รับชมบน YouTube: https://youtu.be/0f67HSLwcqM
โตเร็วกว่าเทคโนโลยี ก็นวัตกรรมการต้มตุ๋นนี่แหละ การ Rug Pull ก็เป็นหนึ่งในอาชญากรรมยุคดิจิทัลที่มาในรูปแบบโปรเจกต์การลงทุนบนโลกคริปโทที่น่าดึงดูดใจ แล้วเราจะแยกออกได้ยังไงว่าโปรเจกต์ไหนเป็นของจริงและอันไหนไม่ใช่ มาติดตามกันได้ในคลิปนี้
การ Rug Pull คืออะไร?
- Rug Pull แปลตรง ๆ ตามตัวก็คือการกระชากพรมให้ล้มระเนระนาด
- เป็นคำศัพท์ที่เอาไว้เรียกขบวนการต้มตุ๋นในโลกคริปโทที่มักเริ่มต้นจากผู้ที่อ้างตัวว่าจะผลิตเหรียญดิจิทัลที่มีโปรเจกต์น่าสนใจมารองรับ
- แต่เมื่อดึงดูดนักลงทุนได้เป็นจำนวนมากแล้วก็กลับกระชากพรมรื้อโปรเจกต์ลวงโลกนั้นทิ้ง พร้อมกับหอบเงินลงทุนจำนวนมหาศาลหายไปด้วย
- ในปี 2021 เพียงปีเดียวก็มีคริปโทที่ถูก Rug Pull ไปรวมมูลค่ามากกว่า 250,000 ล้านบาทเลยทีเดียว
- ตัวอย่างการ Rug Pull ที่เป็นที่ฮือฮากันมากที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในเดือน พ.ย. ปี 2021 ที่ผ่านมา นั่นคือโปรเจกต์เหรียญ “SQUID” ที่ถูกสร้างขึ้นล้อกันไปกับกระแสของซีรีส์เกาหลีที่ได้รับความนิยมทั่วโลกอย่าง Squid Game
- ซึ่งถูกปั่นราคาจนกระทั่งเหรียญมีราคาเกือบหนึ่งแสนบาท เติบโต 2 แสนกว่า % ภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นเจ้าของโปรเจกต์จึงเริ่มลงมือ Rug Pull ด้วยการล็อกไม่ให้เหรียญถูกขายออกเป็นสกุลเงินอื่นได้
- ราคาเหรียญ SQUID ร่วงลงจนเหลือ 2 สตางค์ภายใน 5 นาที รวมมูลค่าเงินลงทุนที่ถูก Rug Pull ไปมากกว่า 100 ล้านบาท
รูปแบบของการ Rug Pull
- โดยทั่วไปแล้วการ Rug Pull เกิดขึ้นได้ใน 3 รูปแบบ
- (1) การกำหนดฟังก์ชันล็อกเหรียญไม่ให้ถูกขายออกได้ (Disabling the ability to sell) อย่างกรณีของเหรียญ SQUID
- (2) ขโมยสภาพคล่องออกจาก Liquidity Pool ของคู่เหรียญ (Stealing Liquidity) ระหว่างเหรียญปั่นที่ถูกสร้างขึ้นและเหรียญที่มีมูลค่าซื้อขายในตลาดสูง
- เมื่อนักลงทุนจะลงทุนในเหรียญปั่นที่ว่า ก็ต้องนำเหรียญที่มีมูลค่าซื้อขายในตลาดสูงอย่าง ETH มาแลก
- ต่อมาเมื่อปั่นราคาเหรียญที่สร้างขึ้นจนพอใจแล้ว ก็ขโมย ETH ที่นักลงทุนนำมาแลกไว้ไปจนหมด เหลือเพียงแต่เหรียญปั่นที่ไม่มีมูลค่าอีกต่อไปแล้วให้ดูต่างหน้า
- (3) กลุ่มผู้พัฒนาโปรเจกต์พร้อมใจกันถอนเงินออก (Developers cashing out)
- โดยอาจเริ่มจากสร้างแผนโปรเจกต์ที่ฟังดูน่าสนใจมาก ๆ และระดมทุนจากนักลงทุนเพื่อพัฒนาโปรเจกต์ร่วมกัน ทั้งที่จริงแล้วโปรเจกต์นั้นไม่มีแผนพัฒนาอะไรเป็นจริงเป็นจังเลย
- ต่อมาเมื่อมีผู้สนใจร่วมลงทุนในโปรเจกต์เป็นจำนวนมาก กลุ่มผู้พัฒนาก็กลับขายหุ้นส่วนในโปรเจกต์นั้นทิ้งไป และถอนตัวจากโปรเจกต์นั้นซะเฉย ๆ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการ Rug Pull
- (1) กลุ่มผู้พัฒนาโปรเจกต์เบื้องหลังเหรียญมักเป็นบุคคลหรือองค์กรนิรนาม
- (2) มีสภาพคล่องต่ำ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการปั่นราคา
- บางเหรียญปั่นอาจมีมูลค่าการเทรดต่อ 24 ชั่วโมงที่ประมาณ 300,000 บาทเท่านั้น ขณะที่โปรเจกต์ที่น่าเชื่อถืออย่าง PancakeSwap มีมูลค่าการเทรดต่อ 24 ชั่วโมงที่เกือบหมื่นล้านบาท
- (3) รายละเอียดของโปรเจกต์ที่เขียนใน Whitepaper หรือการประชาสัมพันธ์มักถูกเขียนขึ้นแบบลวก ๆ เช่น พิมพ์ผิด, แกรมมาร์เพี้ยน หรืออ้างอิงข้อมูลอย่างไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน
- (4) การกระจายเหรียญที่ไม่ได้สัดส่วน เช่น เหรียญถูกถือเอาไว้โดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากกว่า 5%
- (5) โปรเจกต์ของเหรียญไม่มีผู้ตรวจสอบบัญชี
- เป็นหนึ่งในสาเหตุที่การ Rug Pull พบเห็นได้บ่อยใน Decentralized Exchange
- เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ให้ใครก็ได้สามารถนำเหรียญที่สร้างขึ้นมาไปอยู่บนกระดานซื้อขายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- ไม่ต้องยืนยันตัวตนและไม่ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีเหมือนอย่างใน Centralized Exchange
Rug Pull = ผิดกฎหมาย
- ถึงแม้การ Rug Pull จะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
- แต่การติดตามเส้นทางการ Rug Pull ก็ทำได้ยากและใช้เวลานาน
- การป้องกันตัวเองไม่ให้ร่วมลงทุนในโปรเจคที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดการ Rug Pull จึงทำได้ง่ายกว่าการแก้ไขเมื่อถูก Rug Pull ไปซะแล้ว
พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website