกพูดถึงเป็นหลัก คือ จีนและอินเดีย 2 ประเทศรวมกันจะได้แรงงาน 35% ของประชากรทั้งโลก
- อย่างไรก็ตามมักมีความเสี่ยงเกี่ยวกับประสิทธิภาพของตลาดทุน ความไม่มั่นคงทางการเมือง ปัญหาคอรัปชั่น ความผันผวนของค่าเงิน เป็นต้น
High Yield Bond / Emerging Bond
- หรืออีกชื่อคือ Junk bond หมายถึงตราสารหนี้ที่กำหนดจ่ายดอกเบี้ยสูงกว่าตราสารหนี้ทั่วไป เนื่องจากบริษัทผู้ออกตราสารมีความน่าเชื่อคือ หรือ Credit rating ที่ต่ำ ซึ่งหมายความว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะไม่จ่ายดอกเบี้ยตามเวลากำหนด
- สังเกตได้ว่าในฝั่งตราสารหนี้ ความเสี่ยงที่สำคัญคือความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ดังนั้นถ้าผู้ออกตราสารหนี้มีความน่าเชื่อถือต่ำ ก็มักออกตราสารหนี้ที่ให้ดอกเบี้ยสูง เพื่อชดเชยให้ผู้ลงทุนรู้สึกว่าคุ้มค่าความเสี่ยง
- สถาบันที่จัดอันดับความน่าเชื่อถือผู้ออกตราสาร ที่ได้รับการยอมรับระดับโลกได้แก่ Moody’s และ S&P ที่ย่อมาจาก Standard & Poors ส่วนในไทยคือสถาบัน TRIS และ Fitch
- อันดับเครดิตจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ Investment grade (กลุ่มน่าลงทุน) ไล่มาตั้งแต่ AAA ถึง BBB- และ Speculative grade (กลุ่มเก็งกำไร) คือ BB+ ลงมาถึง D
- การจัดอันดับอาจประเมินจากข้อมูลการเงิน แนวโน้มอุตสาหกรรม การค้ำประกัน เป็นต้น และเมื่อจัดอันดับแล้วก็ยังเปลี่ยนแปลง (downgrade / upgrade) ได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
- ข้อสังเกตอีกข้อคือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล จะถูกจัดอันดับอยู่ในเกรด AAA เสมอ เพราะนับว่ามีความน่าเชื่อถือสูงสุดในบรรดาผู้ออกตราสารหนี้ทั้งหมด
- EM Bond หมายถึงตราสารหนี้ที่ออกในประเทศกำลังพัฒนา กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเครดิตเรตติ้งและผลตอบแทนที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับพันธบัตรสหรัฐ ความเสี่ยงก็สูงด้วยเช่นกัน อาจใช้เป็นอีกทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนได้
Sectors
- หมายถึง “กลุ่มอุตสาหกรรม”
- ตามที่ยกมาแบ่งเป็น 11 sectors ได้แก่
- 1. Information tech (Semiconductors / Software / Hardware) เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร เช่น Apple
- 2. Communication services (Telecommunication services / Media & entertainment) เช่น Netflix
- 3. Healthcare สินค้าและบริการเกี่ยวกับการแพทย์และยา เช่น Pfizer
- 4. Consumer discretionary สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น Tesla
- 5. Consumer staples สินค้าจำเป็น อย่างเสื้อผ้า อาหาร สบู่ ยาสีฟัน เข่น Nestlé
- 6. Financials เช่น บริษัทวาณิชธนกิจ Goldman Sachs
- 7. Industrials กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุอุตสาหกรรม สิ่งก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องจักร ระบบขนส่ง
- 8. Materials ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา พัฒนา และแปรรูปวัตถุดิบ เช่น สารเคมี พลาสติก เหล็ก แร่ธาตุ เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่อไป
- 9. Utilities ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค
- 10. Real estate ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์
- 11. Energy ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน