รับชมบน YouTube: https://youtu.be/Z1UrErAQuWs
ราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนควรติดตาม เพราะเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มของสภาวะเศรษฐกิจได้ และในปี 2022 ก็เป็นอีกปีที่ราคาน้ำมันยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุมาจากอะไร มาติดตามกัน
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบราคาน้ำมันในปีนี้
ปัจจัยจากตลาดโลกที่สำคัญขณะนี้
- ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) หรือปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นั่นคือความไม่ลงรอยกันระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครน
- เมื่อยูเครนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตเหมือนกันและมีชายแดนประเทศติดกัน ได้พยายามตีตัวออกห่างด้วยการพยายามเข้าเป็นสมาชิก NATO หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสกัดอิทธิพลของรัสเซีย โดยที่ขณะนี้สถานการณ์ยิ่งทวีความกดดันมากขึ้นเมื่อรัสเซียได้ระดมกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ประชิดชายแดนยูเครนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- และหากเกิดสงครามจริงก็จะยิ่งดันราคาพลังงานโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก เพราะรัสเซียเป็นประเทศส่งออกพลังงานมากเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา
- และถึงแม้กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ จะมีนโยบายเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็น 400,000 บาร์เรลต่อวันแล้วก็ตาม ขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะคลี่คลายสถานการณ์แต่อย่างใด
- CEO ของบริษัท Chevron ก็ยังได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าราคาน้ำมันจะพุ่งสูงต่อไปจนอีกถึง 100$ ต่อบาร์เรลจากที่ปัจจุบันก็แตะระดับ 90$ ต่อบาร์เรลเรียบร้อยแล้ว นับว่าสูงสุดในรอบ 7 ปีเลยทีเดียว
ปัจจัยในประเทศไทย
- ส่วนหนึ่งก็มีที่มาจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งนับว่าเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในการนำเข้าน้ำมัน เนื่องจากเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง
- รวมถึงการที่ประเทศไทยมีนโยบายผสมเชื้อเพลิงชีวภาพเข้ากับน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดการน้ำเข้าน้ำมันและช่วยเหลือเกษตรกร แต่กลับกลายเป็นว่าพลังงานทดแทนเหล่านี้กลับปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้นอีก
- อย่างไรก็ตามขณะนี้กระทรวงพลังงานมีมาตรการใช้เงินจากกองทุนน้ำมันรวมถึงกู้เงินจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม เพื่อนำมาชดเชยการตรีงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร และปรับลดสัดส่วนการผสมน้ำมันไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล และขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันให้ปรับลดค่าการตลาดลง
ประเด็นที่น่าสนใจ
- การที่รัฐบาลไม่อาจพยุงราคาน้ำมันให้ถูกลงไปกว่านี้ได้ เพราะไม่อย่างนั้นจะขัดกันกับภารกิจการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามที่ได้ประกาศไว้แล้วในการประชุม COP26 ได้
- การปล่อยราคาน้ำมันในไทยให้ผันแปรไปตามตลาดโลกจึงอาจดีต่อโลกในระยะยาวมากกว่า
- อย่างไรก็ทางภาครัฐเองก็ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเพื่อรองรับความจำเป็นในการใช้พลังงานและผลกระทบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องควบคู่กันด้วย