รับชมบน YouTube: https://youtu.be/hWYSkKIry-I

เมื่อบริษัท JKN Global Group เข้าซื้อกิจการเวทีนางงามระดับโลกอย่าง Miss Universe ก็ทำให้ปัจจุบันมีเวทีนางงามระดับโลกถึง 3 เวทีแล้วที่อยู่ภายใต้การบริหารของคนไทย แต่ความน่าสนใจของธุรกิจเวทีนางงามมีเบื้องลึกเบื้องหลังอย่างไร ติดตามได้ในคลิปนี้

ภาพรวมธุรกิจนางงามที่อยู่ภายใต้การบริหารของคนไทย

  • การเข้าซื้อกิจการองค์กรนางงามจักรวาล หรือ Miss Universe Organization โดยบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ด้วยมูลค่า 800 ล้านบาท คงเปรียบเสมือนฝันที่ไม่กล้าฝันของแฟนนางงามหลายคน
  • เพราะจากเดิมเพียงตั้งความหวังไว้ที่การคว้ามงกุฎ แต่กลับกลายเป็นการได้ปาดเวทีนางงามระดับโลกทั้งเวทีมาอยู่ในมือนักธุรกิจคนไทยไปจนได้
  • นอกจากนี้ยังมีเวทีมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล และมิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน รวมเป็น 3 เวทีนางงามระดับโลกที่อยู่ภายใต้การบริหารของคนไทยในปัจจุบัน

ความเป็นมาของเวทีประกวดนางงาม

  • เวทีประกวดนางงามนับว่าเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นมาอย่างยาวนาน
  • เวทีที่นับว่าประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมมากที่สุดจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “Big 4” แห่งวงการนางงามได้แก่ เวที Miss World ซึ่งนับว่าจัดการประกวดอย่างยาวนานที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เวที Miss Universe เวที Miss International และ Miss Earth
  • แต่ละเวทีจะมีบริบทในการเฟ้นหาสาวงามที่แตกต่างกันออกไป
  • เช่น การเป็นกระบอกเสียงเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • สาวงามผู้ชนะนอกจากจะได้ดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรติเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามเจตจำนงของเวทีประกวดแล้วก็ยังจะได้รับรางวัลมูลค่ามหาศาลอีกมากมาย
  • อย่าง Harnaaz Sandhu (ฮะนาซ ซันดุ) ที่นอกจากจะได้รับตำแหน่ง Miss Universe ปี 2021 ก็ยังได้ครองมงกุฎที่คาดว่ามีมูลค่ามากกว่า 180 ล้านบาทอีกด้วย 

เบื้องหลังของเวทีประกวดนางงาม

  • เบื้องหลังความหรูหราเจิดจรัสของเวทีนางงามคือแผนธุรกิจที่ต้องถูกวางแผนอย่างรอบคอบ
  • จากการเปิดเผยโดยคุณแอน – จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป ทำให้เห็นว่าช่องทางโกยรายได้ของธุรกิจเวทีนางงามอาจมีหลากหลายช่องทาง อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    • 1. รายได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ เช่น Franchise Fee รายได้จากการให้สิทธิแต่ละประเทศจัดประกวดนางงาม, Hosting Fee รายได้จากการอนุญาตให้ประเทศต่าง ๆ เป็นเจ้าภาพจัดการประกวด, Merchandising Fee รายได้จากการให้สิทธิผลิตสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ของเวทีนางงาม และ Broadcast Fee รายได้จากการให้สิทธิถ่ายทอดสดการประกวด
    • รายได้จากขายสินค้าและบริการ เช่น Production Fee รายได้จากการรับจ้างผลิตงานการประกวด, Talent Management Fee รายได้จากการบริหารงานนางงามผู้ชนะการประกวด, รายได้จากการขายสินค้าลิขสิทธิ์ และรายได้จากการขายบัตรเข้าชมการประกวด
    • 3. รายได้จากผู้สนับสนุนการประกวด

รายได้ของเวทีประกวดนางงาม

  • จากการจัดการประกวดในปีที่ผ่านมา คาดว่า Miss Universe Organization สามารถสร้างรายได้ได้ถึงปีละ 1.4 พันล้านบาท
  • ส่วนบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี 2564 มีรายได้มากกว่า 300 ล้านบาท
  • บริษัท ทิฟฟานีโชว์พัทยา จำกัด มีรายได้ประมาณ 4 ล้านบาท ในปีเดียวกัน 

ความเสี่ยงสำคัญของธุรกิจนางงาม

  • สำหรับความเสี่ยงสำคัญของธุรกิจนางงาม แน่นอนว่าจะได้แก่ทัศนคติและค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
  • ธุรกิจเวทีนางงามถูกตั้งคำถามซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยเฉพาะประเด็นการสร้าง Beauty Standard ซึ่งอาจกลายเป็นการกดทับความงามที่แตกต่างไปจากมาตรฐานดังกล่าว
  • รวมถึงข้อสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อบันเทิงของผู้คนที่อาจเปลี่ยนแปลงไป
  • อย่างที่ช่อง Fox ได้รายงานว่าผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดการประกวดนางงามในสหรัฐอเมริกาลดลงต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2560
  • จึงต้องติดตามกันต่อไปว่าภายใต้การกุมบังเหียนของเหล่านักธุรกิจไทยจะพลิกชีวิตให้ธุรกิจเวทีนางงามกลับมาคึกคักได้อย่างไรบ้าง

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

TSF2024