สิ่งที่อาจสร้างความกังวลใจให้กับคนไทยที่กำลังทยอยได้รับวัคซีน นั่นก็คือผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้รับวัคซีนว่าจะมีสวัสดิการรองรับและการชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสชจึงได้ออกมายืนยันสิทธิของคนไทยทุกคน ในการได้รับเงินช่วยเหลือกรณีแพ้วัคซีน 

เงินช่วยเหลือ แบ่งตามระดับความรุนแรงของอาการ

  • กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องรักษาตลอดชีวิต จะได้รับวงเงินช่วยเหลือสูงสุด 400,000 บาท
  • กรณีเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิต ได้รับสูงสุด 240,000 บาท
  • กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ได้รับสูงสุด 100,000 บาท 
  • เงินช่วยเหลือส่วนนี้จะไม่ใช่การช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล แต่เน้นชดเชยการขาดรายได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาที่ต้องหยุดทำงานเพื่อสังเกตอาการ เป็นต้น 

การยื่นร้องคำขอรับเงินชดเชย

  • ผู้ที่แพ้วัคซีนสามารถยื่นร้องคำขอรับเงินชดเชยได้ด้วยตัวเอง ผ่านสถานที่ที่ให้บริการวัคซีน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงาน สปสชในเชตพื้นที่
  • หรือจะให้ทายาท หรือผู้อุปการะ หรือโรงพยาบาลที่ให้บริการวัคซีนเป็นผู้ยื่นคำร้องแทนก็ได้
  • ระยะเวลาในการยื่นคำร้องไม่เกิน ปีนับจากวันที่รับรู้ความเสียหาย 

ยื่นคำร้องเสร็จแล้วเกิดอะไรขึ้นต่อ?

  • เมื่อยื่นคำร้องแล้วคณะอนุกรรมการ สปสชจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติวงเงินช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบแต่ละราย โดยไม่รอพิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากวัคซีนหรือไม่
  • เพราะจุดประสงค์ของเงินช่วยเหลือคือเพื่อบรรเทาผลกระทบ ไม่ใช่กลไกทางการแพทย์ในการพิสูจน์หาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ
  • เมื่อมีมติอนุมัติเงินช่วยเหลือแล้ว ผู้เสียหายก็จะได้รับเงินช่วยเหลือภายใน วันทำการ และถ้าไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการก็สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน  

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • เงินชดเชยส่วนนี้จะไม่ครอบคลุมกรณีวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการโดยสถานบริการของเอกชนซึ่งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้รับบริการ
  • นอกจากนี้ประกันสุขภาพบริษัทเอกชนที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั่วไปก็ไม่ครอบคลุมการรักษาโรคหรืออาการจากการแพ้วัคซีน ยกเว้นกรณีที่บริษัทประกันนั้นออกมาขยายความคุ้มครองให้เป็นกรณีพิเศษแล้ว
  • ดังนั้นผู้ที่มีความกังวลเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลกรณีแพ้วัคซีน โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งใจรับวัคซีนทางเลือก ก็อาจต้องวางแผนทำประกันที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษา หรือค่าชดเชยกรณีแพ้วัคซีนเพิ่มเติมไว้ด้วย  

ประกันการแพ้วัคซีนของแต่ละบริษัทประกันอาจมีเงื่อนไขและรายละเอียดแตกต่างกัน

  • เช่น จะจ่ายต่อเมื่อมีอาการแพ้และได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น หรือจะจ่ายต่อเมื่อวัคซีนที่ได้รัเป็นวัคซีนที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาเท่านั้น
  • ก่อนที่จะสมัครทำประกันการแพ้วัคซีน ก็อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดและเงื่อนไขให้ดีก่อนสมัครทำประกัน และตรวจสอบอีกครั้งเมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์แล้ว

สุดท้ายแล้ว WHO ฝากย้ำเตือนมา

  • เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว ไม่ได้แปลว่าจะมีภูมิคุ้มกันในทันที และไม่ได้หมายถึงการป้องกันการติดหรือการแพร่เชื้อได้ 100%
  • ดังนั้นการสวมหน้ากาก ล้างมือ และการเว้นระยะห่างยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติอยู่นั่นเอง 
TSF2024