รับชมบน YouTube: https://youtu.be/z2ZFbQtOkxE

สปสช. ยกเลิกสัญญาสิทธิบัตรทองสำหรับ 9 โรงพยาบาลเอกชน มีผลแล้วตั้งแต่ตุลาคมปี 2565 ส่งผลกระทบถึงผู้มีสิทธิบัตรทองหลายแสนราย ซึ่งนั่นอาจรวมถึงเราและคนใกล้ตัวเราก็ได้ แบบนี้เท่ากับถูกลอยแพแล้วใช่ไหม หรือต้องทำอย่างไรถึงจะกลับมามีโรงพยาบาลรองรับสิทธิบัตรทองเหมือนเดิม สรุปไว้ให้แล้วในคลิปนี้

สิทธิบัตรทองคืออะไร

  • สิทธิบัตรทองเป็นหนึ่งในหลักประกันสุขภาพพื้นฐานของคนไทย
  • หากเราเป็นผู้มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ เช่น สิทธิจากกองทุนประกันสังคมหรือสิทธิข้าราชการ นั่นเท่ากับเราจะเป็นผู้มีสิทธิบัตรทองเสมอ
  • สามารถตรวจสอบสถานพยาบาลที่เป็นหน่วยบริการรักษาของเราได้จากช่องทางต่าง ๆ ของ สปสช. เช่น ไลน์ @nhso หรือ แอปฯ สปสช.
  • นอกจากนี้ในกรณีอาการรฉุกเฉินวิกฤติก็สามารถรับบริการที่หน่วยบริการใดก็ได้ที่ใกล้ที่สุดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สถานการณ์การยกเลิกสัญญาสิทธิบัตรทองสำหรับ 9 โรงพยาบาลเอกชน

  • ถึงแม้โรงพยาบาลที่เป็นหน่วยบริการสิทธิบัตรทองจะเป็นโรงพยาบาลรัฐเสียส่วนใหญ่ แต่ก็มีโรงพยาบาลเอกชนร่วมด้วยอยู่บ้าง
  • แต่แล้วล่าสุดก็ได้มีโรงพยาบาลเอกชนถึง 9 แห่งที่ถูกยกเลิกสัญญาการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ
  • ได้แก่ รพ.มเหสักข์, รพ.บางนา 1, รพ.ประชาพัฒน์, รพ.นวมินทร์, รพ.เพชรเวช, รพ.ผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2, รพ.แพทย์ปัญญา, รพ.บางมด และ รพ.กล้วยน้ำไท
  • มีที่มาจากการถูกตรวจสอบพบว่ามีการเบิกค่าคัดกรองเมตาบอลิกไม่ตรงข้อเท็จจริง
  • การยกเลิกสัญญาจะมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป ทำให้ผู้ป่วยที่อาจมีโรงพยาบาลดังกล่าวเป็นหน่วยบริการอาจไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ตามเดิมอีกต่อไป
  • เรียกว่ากลายเป็นผู้มี “สิทธิว่าง”
  • ยกเว้นสำหรับผู้ป่วยที่มีนัดฟอกไต นัดผ่าตัดหัวใจ สวนหัวใจใส่บอลลูน ใส่สเต็นท์ ที่ยังคงรับบริการที่โรงพยาบาลดังกล่าวได้ตามนัดเช่นเดิมเนื่องจากเป็นการยกเลิกสัญญาคนละส่วนกัน

คำแนะนำสำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง

  • เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการสิทธิบัตรทอง แนะนำให้ผู้มีสิทธิบัตรทองทุกท่านตรวจสอบสิทธิของตัวเองเสียก่อน
  • จะเห็นได้ว่าในระบบจะระบุถึง “สถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้น” และ “สถานพยาบาลที่รับการส่งต่อ”
  • สถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้นจะหมายถึงสถานพยาบาลที่ผู้มีสิทธิบัตรทองสามารถเข้ารับบริการเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่ไม่ฉุกเฉินวิกฤติ โดยพกเพียงแค่บัตรประชาชนไปแสดงความจำนงใช้สิทธิเท่านั้นก็สามารถรรับบริการได้เลย
  • สถานพยาบาลที่รับการส่งต่อ ผู้มีสิทธิบัตรทองจะเข้ารับบริการได้ต่อเมื่ออาการหรือโรคที่เจ็บป่วยมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยสถานพยาบาลเบื้องต้นจะเป็นผู้ประเมินและทำหนังสือส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลดังกล่าวให้เอง
  • หากเป็นกรณีที่ 1 ใน 9 โรงพยาบาลเอกชนที่ถูกยกเลิกสัญญานั้นเป็นสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้นของเรา เราก็จะกลายเป็นผู้มีสิทธิว่างแบบ VIP
  • นั่นคือหากเจ็บป่วยก็สามารถใช้สิทธิที่หน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายของ สปสช. ที่ไหนก็ได้ โดยตรวจสอบรายชื่อได้ที่แอปฯ NOSTRA Map
  • และเมื่อได้รับบริการที่ไหนแล้วพอใจก็ค่อยลงทะเบียนให้เป็นหน่วยบริการที่จะเข้ารับการรักษาเบื้องต้นแทนได้ ซึ่งสามารถดำเนินการผ่านช่องทางต่าง ๆ ของ สปสช. เช่น ไลน์และแอปฯ สปสช. ได้เลย
  • ส่วนกรณีที่ 1 ใน 9 โรงพยาบาลเอกชนที่ถูกยกเลิกสัญญานั้นเป็นสถานพยาบาลที่รับการส่งต่อของเรา ในช่วง 3 เดือนแรกทาง สปสช. จะจัดหาหน่วยบริการชั่วคราวให้โดยอัตโนมัติ เช่น ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.มเหสักข์ เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.เลิดสินและ รพ.ตากสินแทนและหากได้สถานพยาบาลรับการส่งต่อแห่งใหม่แล้วก็จะแจ้งให้ผู้มีสิทธิทราบอีกครั้ง
  • นอกจากนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มีสิทธิว่าง สปสช. ยังได้เปิดสายด่วน 1330 กด 6 สำหรับติดต่อประสานงานโดยเฉพาะ หากมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับความสะดวกอย่างไรก็สามารถติดต่อผ่านช่องทางนี้ได้เลย

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

TSF2024