Stablecoin เกิดขึ้นมาเพื่อทำให้ราคาของสกุลเงินดิจิทัลมีความเสถียรมากขึ้น ด้วยการอ้างอิงมูลค่าของเหรียญเข้ากับอะไรบางอย่าง เพื่อให้ความผันผวนของราคาเหรียญลดน้อยลงนั่นเอง ปัจจุบัน Stablecoin เองอาจถูกแยกออกเป็น ประเภท มีอะไรบ้างไปดูกัน

1. Fiat-Collateralized Stablecoins

  • เป็นเหรียญถูกหนุนหลังเอาไว้ด้วยสินทรัพย์ในโลกอนาล็อก อย่างดอลล่าร์สหรัฐ ปอนด์ ยูโร รวมถึงสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำ ในกรณีจะเรียกว่า Commodity-Collaterized Stablecoin นั่นเอง
  • โดยเหรียญที่นับว่าเป็น Stablecoin เป็นที่รู้จักมากและมีมูลค่าในตลาดมากที่สุดในปัจจุบันก็คือ Tether (USDT) ที่ถูกหนุนหลังด้วย USD ในอัตราส่วน 1:1 
  • ข้อจำกัดของเหรียญประเภทนี้คือจำเป็นต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดเก็บสินทรัพย์อนาล็อกที่ใช้หนุนเหรียญดิจิทัลอีกที ซึ่งขัดกันกับคอนเซ็ปต์สำคัญของเหรียญดิจิทัลที่ต้องการขจัดตัวกลางออก 

2. Crypto-Collateralized Stablecoins

  • ถูกหนุนหลังด้วยเหรียญดิจิทัลสกุลเงินหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าด้วยความที่เหรียญดิจิทัลที่นำมาหนุนหลังเองก็มีความผันผวน
  • กลไกการออก Stablecoin นี้ จึงมีลักษณะ Over-Collaterized คือการออก Stablecoin 1 เหรียญ จะต้องค้ำประกันด้วยสกุลเงินดิจิตอลในสัดส่วนที่มากกว่านั้น เพื่อให้ Stablecoin ยังใช้งานได้ แม้ราคาของ Crypto ที่เอามาหนุนหลังจะร่วงหนัก 
  • ตัวอย่าง Stablecoin ประเภทนี้ก็คือ DAI 
  • คุณลักษณะสำคัญของ Crypto-Collaterized Stablecoin คือยังคงความ Decentralized ของเหรียญเอาไว้ได้ ทำให้ถูกนำมาใช้ใน Decentralized Finance (DeFi)
  • ข้อจำกัดก็คือ Stablecoin กลุ่มนี้จะยังคงมีความผันผวนที่สูงอยู่ เพราะก็ใช้ Cryptocurrency ซึ่งมีความผันผวนสูงมาก ๆ อยู่แล้วมาหนุนหลัง และมีความซับซ้อนสูง อาจทำความเข้าใจได้ยากสำหรับนักลงทุนทั่วไป  

3. Non-Collateralized Stablecoins

  • ไม่ได้ถูกหนุนหลังด้วยสินทรัพย์ใด แต่ใช้กลไกพิเศษในการควบคุมความเสถียรของเหรียญ เช่น กลไกลดจำนวนเหรียญ เมื่อเหรียญเริ่มด้อยราคาลง หรือเพิ่มจำนวนเหรียญ เมื่อเหรียญเริ่มมีราคาสูงเกินไป 

ตัวอย่างการใช้งาน Stablecoins ในปัจจุบัน

  • ใช้พักเงินในช่วงตลาด Cryptocurrency เป็นขาลง ซึ่งจะทำให้การเทรดในตลาด Cryptocurrency ทำได้สะดวกกว่าการซื้อขาย Cryptocurrency ด้วยเงินสด และยังนับได้ว่าเป็นสะพานเชื่อมระหว่างการสกุลเงินโลกจริงกับโลกดิจิทัลอีกด้วย

ข้อจำกัดสำคัญของ Stablecoin

  • ความเชื่อมโยงและความทับซ้อนกับสกุลเงินในโลกจริง ที่อาจทำให้ถูกจับตามองจากรัฐบาลแต่ละประเทศมากเป็นพิเศษ
  • อย่างการที่ ธปท. และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เคยออกโรงเตือนนักลงทุน เกี่ยวกับกระแสการออก Stablecoin ที่มีชื่อว่า THT ซึ่งระบุให้ เหรียญมีมูลค่าเป็น บาทจะทำให้ระบบเงินตราในประเทศถูกแบ่งออกไปมากกว่า ระบบ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบเงินตราในประเทศ จึงนับว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น
TSF2024