รับชมบน YouTube: https://youtu.be/CUow7geCOoE

ในปัจจุบันผู้คนสามารถกดก็อปปี้และส่งต่องานศิลปะบนโลกออนไลน์กันได้อย่างง่ายดายเพียงไม่กี่คลิก ส่งผลให้มูลค่าของงานศิลปะชิ้นนั้นถูกลดทอนลงไปอย่างน่าเสียดาย ปัญหานี้อาจจะสามารถลดลงได้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า NFT ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลิตผลจาก Blockchain เรามาทำความรู้จัก NFT ให้มากขึ้นผ่านคลิปนี้กัน

NFT คืออะไร?

  • NFT ย่อมาจาก Nonfungible Token เป็น Crypto รูปแบบ Token ชนิดหนึ่ง
  • แตกต่างจาก Crypto ประเภทอื่น ๆ ที่จะมีลักษณะเป็น Fungible หรือคุณลักษณะของการทดแทนกันได้ของสกุลเงินเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันได้โดยง่าย
  • เช่น หากพูดถึงเงิน 500 บาท จะหมายถึง 500 บาทที่เป็นแบงค์หรือเหรียญมูลค่าเท่าไรรวมกันก็ได้ ขอแค่มีมูลค่ารวมกันเป็น 500 บาท
  • ในขณะที่ความ Non-fungible ของ NFT จะหมายถึงการมีลักษณะเฉพาะ ไม่สามารถทดแทนกันได้
  • เช่น ภาพวาดโมนาลิซ่าที่วาดโดย Leonardo da Vinci ที่มีเพียงภาพเดียวในโลก ต่อให้จะมีคนนำมาวาดใหม่ให้มีลักษณะเหมือนกันทุกประการก็จะมีมูลค่าไม่เท่ากับภาพวาดออริจินอลที่เป็นของ Leonardo da Vinci อยู่ดี
  • เพราะความเป็นของแท้ (Authenticity) และความมีหนึ่งเดียวในโลก (Exclusivity) เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้ผู้คนยอมจ่ายเงินซื้องานศิลปะในราคาสูง ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากสำหรับงานศิลปะบนโลกดิจิทัล

NFT ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับงานศิลปะในโลกออนไลน์ได้อย่างไร?

  • กระบวนการผลิต NFT อาศัยความปลอดภัย โปร่งใส และไร้ตัวกลางของ Blockchain
  • ทำให้สามารถยืนยันความเป็นของแท้และความมีหนึ่งเดียวในโลกของผลงานศิลปะบนโลกดิจิทัลได้
  • สามารถสร้างมูลค่าซื้อขายได้เหมือนอย่างงานศิลปะบนโลกทางภายภาพ
  • หากได้มีการซื้อ NFT ของงานศิลปะดิจิทัลชิ้นไหน ผู้ซื้อก็จะเป็นผู้ถือครอง NFT นั้นแต่เพียงผู้เดียว
  • ผู้ซื้อจะก็อปปี้ไม่ได้ ปลอมแปลงไม่ได้ สามารถขายต่อได้เท่านั้น
  • หากผลงานศิลปะชิ้นนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น ราคาของ NFT ก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นด้วย
  • ผู้ผลิต NFT คนแรก เมื่อได้ขายผลงาน NFT ไปแล้ว ก็ยังมีโอกาสได้รับส่วนแบ่งค่าตอบแทน หรือ Royalty fee เมื่อ NFT นั้นถูกขายต่อไปในแต่ละทอด

งานแบบไหนจึงสามารถนำมาผลิตเป็น NFT ได้?

  • ไม่จำกัดรูปแบบงานศิลปะ
  • เป็นภาพถ่าย ภาพวาด ดนตรี วิดีโอ หรือแม้กระทั่งข้อความใน Twitter ก็ยังได้
  • กระบวนการแปลงไฟล์ผลงานศิลปะให้กลายเป็น NFT เรียกว่า การ “Mint” NFT
  • ทำได้โดยการอัปโหลดผลงาน ผ่าน Marketplace ต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็น Marketplace ที่รองรับ Ethereum Blockchain
  • ตัวอย่าง Marketplace ที่เป็นที่นิยม เช่น OpenSea, SuperRare และ Foundation
  • โดยอาจมีการกำหนดเงื่อนไข ขั้นตอน หรือค่าตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป

การขาย NFT ≠ การขายลิขสิทธิ์

  • ผู้ที่เป็นเจ้าของผลงานศิลปะจะยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานชิ้นนั้น
  • เว้นแต่ว่าจะได้ระบุเอาไว้ว่ายินยอมจะโอนลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นไปพร้อมกัน
  • ดังนั้นผู้ที่จะนำผลงานศิลปะไปทำ NFT ต้องมั่นใจว่างานชิ้นนั้นเป็นผลงานของตัวเอง ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของใคร

ข้อควรระวังในการขาย NFT

  • การขาย NFT ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเป็นตลาดซื้อขายที่มีการแข่งขันสูง
  • อาจมีต้นทุนสูงจากค่า Gas ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียม
  • ในกระบวนการผลิต NFT ก็อาจมีราคาสูงในช่วงที่มีการทำธุรกรรมจำนวนมาก
  • ผู้ที่ตั้งใจจะหารายได้จากการขาย NFT อย่างจริงจังจึงควรที่จะมีการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดควบคู่ไปกับการศึกษาโอกาสและความเสี่ยงในตลาด NFT

อ่านเพิ่มเติม NFT คืออะไร?: The NFT Bible — Part 1

อ่านเพิ่มเติม กรณีศึกษา NFT กับอนาคตของวงการเพลง มีประเด็นไหนน่าสนใจบ้าง?

อ่านเพิ่มเติม ยิ่งเล่นยิ่งได้! มัดรวมเกม NFT Play-to-Earn น่าเล่น ที่สายเกมไม่ควรพลาด

อ่านเพิ่มเติม 6 อันดับเหรียญคริปโตสาย NFT ที่น่าจับตามอง

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"