THE OPPORTUNITY – “เทค จีน ทอง ลงมารับ หรือ ลงมาทับ?” ณ วันที่ 1 มี.ค. 64  

QE  

  • Quantitative Easing คือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ 
  • กระบวนการคือ ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อ “สินทรัพย์ทางการเงิน” ในปริมาณมหาศาล โดยทั่วไปจะเป็นการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ฝากไว้กับธนาคารกลาง มักเป็นสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ชนิดต่าง ๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ของบริษัทใหญ่ ๆ เป็นต้น แต่ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าต้องซื้อเฉพาะตราสารที่มีความปลอดภัยเท่านั้น และในบางกรณีก็เป็นการพิมพ์เงินขึ้นมาใหม่ดื้อ ๆ ได้เลย 
  • เป็นมาตรการที่ทำได้เฉพาะในประเทศใหญ่ ๆ มีความมั่นคงและน่าเชื่อถือของระบบเศรษฐกิจของประเทศสูงเท่านั้น เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น 
  • เมื่อสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวเปลี่ยนสภาพเป็น “เงินสด” ธนาคารเอกชนก็จะมีเงินสดเตรียมไว้ปล่อยสินเชื่อให้นักธุรกิจได้ทันที จึงทำให้มาตร QE มีลักษณะเหมือนการ “อัดฉีด” หรือ “แจกเงินสด” 
  • นอกจากนี้ยังส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดค่อย ๆ ลดต่ำลงตาม ทำให้ธุรกิจเกิดแรงจูงใจที่จะกู้ยืมเงินไปทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น เกิดการสร้างงานตามมา และนำไปสู่การใช้จ่ายของประชาชนในท้ายที่สุด 
  • มาตรการนี้มักถูกเรียกว่าเป็น “ยาแรง” คือช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ แต่มักหลีกเลี่ยงถ้าไม่จำเป็น เพราะส่งผลเสียระยะยาวได้ เช่น เมื่อเงินในระบบมีเยอะจนล้น มูลค่าที่แท้จริงของ Paper money ก็ลดลง อาจกลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงได้ ทวีปัญหาความเหลื่อมล้ำให้รุนแรงขึ้น ฯลฯ

FANGMAN 

  • หมายถึงหุ้นเทคตัวท็อป ตัว ได้แก่ Facebook, Apple, Netflix, Google, Microsoft, Amazon, Nvidia 
  • มูลค่ากิจการรวมกันขนาดใหญ่กว่าครึ่งนึงของตลาด NASDAQ และคิดเป็นประมาณ ¼ มูลค่าตลาด S&P500 
  • นับได้ว่าใหญ่กว่า GDP ของญี่ปุ่น เยอรมนี และอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มี GDP สูงเป็นอันดับที่ 3, 4 และ ของโลกตามลำดับ

Trigger Point  

  • แปลตรงตัวก็คือ “จุดลั่นไก” 
  • ในพจนานุกรมนักลงทุนมักจะหมายถึงจุดที่กำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์ลงทุนที่อยู่ในความสนใจ โดยที่ถ้าปัจจัยที่กำหนดเกิดขึ้นจริง ก็จะทำรายการซื้อหรือขายโดยไม่ต้องลังเล หรือรอปัจจัยสนับสนุนอื่นเพิ่มอีกต่อไป เช่น กำหนดว่าเมื่อดัชนีราคาตลาดหุ้นย่อตัวลง 5% จะนำเงินก้อนที่สะสมไว้เข้าซื้อกองทุนดัชนี เป็นต้น

Fear & Greed Index 

  • เป็นดัชนีที่พัฒนาโดย CNN Money จากสหรัฐ ใช้เป็นเครื่องมือในการบอกอารมณ์ของตลาด ว่าตอนนี้กำลังกลัว (Fear) หรือโลภ (Greed) เพราะต้องยอมรับว่าปัจจัยที่ขับเคลื่อนตลาดการลงทุน ไม่ใช่ด้วยข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยอารมณ์ของนักลงทุน ที่บางครั้งก็ไม่สมเหตุสมผลกับข้อเท็จจริงอยู่ด้วย 
  • ดังนั้นการติดตามอารมณ์ของนักลงทุนหมู่มาก จึงเป็นส่วนนึงที่ช่วยวิเคราะห์ตลาดได้ 
  • ดัชนีถูกคำนวณจากปัจจัย ข้อ ได้แก่ 
    • 1. Stock price momentum คือการเอาราคาของตลาดขณะนั้น เทียบกับราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 125 วัน ถ้ายิ่งมากแปลว่าตลาดกำลังโลภ ยิ่งน้อยแปลว่ากำลังกลัว
    • 2. Stock price strength เอาจำนวนของหุ้นที่สูงกว่าราคา 52-week เทียบกับจำนวนหุ้นที่ลงต่ำกว่า 52-week ถ้าจำนวนของฝั่งที่สูงกว่ามีมากกว่า โลก มีน้อยกว่า = กลัว
    • 3. Stock price breadth เทียบปริมาณการซื้อกับปริมาณการขาย แน่นอนว่ายิ่งซื้อมากกว่าขาย โลภ ขายมากกว่าซื้อ กลัว
    • 4. Put and call options เอาปริมาณการซื้อตราสารเก็งกำไรมาเทียบกัน ถ้าเก็งว่าราคาจะขึ้นเยอะกว่า โลภ เก็งว่าราคาจะลงเยอะกว่า กลัว
    • 5. Junk bond demand เทียบ yield spread หรือความห่างระหว่างผลตอบแทนจากตราสารหนี้เสี่ยงต่ำ กับตราสารหนี้เสี่ยงสูง ถ้า spread ห่าง ก็หมายถึงผู้ออกตราสารหนี้เสี่ยงสูงต้องยอมจ่ายดอกเบี้สูงมาก กว่าคนจะยอมซื้อตราสารหนี้นั้น แปลว่าคนกำลัง “กลัว ที่จะลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง ถ้า spread ไม่ห่าง ก็หมายถึงผู้ออกตราสารหนี้เสี่ยงสูงไม่จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงเท่าไหร่ คนก็ยินดีจะซื้อตราสารหนี้ตัวนั้นแล้ว แปลว่านักลงทุนกำลัง “โลภ”
    • 6. Market volatility ยิ่งผันผวนมากแปลว่ายิ่งกลัวมาก
    • 7. Safe heaven demand ความต้องการวิ่งเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย เทียบผลตอบแทนหุ้นกับตราสารหนี้ ยิ่งน้อยแปลว่าคนเริ่มขายหุ้นออก กลัว
  • ตัวเลขถูกนำมาคำนวณเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก วัดเป็นสเกลตั้งแต่ 0-100 าดัชนีอยู่ที่ระดับ 50 แปลว่ากลาง ๆ ยิ่งน้อยแปลว่า Fear ยิ่งมากแปลว่า Greed 
  • อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ตอนนี้คนกำลังกลัวหรือโลภ? หาคำตอบผ่าน Fear & Greed Index