รับชมบน YouTube: https://youtu.be/bc8e7kl0RDg
ใครที่ลงทุนกองทุนมานาน อาจสังเกตเจอว่า Fund Fact Sheet กองทุนรวมมีการเปลี่ยนไป จำนวนหน้าลดลงกว่าครึ่ง แต่กลับมีข้อมูลสำคัญมากกว่าเดิม วันนี้จะพาไปทำความเข้าใจ Fund Fact Sheet เวอร์ชั่นปัจจุบันในคลิปนี้
ที่มาของ Factsheet กองทุนรวมแบบใหม่
- Factsheet กองทุนรวมโฉมใหม่นี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่จากทาง ก.ล.ต. ภายใต้โครงการ Simplified Disclosure ระยะที่ 2 และโครงการ Regulatory Guillotine ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจจริงของ ก.ล.ต. ที่จะทำให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่สำคัญและย่อยง่าย ขณะเดียวกันก็ยกเลิกหรือปรับปรุงข้อมูลที่หมดความจำเป็นออกไป
- ซึ่งหลักเกณฑ์ที่ว่าก็มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว โดย Factsheet ของกองทุนรวมตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 จะเป็นรูปแบบใหม่ตามหลักเกณฑ์ใหม่นี้ทั้งหมด และจะต้องมีการอัปเดตใหม่ทุกเดือน
สิ่งที่โดนตัดออกไป
- สิ่งแรกที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นคือจำนวนหน้า ใครที่อ่าน Factsheet แบบเก่าบ่อย ๆ จะเห็นได้ว่าในจำนวนเอกสารเกือบ 10 หน้า มีข้อมูลสำคัญที่ตามดูจริง ๆ ไม่กี่หน้า
- โดยภายใต้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ Factsheet กองทุนจะมีเพียง 3 หน้าเท่านั้น
- ส่วนภาพ Chart ก็ยังคงมีอยู่เฉพาะที่จำเป็น
- ส่วนภาพ Risk Spectrum ที่กินพื้นที่ครึ่งหน้ากระดาษแต่ให้ข้อมูลได้เพียงเรื่องระดับความเสี่ยงคร่าว ๆ ของกองทุนรวมเท่านั้น ก็เป็นส่วนที่ถูกตัดออกไปหรือปรับให้มีขนาดเล็กลง
- เช่นเดียวกับ Chart ข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เช่น ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ก็ถูกย่อให้มีขนาดเล็กลงเช่นกัน
สิ่งที่เพิ่มเข้ามามากขึ้น
- เช่น Chart และตารางแสดงผลการดำเนินงาน และดัชนีชี้วัดย้อนหลัง เดิมจะแสดงให้เห็นเฉพาะการเปรียบเทียบระหว่างตัวกองทุนและดัชนีชี้วัด แต่ Factsheet ใหม่ก็ได้เพิ่มข้อมูลค่าเฉลี่ยกองทุนอื่นที่มีนโยบายแบบเดียวกัน (Peer Average) เข้ามาเปรียบเทียบให้เห็นไปพร้อมกันด้วย แบบนี้ก็จะเห็นกันไปเลยว่ากองนี้เมื่อเทียบกับกองอื่น ๆ แล้วมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าหรือแย่กว่ามากน้อยแค่ไหน
- นอกจากนี้ยังเพิ่มข้อมูลสถิติสำคัญใหม่ ๆ เข้ามาใน Factsheet เช่น
- Sharpe Ratio ซึ่งบ่งบอกความคุ้มค่าของผลตอบแทนการลงทุนเทียบกับความผันผวนที่เกิดขึ้น ซึ่งช่วยบอกความสามารถในการบริหารการลงทุนของกองทุนได้เป็นอย่างดี
- Recovering Period ซึ่งบ่งบอกได้ว่าในอดีตกองทุนเคยต้องใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะกู้คืนสถานการณ์ช่วงที่ขาดทุนหนักสุดให้กลับมาเท่าทุนได้ ส่วนนี้สะท้อนความสามารถในการบริหารกองทุนได้เป็นอย่างดีเช่นกัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลาก็เป็นต้นทุนที่สำคัญอย่างหนึ่งของการลงทุน
- FX Hedging ซึ่งบ่งบอกเปอร์เซ็นต์การลงทุนในสกุลเงินต่างประเทศที่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
- Alpha ซึ่งบ่งบอกความสามารถของกองทุนในการสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าดัชนีชี้วัด
- Beta ซึ่งบ่งบอกระดับและทิศทางของผลตอบแทนกองทุนเมื่อเทียบกับตลาด
- สำหรับกองทุนตราสารหนี้ มีการเพิ่มข้อมูล Yield to Maturity ซึ่งเป็นผลตอบแทนการลงทุนตราสารหนี้กรณีถือจนครบกำหนดอายุ
- และมีข้อมูลส่วนที่ถูกระบุใน Factsheet รูปแบบเก่าเช่นกัน เพียงแต่ย้ายตำแหน่งให้เห็นได้ชัดขึ้น เช่น Maximum Drawdown, อัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุน, Tracking Error และประวัติจ่ายเงินปันผล
สรุป
- เห็นได้ว่าด้วยการปรับปรุง Factsheet ให้เป็นรูปแบบใหม่นี้จะทำให้นักลงทุนได้ประโยชน์จากการได้รับข้อมูลที่เข้าใจง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลากับการเลื่อนดูเนื้อหาส่วนที่จำเป็นน้อยกว่าอีกต่อไป
- แต่อย่างไรก็ตามหากเห็นว่าการเปรียบเทียบระหว่างกองทุนยังคงเป็นเรื่องยุ่งยาก ก็สามารถใช้งานฟังก์ชั่น FINNOMENA Fund ได้แล้ววันนี้ ทั้งผ่านแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ มีข้อมูลสำคัญครบถ้วน และสามารถเปรียบเทียบกองทุนได้พร้อมกันสูงสุดถึง 10 กองทุนเลยทีเดียว
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website