รับชมบน YouTube คลิก

คำถามยอดฮิตจากผู้ลงทุนกองทุนรวมมือใหม่ จะดูยังไงว่าราคา NAV ถูกหรือแพง สบายมาก มาหาคำตอบในคลิปนี้กัน ! 

NAV ต่อหน่วย คืออะไร?

  • ราคาของกองทุนรวม หรือ “NAV ต่อหน่วย” เป็นคนละเรื่องกันโดยสิ้นเชิงกับราคาของสินทรัพย์ลงทุนอื่นอย่างหุ้น
  • โดย NAV ต่อหน่วย แท้ที่จริงแล้วจะหมายถึงราคาของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
  • ถูกคำนวณวันทำการละครั้งหลังปิดตลาด
  • เป็นตัวเลขที่สะท้อนมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกสะสมเรื่อย ๆ อยู่ในกองทุน ไม่ได้บอกว่าราคาของกองทุนนั้นกำลังจะถูกหรือแพงจนเกินไป

แล้วผลตอบแทนของกองทุนที่มาจากส่วนต่าง NAV ต่อหน่วย ณ วันซื้อ และวันขาย ล่ะ?

  • นั่นก็เป็นการคำนวณจากกำไรต่อเงินต้นที่ลงทุนอยู่ดี
  • หมายความว่า ถ้าเทียบการซื้อกอง A ที่ NAV ต่อหน่วย 100 บาท ต่อมาพุ่งสูงเป็น NAV ต่อหน่วยที่ 200 บาท กับกอง B ที่เป็นกองลักษณะเดียวกัน ที่ NAV ต่อหน่วย 10 บาทแต่ในระยะเวลาที่เท่ากัน NAV ต่อหน่วยของกอง ขยับมาได้ถึงแค่ 10.2 บาทเท่านั้น
  • แบบนี้ถึง NAV ของกอง จะดูสูงกว่าของกอง B แต่ก็ไม่ส่งผลอะไรกับผลตอบแทน 

วัดยังไงว่ากองทุนที่สนใจอยู่ ราคาถูกหรือแพง?

  • ต้องวัดกันที่แนวโน้มของนโยบายการลงทุน และประสิทธิภาพการบริหารกองทุนเป็นหลัก
  • ถ้านโยบายดี performance ดี NAV ต่อหน่วยที่ซื้อในวันนี้ก็เป็นราคาที่ถูกเมื่อเทียบกับอนาคต
  • แต่หากตรงกันข้ามกัน อย่างไรก็นับว่าเป็นราคาที่แพง

ประเด็นอื่น ๆ ของ NAV ที่เราอาจยังไม่รู้

  • เราจะไม่รู้ราคาซื้อขายกองทุนรวมของเราว่าเป็นเท่าไหร่ จนกว่าจะปิดตลาดแล้วมีการสรุปราคาตอนสิ้นวัน ไม่เหมือนหุ้นรายตัว หรือ ETF ที่จะแสดงราคาซื้อขายแบบ Real-time ดังนั้นถึงเก็งไปว่าจะซื้อกองทุนที่ราคาเท่าไหร่ สุดท้ายก็กำหนดเองไม่ได้อยู่ดี
  • กรณีกองต่างประเทศ สมมติทำรายการซื้อวันนี้ แต่เมื่อจะนำเงินไปซื้อกองต่างประเทศปลายทาง ก็ต้องรอตลาดประเทศนั้น ๆ เปิดก่อน และจะรู้ NAV ต่อหน่วยที่ซื้อได้ก็ต้องรอตลาดประเทศนั้น ๆ ปิดอีกที ดังนั้นกว่าเราจะรู้ NAV ที่ซื้อขายกองทุนต่างประเทศได้ จึงต้องรอแสดงข้อมูล NAV ช้ากว่ากซื้อขายกองในประเทศนั่นเอง
  • หากจะวางแผนซื้อกองต่างประเทศที่เป็นกองภาษี ก็ต้องคำนึงถึงวันทำรายการให้ไม่ชนวันหยุดทั้งจากกองทุนต้นทางและปลายทางด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถทำรายการได้ทันภายในปีที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
  • ราคา NAV ของทุกกองทุนเมื่อ IPO จะเริ่มต้นที่ 10 บาท ซึ่งไม่ได้แปลว่า 10 บาทนี้จะเป็นราคาที่ถูกที่สุด เพราะหากบริหารกองทุนไม่ดี มูลค่า NAV ต่อหน่วยในอนาคตก็อาจลดต่ำลงกว่า 10 บาทก็เป็นได้
  • กรณีกองทุนรวมปันผล ซึ่งเป็นกองที่มีนโยบายจ่ายกำไรที่ได้แก่ผู้ถือหน่วยในรูปแบบของเงินปันผล กรณีนี้ NAV ของกองก็จะลดลงทุกครั้งที่มีการจ่ายปันผลออก ทำให้ NAV ของกองดูเหมือนว่าอยู่กับที่ แต่แท้ที่จริงแล้วผู้ถือหน่วยได้รับผลตอบแทนคืนกันไปก่อนแล้วในรูปเงินปันผลนั่นเอง

เรียนหัวข้อต่อไป “ค่าธรรมเนียมกองทุนมีอะไรบ้าง? รู้ครบ จบในที่เดียว”


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

TSF2024