รับชมบน YouTube คลิก

เมื่อเรากำหนดสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตแล้วเรียบร้อย แต่แน่นอนว่าแต่ละสินทรัพย์ในพอร์ตก็ไม่ได้เติบโตในอัตราเท่า ๆ กันคู่กันไปในทุกช่วงเวลา แบบนี้สัดส่วนพอร์ตที่เคยกำหนดไว้แต่แรก ต่อมาก็คงบิดเบี้ยวไปจนแทบจะจำหน้าตาของพอร์ตเดิมไม่ได้ ถึงเวลาต้องทำการ Portfolio Rebalancing ว่าแต่กระบวนการนี้คืออะไร สำคัญอย่างไร ไปดูกัน

Portfolio Rebalancing คืออะไร

  • Portfolio Rebalancing คือการปรับสมดุลของสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนให้คงสถานะเดิมตามที่เคยได้วางไว้
  • ทำได้ด้วยการขายสินทรัพย์ที่เกินสัดส่วนจากเดิม ไปเข้าซื้อสินทรัพย์ที่สัดส่วนต่ำกว่าเดิม หรือจะใช้วิธีเติมเงินเข้าซื้อสินทรัพย์ที่สัดส่วนต่ำกว่าสัดส่วนเดิมเพียงอย่างเดียว จนกว่าจะทำให้สัดส่วนของสินทรัพย์ในพอร์ตกลับมาเป็นอย่างเดิมตามที่เคยออกแบบเอาไว้
  • ผลลัพธ์ของการทำ Rebalancing แบบนี้ ก็มีหลาย ๆ งานวิจัย รวมถึงรายงานจาก Franklin Templeton ยืนยันว่าเมื่อเปรียบเทียบพอร์ตการลงทุน ระหว่างพอร์ตที่ Rebalanced และไม่ Rebalanced ในช่วงระยะเวลาการลงทุน 10 ปี พบว่า พอร์ตที่ Rebalanced ทุกเดือน ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ภายใต้ความผันผวนที่น้อยกว่า และมีจุดขาดทุนสูงสุดในระดับที่น้อยกว่า 

แล้วเราควรทำ Rebalancing บ่อยแค่ไหน

  • ถ้าราคาสินทรัพย์เปลี่ยนแปลงทุกวัน อย่างงี้ต้องปรับพอร์ตทุกวันเลยมั้ย คำตอบคือไม่ ไม่อย่างนั้นเงินของเราจะไม่ทันได้หายใจ ไม่ทันได้สร้างผลตอบแทนทบต้นอะไรเลย
  • ที่สำคัญคือการซื้อขายเพื่อ Rebalance บ่อย ๆ ก็ต้องคำนึงถึงค่าธรรมเนียมการซื้อ/ขายอีกด้วย 

3 แนวทาง การ Rebalancing ที่ได้รับความนิยม

  • แนวทางที่ 1: Calendar-based หรือ Rebalance พอร์ตทันทีเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ เช่น จะปรับพอร์ตทุก เดือน ทุก ปี
  • แนวทางที่ 2: Range-based หรือ Rebalance พอร์ตเมื่อสินทรัพย์เริ่มมีสัดส่วนแตกต่างไปจากเดิมตาม % ที่กำหนด เช่น เมื่อสินทรัพย์เริ่มมีสัดส่วนเบี้ยวไปจากเดิม 5% ก็จะทำการ Rebalance ทันที แนวทางนี้มักใช้สำหรับนักลงทุนสถาบัน หรือผู้ที่วางแผนการลงทุนไว้อย่างเคร่งครัด
  • แนวทางที่ 3: CPPI ย่อมาจาก Constant Proportion Portfolio Insurance เป็นแนวทางที่ซับซ้อนหน่อยแต่มีประสิทธิภาพสูง มาจากหลักการที่ว่าเมื่อมูลค่าพอร์ตยิ่งโตขึ้น เราก็อาจจะยิ่งรับความเสี่ยงการลงทุนได้สูงขึ้น สัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงก็ควรต้องขยายเพิ่ม ในขณะเดียวกันก็จะกำหนด floor เอาไว้ว่ามูลค่าของส่วนที่เป็นสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำเสมอจะต้องไม่น้อยกว่าเท่าไหร่ เหมือนเป็นการ set เบาะรองพอร์ตเอาไว้นั่นเอง

เราเหมาะกับแนวทางไหน

  • ถ้าเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน หรือทำงานประจำเป็นงานหลัก ไม่ได้มีเวลาติดตามพอร์ตเท่าไหร่นัก ก็อาจจะแนะนำแนวทางแรก อย่างถ้าเป็นแผนลงทุนระยะยาว อาจกำหนด ปี รีวิวพอร์ตตัวเองดูสักครั้ง ถ้าเกินสัดส่วนมาก ก็ Rebalance ให้เข้าที่เข้าทาง
  • ถ้าเป็นผู้ที่มีเวลา สามารถติดตามพอร์ตการลงทุนถี่ ๆ ได้โดยไม่รบกวนชีวิตประจำวัน จะปรับตามแนวทางที่ ก็ได้ หรือถ้ามีประสบการณ์การลงทุน เข้าใจการรับความเสี่ยงของตัวเองมากขึ้นแล้ว ก็อาจเลือกใช้แนวทางที่ 3

อีกสิ่งสำคัญที่อย่าลืมทำควบทำคู่กันกับการ Rebalancing

  • คือการสำรวจประสิทธิภาพของสินทรัพย์ที่ลงทุนด้วยว่า ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลดีต่อแผนการลงทุนเหมือนเดิมอยู่รึเปล่า
  • เพราะการทำ Rebalancing ในมุมนึงก็อาจเป็นการขายสินทรัพย์ที่กำลังมีผลการดำเนินงานที่ดี มาเข้าซื้อสินทรัพย์ที่กำลังมีผลการดำเนินงานที่ด้อยกว่าได้
  • ดังนั้นการรีวิวแผน และคัดกรองสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะสมกับแผนการลงทุนอยู่เสมอ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน 

อ่านเพิ่มเติม ปรับพอร์ตแบบไหนดีที่สุด? เผยผลวิจัยย้อนหลัง 80 ปี จาก Vanguard


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

TSF2024