รับชมบน YouTube: https://youtu.be/DtKQg95zGiQ
หลายครั้งที่การซื้อของแบรนด์เนมถูกพูดถึงในฐานะตัวแทนของความฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย แต่ความเป็นจริงแล้วการซื้อของแบรนด์เนมอาจให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนหุ้นเสียอีก วันนี้เรามาพูดถึงประเด็นที่จะทำให้รู้ว่าสินค้าแบรนด์เนมไม่ใช่ศัตรูของการออมเงินเสมอไป
การเติบโตของตลาดสินค้าแบรนด์เนมในช่วง COVID-19
- “เมื่อคุณซื้อหุ้น คุณจะไม่เคยเห็นแม้แต่ใบหุ้น แต่เมื่อคุณซื้อนาฬิกาหรือเสื้อผ้าแบรนด์เนม ทุกคนจะมองเห็นสิ่งนี้ในทุกที่ที่คุณสวมใส่มัน”
- ตลาดสินค้าแบรนด์เนมไม่ใช่แค่เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ยังยิ่งเติบโตมากขึ้นระดับหลายสิบเปอร์เซ็นต์แม้กระทั่งในช่วงเวลาของวิกฤติโควิด-19
- ในช่วงที่เริ่มต้นวิกฤติโควิด-19 ใหม่ ๆ ตลาดสินค้าแบรนด์เนมชะงักไปแต่ก็แค่เพียงชั่วครู่เท่านั้น เพราะเมื่อปักหลักการขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ตลาดสินค้าแบรนด์เนมก็กลับมาเพิ่มมูลค่าได้มากกว่า 10 ล้านล้านบาทในปี 2019
- ต่อเนื่องจนถึงปี 2021 ที่ LVMH บริษัทเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Louis Vuitton, Dior, Tiffany & Co. และ Sephora ได้ออกมาประกาศผลกำไรสุทธิว่าเติบโตถึง 156%
- ส่วนบริษัท Hermes ก็ได้ออกมาอวดว่าเป็น “ปีทองของ Birkin Bag” พร้อมโชว์ผลกำไรสุทธิเติบโต 77%
- แม้แต่ JP Morgan ก็ยังคาดการณ์ว่ามูลค่าการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมจะยังเพิ่มขึ้นเป็น 8 หมื่นล้านล้านบาท ในปี 2022 อีกด้วย
ตัวอย่างแบรนด์เนมยอดฮิต: นาฬิกา Rolex
- ใครที่สนใจซื้อ Rolex อาจต้องรอคิวเป็นหลักปี หรือต้องซื้อของพ่วงสะสมยอดกว่าจะมีโอกาสได้ Rolex รุ่นท็อปมาครอง
- ความหายากยังทำให้ทันทีที่เราซื้อ Rolex แล้วเดินออกจากช็อป ราคาในตลาดมือสองก็อาจพุ่งเป็นสองถึงสามเท่าไปแล้วก็ได้
- นอกจากนี้เมื่อได้ศึกษาราคานาฬิกา Rolex ย้อนหลัง 10 ปี ก็ยังพบว่าสามารถสร้างผลตอบแทนชนะทองคำ อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นดาวโจนส์อีกด้วย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตลาดสินค้าแบรนด์เนมเพิ่มมูลค่าได้มากในช่วงสถานการณ์วิกฤติ
- นั่นคือเมื่อกลุ่มผู้มีรายได้สูง โดยเฉพาะในประเทศจีน ต่างมีเงินเหลือเก็บจากการไม่ได้ท่องเที่ยว สินค้าแบรนด์เนมจึงกลายเป็นการบริโภคที่เข้ามาแทนที่
- กลุ่มผู้ซื้อสินค้าแบรนด์เนมขยายวงกว้างขึ้น และยิ่งดึงดูดกลุ่มผู้ซื้อที่อายุน้อยลง
- งานวิจัยจาก Bain & Company ก็ยังได้คาดการณ์เอาไว้ว่าภายในปี 2025 ผู้บริโภค Gen Y และ Gen Z จะกลายเป็น 70% ของกลุ่มผู้บริโภคทั้งหมด ยิ่งเป็นจุดที่สะท้อนให้เห็นว่าเทรนด์การบริโภคสินค้าแบรนด์เนม จะไม่ใช่เทรนด์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
แบรนด์เนมกับการลงทุน
- ในมุมมองด้านการลงทุน การซื้อสินค้าแบรนด์เนมจึงเป็นอีกทางเลือกของการลงทุนที่สร้างมูลค่าเพิ่มผ่านกาลเวลาได้จริง และไม่ได้สะท้อนว่าผู้ซื้อสินค้าแบรนด์เนมจะเป็นผู้ที่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อเป็นการซื้อตามกำลังการบริโภคของตัวเอง
- ส่วนใครที่ไม่เพียงแต่สนใจจะซื้อสินค้าแบรนด์เนม แต่อยากจะซื้อหุ้นเจ้าของสินค้าแบรนด์เนมด้วย ก็อาจลงทุนได้ง่าย ๆ ผ่านกองทุนรวม
- โดยตัวอย่างของกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในสินค้าแบรนด์เนมเป็นหลักก็อย่างเช่นกองทุน T-PREMIUM BRAND และกองทุน I-CHIC
- อย่างไรก็ตามเมื่อเน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เจาะจงการบริโภคโดยเฉพาะแบบนี้ก็อาจมีความกระจุกตัวสูงทำให้มีความเสี่ยงสูงตาม โดยกองทุน T-Premium Brand มีความเสี่ยงระดับ 7 และ I-CHIC มีความเสี่ยงระดับ 6
- หากใครสนใจลงทุนก็จะต้องศึกษา Fund fact sheet ให้ละเอียด พิจารณาถึงความเสี่ยงการลงทุนทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน และปัจจัยอื่น ๆ ให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถดูเอกสารและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บ FINNOMENA.COM เลย
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website
คำเตือน
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลของกองทุนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวม โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้ขายหน่วยลงทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
- ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT