“The UpTrend” [Q&A] ตอน “ตอบคำถามคาใจนักลงทุนกองทุนรวม ตอนที่ 6” ประจำวันที่ 10 มี.ค. 64
Sector Rotation
- เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การลงทุน ที่ใช้หลักการ Top-down มองจากภาพใหญ่ก่อน คือสภาวะเศรษฐกิจ และค่อยเจาะลงมาที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ในสภาวะเศรษฐกิจนั้น แล้วค่อยเลือกตัวหุ้นที่จะลงทุนเป็นลำดับถัดไป
- โดยที่สภาวะเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักร ขยายตัว –> รุ่งเรือง –> ถดถอย –> ตกต่ำ ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ในแต่ละช่วงของวัฏจักรเศรษฐกิจก็แตกต่างกัน อย่างช่วงขยายตัวกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์ก็อย่างเช่น กลุ่มการเงิน เพราะคนเริ่มกู้เงินเอาเงินมาลงทุนในกิจการ ช่วงถดถอย กลุ่มอุตสาหกรรมที่โดดเด่นกว่ากลุ่มอื่นก็อย่างเช่น กลุ่มสินค้าจำเป็น กลุ่มสาธารณูปโภค เพราะถึงเศรษฐกิจจะแย่ แต่คนยังจำเป็นต้องกินต้องใช้ เป็นต้น
- นักลงทุนก็อาจจะใช้กลยุทธ์ sector rotation โดยการเพิ่มสัดส่วนหุ้นที่น่าจะให้ผลตอบแทนดี หรือลดสัดส่วนหุ้นที่น่าจะให้ผลตอบแทนน้อยลง ตามที่เหมาะสมกับวงจรเศรษฐกิจขณะนั้น
DCF
- DCF หรือ Discounted cash flow หรือการคิดลดกระแสเงินสด เป็นวิธีการประเมินความถูกแพงของกิจการ จากมุมมองที่ว่ามูลค่าแท้จริงของกิจการ ก็คือมูลค่าของกระแสเงินสดที่จะทำได้ในอนาคตคิดลดมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน
- เพื่อให้เข้าซื้อในราคาถูก และขายออกในราคาแพง เราควรหาให้ได้ว่าแล้วมูลค่าที่แท้จริงคือเท่าไหร่ อย่างถ้าเรามองออกว่ามูลค่าของสิ่งที่เรากำลังจะซื้อ ประเมินออกมาแล้วเป็น 5 บาท แต่ราคาปัจจุบันของมันอยู่ที่ 4 บาท แบบนี้เราคงจะรีบซื้อทันที เพราะเห็นชัด ๆ ว่าราคากำลังถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าแท้จริงที่จะได้
- ซึ่งถ้าจะให้เข้าใจประเด็นมูลค่าปัจจุบัน/อนาคตนี้ได้ เราอาจจะต้องเข้าใจหลัก Time value of money ก่อน นั่นก็คือเงินจำนวนเท่ากัน จากระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน จะมีมูลค่าไม่เท่ากัน เช่น ได้เงิน 100 บาทวันนี้ กับได้เงิน 100 บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า มูลค่าปัจจุบันของ 100 บาทแรกจะมากกว่า 100 บาทหลัง เพราะสำหรับ 100 บาทที่ได้ทีหลัง ถึงจะดูเหมือนได้เป็นจำนวนที่เท่ากันก็จริง แต่เราได้เสียโอกาสในการนำเงิน 100 บาทที่ควรจะได้ตั้งแต่แรกไปสร้างประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนั่นเอง
- สรุปคร่าว ๆ ก็คือ การประเมินมูลค่ากิจการด้วย DCF เป็นวิธีการประเมินที่มีมุมมองว่าบริษัทจะมีมูลค่าสูงต่อเมื่อมีศักยภาพที่จะสร้างกระแสเงินสดจำนวนมากและเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยิ่งเติบโตต่อเนื่องมากเท่าไหร่มูลค่าก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
- อ่านเพิ่มเติม ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย DCF: เขาทำกันอย่างไร?
Megatrend / Thematic
- Thematic หรือ Thematic investment เป็นแนวทางการลงทุนที่เน้นลงทุนในกระแสหรือแนวโน้มใดแนวโน้มหนึ่ง แล้วจึงเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีความเกี่ยวข้องและล้อไปกับ theme การลงทุนนั้น ๆ ซึ่งจะต่างกับการลงทุนตามกลุ่มอุตสาหกรรมหรือ sector ตรงที่ใน theme นึงอาจประกอบด้วยหุ้นจากหลายอุตสาหกรรมก็ได้ เช่น ESG Thematic Investment ก็อาจประกอบไปด้วยหุ้นสินค้าอุตสาหกรรม หุ้นอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค หุ้นเทคโนโลยี เป็นต้น
- อย่างไรก็ตาม ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่กระจุกตัวในแต่ละอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก และมีความผันผวนมากกว่ากองทุนทั่วไป จึงจัดเป็นรูปแบบการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก จึงไม่เหมาะกับการลงทุนเป็นสัดส่วนใหญ่ของพอร์ต
- Megatrend เป็นหนึ่งใน theme การลงทุนที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน โดย Megatrend จะหมายถึงสิ่งที่สร้างแรงผลักดันระดับเศรษฐศาสตร์มหภาคของโลก ที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ สังคม วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้เลยทีเดียว สิ่งที่เป็น Megatrend ในปัจจุบันก็อย่างเช่น วิถีชีวิตยุคดิจิทัล สังคมสูงวัย และการดำเนินธุรกิจแบบคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคม เช่น สิ่งแวดล้อม
Risk Premium
- ผลตอบแทนที่ชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น เช่น สมมติเราเอาเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งถือว่าไม่มีความเสี่ยงเพราะลูกหนี้คือรัฐบาล น่าเชื่อถือที่สุดแล้ว
- ถ้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลแล้วได้ผลตอบแทน หรือ Bond yield 2% ในขณะที่นำเงินไปลงทุนหุ้น ซึ่งมีความเสี่ยง คาดหวังผลตอบแทนได้ 8%
Risk premium หรือส่วนชดเชยความเสี่ยงที่ว่านี้ก็คือ 8 – 2= 6% ซึ่งถ้านักลงทุนมองว่าส่วนต่างที่ 6% เป็นส่วนต่างที่คุ้มค่ากับความเสี่ยง
เค้าก็ยอมลงทุนหุ้น - แต่สมมติดอกเบี้ยธนาคารปรับเพิ่มขึ้น กลายเป็น 4% Risk premium ก็จะเหลือแค่ 4% นักลงทุนก็อาจมองว่าความเสี่ยงที่ต้องรับมือ ไม่คุ้มกันเมื่อเทียบกับการเอาเงินไปซื้อพันธบัตรแล้วได้ผลตอบแทนที่แน่นอนกว่ากลับมา เค้าก็จะสนใจลงทุนในหุ้นกันน้อยลง
- จริง ๆ แล้วก็คือตัวเดียวกันกับ Earning yield gap นั่นเอง