FINNOMENA LIVE – เตรียมพร้อมหลังตลาดปรับฐาน! “Aiming for the next Shot” ณ วันที่ 4 มี.ค. 64  

A-shares 

  • ชื่อกลุ่มหุ้นในจีน ซึ่งจริง ๆ มีหลายตลาด ที่เป็นที่รู้จักกันจะได้แก่ A-shares และ H-shares 
  • โดยที่ A-shares เป็นตลาดหลักที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่ และในระดับโลกก็เป็นรองแค่ตลาดสหรัฐ เป็นตลาดที่นำหุ้นจากตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ และเสินเจิ้นมาเป็นองค์ประกอบของตลาด เทรดโดยใช้สกุลเงินหยวน 
  • นักลงทุนมักติดตามความเคลื่อนไหว A-shares ได้จากดัชนี CSI300 ประกอบด้วยหุ้น A-shares 300 บริษัท คิดเป็น 60% ของมูลค่าทั้งตลาด 
  • ส่วน H-share เป็นดัชนีที่คำนวณจากหุ้นที่จดทะเบียนบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน ต่ขึ้นทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกง เทรดกันในสกุลฮ่องกงดอลล่าร์ 
  • นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มหุ้นจีนที่เป็น dual listed อีกด้วย หมายถึงขึ้นทะเบียนทั้ง ตลาดเลย จากกรณีนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือหุ้นจากบริษัทเดียวกัน อาจมีราคาหุ้นในจากแต่ละตลาดไม่เท่ากัน ซึ่งก็อาจเกิดจากมุมมอง แล้วก็สภาพคล่องของนักลงทุนที่ต่างกันของสองตลาด

Economies of Scale 

  • “การประหยัดต่อขนาด” หมายถึง ความได้เปรียบจากการที่ธุรกิจสามารถผลิตได้มากขึ้น จนทำให้ต้นทุนการผลิตต่อเฉลี่ยต่อหน่วยถูกลง เมื่อต้นทุนถูกลงส่วนต่างกำไรต่อหน่วยก็เพิ่มขึ้น  
  • จีน เป็นประเทศที่มี Economies of Scale ชัดเจน มีประชากรเยอะ บริโภคกันเองก็เยอะแล้ว ถ้าใครตั้งกิจการ ค้าขายที่นั่นได้ ก็ได้เปรียบ 
  • ที่พูดถึงในคลิปคืออุตสาหกรรม Semiconductors พวกแผงวงจร คิดเป็นประมาณ 10% ของมูลค่าตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากคลิปก็พูดถึงความกดดันจากสงครามการค้าสหรัฐจีน ทำให้ Economies of Scale ในอุตสาหกรรมลดน้อยลง จากเดิมหลายบริษัทอาจให้ความร่วมมือกันทำให้เกิด Economies of Scale แต่ตอนนี้แต่ละบริษัทพยายามพึ่งพาตัวเองกันมากขึ้น 

Bond Yield 

  • Bond = หุ้นกู้, Yield = ผลตอบแทน 
  • นัยเวลาพูดถึง Bond Yield มักเจาะจงถึง 10-year treasury bond yield 
  • ผลตอบแทนพันธบัตรคือดอกเบี้ย (Coupon) ซึ่งถูก fixed ไว้ตั้งแต่ตอนออกตราสาร จะมีความสัมพันธ์แบบผกผันกันกับ “ราคาตลาด” ซึ่งประเมินจากการทำ Mark to market เป็นการคำนวณเพื่อสะท้อนราคาที่เป็นจริงของสินทรัพย์ลงทุนในทุกสิ้นวันทำการ

Tech vs Cyclical 

  • Cyclical stocks = หุ้นที่เคลื่อนไหวล้อสภาวะเศรษฐกิจ เศรษฐกิจแย่ก็แย่ด้วย เศรษฐกิจดีก็ดีด้วย 
  • ตรงกันข้ามกับ Defensive stocks โตสวนทางสภาวะเศรษฐกิจ
  • ตัวอย่าง Cyclical stocks เช่น อสังหา น้ำมัน ธนาคาร สังเกตว่าเกี่ยวข้องกับการบริโภค การกู้ยืมของประชาชน

Earning Yield Gap 

  • เป็นการเทียบส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนของของตลาดหุ้น กับอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้
  • ในมุมมองการจัดประเภทสินทรัพย์ลงทุน Bond yield นับว่าเป็นอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง (Risk-free rate) เพราะลูกหนี้คือรัฐบาล ความน่าเชื่อถือสูงสุด 
  • ถ้า Bond yield ยิ่งสูงขึ้น นักลงทุนจะเริ่มตั้งข้อสังเกตแล้วว่า การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น ยังให้ผลตอบแทนคุ้มค่าความเสี่ยงอยู่มั้ย เพราะถ้าเสี่ยงแล้วได้ผลตอบแทนไม่มากเท่าไหร่ อย่างงี้ไปลงทุนสินทรัพย์ที่ไม่เสี่ยงแล้วได้ผลตอบแทนใกล้เคียงยังดีกว่า 
  • ในคลิปแสดงให้เห็นว่า Earnings yield gap แคบลง เพราะ Bond yield สูงขึ้น ส่วนผลตอบแทนหุ้นลดลง ความน่าสนใจของการลงทุนในตลาดหุ้นช่วงนี้จึงลดลง เป็นที่มาของความผันผวนอย่างหนักของตลาดหุ้นในช่วงนี้ 

Core / Non-Core Inflation 

  • Core inflation = อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 
  • อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน (คือถึงรัฐจะควบคุมยังไง มันก็ไม่มีผลถึงสินค้าหมวดนี้อยู่ดี) จึงเหลือแต่รายการสินค้าที่เคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ผันผวนน้อยกว่า 
  • Non-core ก็คือตรงข้ามกัน หมายถึงดัชนีที่รวมสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงาน 
  • จากคลิปแสดงให้เห็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ทั้ง Core และ Non-core ยิ่งทำให้เห็นความกังวลต่อการลงทุนในตลาดหุ้น 
TSF2024