รับชมบน YouTube: https://youtu.be/Pubesufq3oE

เงินเฟ้อพุ่งมากกว่า 5% สูงสุดในรอบ 13 ปี นี่ไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวลเฉพาะพอร์ตการลงทุนของเราเท่านั้น แต่เป็นประเด็นที่แม้แต่ 6 อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังต้องออกมาส่งเสียงเป็นสัญญาณเตือนด้วยเช่นกัน เรามารับฟังกันว่าประเด็นเรื่องเงินเฟ้อในประเทศไทยในเวลานี้น่ากังวลยังไงและจะมีหนทางแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

สถานการณ์เงินเฟ้อประเทศไทย

  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. 2565 ว่าเป็นตัวเลขที่สูงขึ้นถึง 7.10% เทียบเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า
  • ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 13 ปีนับจากปี 2551

ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) คือใคร

  • ธนาคารกลางแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่หลักคือดูแลเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
  • อย่างเวลาที่สภาวะเศรษฐกิจของไทยร้อนแรงหรือซบเซาเกินไป แบงก์ชาติก็อาจกำหนดนโยบายการเงิน อย่างการเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นต้น
  • แต่ปัญหาเงินเฟ้อที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันก็คงเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายอยู่พอสมควร ที่แม้แต่ 6 อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติต่างก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงปัญหาเงินเฟ้อด้วยนั่นเอง

ตัวอย่างประเด็นสำคัญจากมุมมองของอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ

คุณชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์

  • อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติที่เคยอยู่ในฉากหน้าของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
  • แสดงความกังวลเกี่ยวกับนโยบายการคลังของรัฐบาล ทั้งเรื่องภาระหนี้สูง การขาดดุลงบประมาณต่อเนื่อง รวมถึงการบริหารนโยบายแบบประชานิยม
  • และหากรัฐบาลไม่สามารถดูแลนโยบายการคลังได้ดีกว่านี้ ภาระจะตกที่นโยบายการเงินต่อไป ทั้งที่ปัญหาการเงินเป็นปัญหาปลายเหตุ 

ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล

  • อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติผู้ซึ่งมีผลงานสำคัญในเรื่องการฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อแบงก์ชาติในยุคหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง
  • แสดงทรรศนะไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือมีความกังวลต่อวินัยทางการคลังของรัฐบาล และมองว่านโยบายการคลังในเวลานี้ไม่ได้ดำเนินไปในทิศทางที่ควรจะดำเนิน 

คุณวิรไท สันติประภพ

  • พูดถึงประเด็นที่มองว่าหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นระเบิดเวลา
  • รวมถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่ส่งเสริมให้คนเป็นหนี้เกินจำเป็น อย่างสินเชื่อเงินทอน ที่ให้วงเงินสูงเกินกว่าความจำเป็นในการขอสินเชื่อ เป็นต้น 

สรุป

  • คงต้องยอมรับว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศไทยอยู่ในจุดที่มีความอ่อนไหวจากหลายปัจจัยที่ต้องติดตามใกล้ชิด
  • ในฝั่งนักลงทุนเอง ถึงแม้จะยังมองเห็นโอกาสการลงทุนในธุรกิจหรือสินทรัพย์ที่ยังคงได้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ้าง แต่นั่นก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด และถึงอย่างไรก็คงไม่ใช่ปัญหาที่
    ประชาชนจะสามารถลงมือแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่คงต้องติดตามการบริหารจัดการและการดำเนินนโยบายจากภาครัฐเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

TSF2024