FINNOMENA The Opportunity Morning Brief 16/06/2022

“Fed ขึ้นดอกเบี้ย 75 bps แรงสุดตั้งแต่ปี 1994 ตลาดคาด เศรษฐกิจถดถอย มาแน่”

ภาพความเคลื่อนไหวล่าของตลาดหุ้นทั่วโลก

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones ปิดที่ 30,668.53 จุด +303.7 จุด (+1.00%) S&P500 ปิดที่ 3,789.99 จุด +54.51 จุด (+1.46%)  Nasdaq  ปิดที่ 11,099.16 จุด +270.81 จุด (+2.5%)  Small Cap 2000 ปิดที่ 1,731.14 จุด +23.31 จุด (+1.36%) VIX index ปิดที่ 29.62 จุด (-9.39%)

ตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3,532.32 จุด +57.14 จุด (+1.64%) Dax เยอรมัน ปิดที่ 13,485.29 จุด +180.9 จุด (+1.36%) CAC 40 ฝรั่งเศส ปิดที่ 6,030.13 จุด +80.29 จุด (+1.35%) 

ตลาดหุ้นเอเชีย (ราคาปิดวันทำการล่าสุด) ดัชนี Nikkei 225 ปิดที่ 26,326.09 จุด -303.7 จุด (-1.14%) ดัชนี CSI 300 ปิดที่ 4,278.21 จุด +55.90 จุด (+1.32%)  ดัชนี Hang Seng ปิดที่ 21,308.22 จุด +240.22 จุด (+1.14%)  และ SET Index ปิดที่ 1,593.54 จุด -9.49 จุด (-0.59%)

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 16 มิ.ย. 2565) ทองคำ 1,832.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ Silver 21.640 ดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 116.5.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 119.54 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 16 มิ.ย. 2565) Bitcoin 22,492.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 1,221.62 ดอลลาร์สหรัฐฯ Dogecoin 0.060975 ดอลลาร์สหรัฐฯ Binance Coin 232.21 ดอลลาร์สหรัฐฯ

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในรายใหม่ไทยอยู่ที่ 2,153 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 17 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,516 ราย ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 2,269,478 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65  2,272,811 ราย

Fed มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 75 bps สู่ระดับ 1.5% – 1.75% ขึ้นเร็วที่สุดตั้งแต่ปี 1994 คาดดอกเบี้ยสิ้นปีที่ 3.4% พร้อมหั่นเป้า GDP สหรัฐฯ ปีนี้เหลือ 1.7% จากเดิมคาดไว้ 2.8% และปรับคดาดการณ์เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น 5.2% จากเดิมคาดไว้ 4.3% โดย Fed ส่งสัญญาณในเดือนหน้าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 50 – 75 bps เพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่พุ่งสูง

นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ เสี่ยงเข้าสู่ถดถอย 72% ภายใน 2 ปี เริ่มตั้งแต่ช่วงกลางปี 2023 เนื่องจากภาวะเงินฟ้อทำให้การบริโภคปรับตัวลดลง ส่งผลให้คะแนนนิยมไบเดนลดลง เสี่ยงเสียตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยหน้า

ECB เล็งใช้เครื่องมือใหม่ป้องกันบอนด์บีลด์พุ่ง และสกัดความเสี่ยงเศรษฐกิจยุโรป โดยจะนำรายได้จากการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดอายุ กับเข้ามาลงทุนใหม่ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศสมาชิกในยูโรโซนที่ประสบปัญหาหนี้สินจำนวนมาก

หลัง Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 75 bps ส่งผลกระทบ 5 ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ คือ 1. เงิน yen อ่อนค่าที่สุดในรอบ 24 ปี อยู่ที่ระดับอัตราแลกเปลี่ยน 135 yen ต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ จากความแตกต่างทางด้านนโยบายการเงินของทั้ง 2 ประเทศ โดยด้านญี่ปุ่นเน้นใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้น 2. ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นปรับตัวลงมาต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี 3. ส่งผลกระทบต่อหุ้นเทคโนโลยี จากการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทเพิ่มขึ้น  4. เงิน Fund Flow ไหลออกจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของเอเชีย ด้านไต้หวันไหลออก $32,000 อินเดียไหลออก $25,000 ล้าน และเกาหลีใต้ไหลออก $14,000 5. พันธบัตรอินโดนีเซียอายุ 5 ปี ผลตอบแทนพุ่งขึ้นไปถึง 30 bps อินโดนนีเซียถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงมากสุดในเอเชีย

บิล เกตส์ กล่าวว่า ตนไม่สนใจในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิตอล พร้อมจวก คริปโทฯ และ NFTs เป็นสิ้งที่หลอกลวง  อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีคนโง่ คนโง่ซื้อ ไปเพื่อขายให้คนโง่กว่า

TSF2024