SSF กองไหนดี ซื้อได้เท่าไร? พร้อมโพยรวมสุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษี

ปัญหาใหญ่ของผู้มีรายได้ทุกคนคงหนีไม่พ้นการต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนมาก กองทุนลดหย่อนภาษีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ตัวผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องซื้อกองทุนลดหย่อนเหล่านี้ทุกปี …. ไม่ใช่ไม่อยากจ่ายภาษี แต่ถ้ามันมีวิธีลดหย่อนได้ทำไมจะไม่ทำ? 

หลังจากที่ LTF หมดสิทธิ์ลดหย่อนภาษีแล้ว กลายเป็น SSF แทน เลยทำให้หลาย ๆ คนอาจจะงงนิดหน่อย วันนี้ผมเลยอยากสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ผมหามา Cross-Check เรียบร้อยแล้วว่าข้อมูลอัปเดตล่าสุดแน่นอนในแต่ละส่วน

รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

สารบัญ

  1.   SSF คืออะไร? ต่างกับ RMF อย่างไร?
  2.   ใครควรซื้อ/ไม่ควรซื้อ SSF
  3.   วิธีเลือก SSF แบบละเอียด
  4.   สิ่งที่ต้องระวังก่อนซื้อ SSF
  5.   ซื้อ SSF ที่ไหนสะดวกสุด
  6.   10 อันดับกองทุน SSF ผลตอบแทนดีในรอบ 5 เดือน

กองทุน SSF คืออะไร? 

SSF หรือ Super Savings Fund คือกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีสิทธิพิเศษมากกว่ากองทุนรวมทั่วไปตรงที่รัฐบาลอนุญาตให้สามารถนำจำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ครับ

คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2563

SSF ต่างกับ RMF อย่างไร?

ในความเป็นจริง SSF และ RMF (Retirement Fund) ถือเป็นกองทุนรวมตระกูลลดหย่อนภาษีทั้ง 2 ประเภท แต่มันมีความแตกต่างหลัก ๆ อยู่ตรงเงื่อนไขระยะเวลาตอนที่ขายกองทุนได้ ส่วนที่เหลือคล้าย ๆ กับ SSF ผมสรุปข้อแตกต่างของทั้ง 2 กองทุนให้ในตารางด้านล่างนี้ครับ

SSF กองไหนดี ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2564

คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2563

เงื่อนไขแบบไหนควรซื้อ SSF?

  • ถ้าคุณเป็นคนมีเงินได้เมื่อหักลบกับค่าลดหย่อนแล้วมากกว่า 150,000 บาท คุณต้องจ่ายภาษีแต่ไม่อยากจ่าย (หรือจ่ายไปแล้วแต่อยากขอคืน)
  • ต้องการให้เงินลงทุนเติบโตในระยะยาวแบบไม่เสียโอกาส
  • อยากลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุน เพราะในความเป็นจริงคือเราลดหย่อนภาษีได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกัน, Provident Fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ), ดอกเบี้ยกู้บ้าน หรือกองทุน RMF
  • อยากลงทุนแต่ไม่อยากซื้อ RMF เพราะใช้เวลานานกว่าจะขายได้ สำหรับคนที่อายุน้อยกว่า 45 ปี ซื้อ SSF จะขายได้เร็วกว่า RMF โดย SSF ใช้เวลาถือ 10 ปี
  • เป็นคนที่ฐานภาษีสูง ๆ เช่น 20% ขึ้นไป เพราะการลดหย่อนของคุณจะมีนัยมากกว่าคนที่ฐานภาษี 5% ครับ
  • ต้องการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ อันนี้เหมาะมาก ๆ เพราะ SSF มีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปกติจะทำแบบนี้ได้ต้องซื้อ RMF เท่านั้น
  • สุดท้ายคือทำที่พูดมาข้างบนหมดแล้วจนเต็มโควตา ยังลดหย่อนภาษีไม่หนำใจอยากลดหย่อนเพิ่ม SSF ก็เป็นทางเลือกที่ดีครับ

คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2563

แล้วเงื่อนไขแบบไหนบ้างล่ะที่ ไม่ควร ซื้อ SSF

  • กำลังชักหน้าไม่ถึงหลัง สภาพคล่องเหือดหาย แบบนี้ยอมจ่ายภาษีเถอะครับ การทุ่มซื้อ SSF หรือ RMF เพื่อให้ได้ลดหย่อนภาษี แต่ต้องไปนั่งกู้เงินมาใช้จ่ายอันนี้เสี่ยงมาก
  • รู้สึกว่าการลงทุนมันเสี่ยง แล้วคุณเป็นคนที่ฐานภาษีไม่สูง เช่นจ่าย 5% หรือ 10% ซื้อไปแล้วนั่งจ้องทุกวัน พอมันเหวี่ยงแล้วถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ การลงทุนไม่ได้มีแค่เรื่องของตัวเลข แต่เป็นเรื่องของจิตใจด้วย แบบนี้ไม่ยอมจ่ายภาษี ก็ไปซื้อพวกประกันออมทรัพย์แทนจะดีกว่าครับ
  • หรือคุณอาจจะเป็นอภิมหาโคตรเซียนหุ้นที่เทพมาก ๆ สามารถทำผลตอบแทนได้ 50% ต่อปีต่อเนื่องหลายปีชัวร์ ๆ ซึ่งดีกว่าเอาเงินไปประหยัดภาษีกับ SSF 10-20% + กำไรที่คาดหวังแน่นอน แบบนี้ก็ไม่ต้องซื้อครับ ยอมจ่ายภาษีแล้วเอาเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นเองได้กำไรเยอะกว่า แต่เคสนี้ยากนะเซียนหุ้นรายใหญ่ที่ผมรู้จักยังซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเต็มโควต้าอยู่เลย

โดยสรุปแล้วผมว่า 99% ของคนที่หลุดเข้ามาอ่านบทความ และอ่านมาถึงตรงนี้ได้ ผมว่า … คุณคือคนที่มีรายได้ถึงระดับที่ต้องจ่ายภาษี คุณต้องการลดหย่อนภาษี คุณอาจจะมีการลดหย่อนด้วยวิธีอื่น แต่คุณก็ยังอยากลดหย่อนเพิ่มเติม และที่สำคัญคือคุณมีเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายสามารถลงทุนระยะยาว 10 ปีได้ แบบนี้ต้องซื้อ SSF แล้วครับ !

อ่านเพิ่มเติม ลดหย่อนภาษี: ทุกเรื่องที่ต้องรู้ รวบรวมมาให้แล้ว!

สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

เลือก SSF อย่างไรดี?

หมายเหตุ: เป็นมุมมองกองทุนของ BuffettCode ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับ FINNOMENA นะครับ
ใครอยากทราบกองทุน SSF RMF แนะนำโดย FINNOMENA คลิกที่นี่ครับ

จากข้อมูลของ MorningStar ณ ตอนนี้เรามี SSF อยู่ทั้งสิ้น 250 กอง (ข้อมูลอัปเดตวันที่ 22 มิถุนายน 2565) ซึ่ง SSF แต่ละประเภทมีจุดเด่น และสิ่งที่น่าสนใจแตกต่างกันไป การจะบอกแบบฟันธงว่าใครควรลงทุนแบบไหนคงไม่ได้เพราะแต่ละคนมี “วัตถุประสงค์” ในการลงทุนแตกต่างกัน ดังนั้นผมจะขอแยกข้อมูลของ SSF แต่ละประเภทมาอธิบายไว้ในแต่ละข้อแบบนี้ครับ

เลือกหุ้น หรือตราสารหนี้ดี?

SSF สำหรับสายเสี่ยงต่ำ

ถ้าคุณเป็นคนที่ซื้อ SSF เพราะต้องการลดหย่อนภาษีเป็นหลัก ไม่ได้แคร์มากมายว่าผลตอบแทนต้องโตเท่านู้นเท่านี้ นอกจากนั้นคุณยังเป็นคนที่กลัวขาดทุนด้วย ถ้าเป็นแบบนี้คุณจะเหมาะกับ SSF สายตราสารหนี้ครับ เพราะกองทุนตราสารหนี้เหล่านี้ค่อนข้างมีความผันผวนต่ำ สิ่งที่ต้องระวังคืออาจจะต้องดูเครดิตเรทติ้งดี ๆ เลือกกองตราสารหนี้ที่เป็น Investment Grade (IG) เป็นหลัก 

กองที่ผมชอบที่สุดคือกอง K-FIXEDPLUS-SSF เพราะมีสัดส่วนของเงินฝากประจำ พันธบัตรและตราสารหนี้รัฐบาล กระทรวงการคลังค้ำประกันสูงกว่ากองอื่น ๆ แบบมีนัย ซึ่งส่งผลให้ความเสี่ยงน้อยลงมาก (ค่าความเสี่ยงของกองทุนอยู่ในระดับ 4)

นอกจากนั้นถ้าคุณกลัวมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ไม่เอาความเสี่ยงเลย ตราสารหนี้ก็ยังรู้สึกว่าเสี่ยง งั้นผมขอแนะนำกองที่ลงทุนในตราสารเงิน KFCASHSSF ซึ่งลงทุนหลักในพันธบัตรรัฐบาลของธนาคารแห่งประเทศไทย 95.8% (ค่าความเสี่ยงของกองทุนอยู่ในระดับ 1 ปลอดภัยกว่านี้ไม่มีอีกแล้วจ้า

SSF สำหรับสายลุย

แต่ถ้าคุณเป็นสายผลตอบแทน ลดหย่อนภาษีแล้วก็คาดหวังผลตอบแทนด้วย แบบนี้เลือกได้หลากหลายเลยครับ ขั้นแรกคุณต้องดูก่อนว่าคุณอยากลงทุนในไทยหรือต่างประเทศ?

ถ้าคุณเป็นคนที่เล่นหุ้น มีหุ้นไทยอยู่เยอะ ผมอยากแนะนำให้กระจายความเสี่ยงลงทุน SSF ที่ลงทุนในต่างประเทศครับ ลงทุนกองหุ้นต่างประเทศมีข้อดีคือได้ลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีในตลาดหุ้นไทย ซึ่งแต่ละบริษัทโหด ๆ ทั้งนั้น กองหุ้นต่างประเทศที่ผมชอบในแต่ละหมวดก็จะมี …

  • K-CHINA-SSF กองนี้ลงทุนในจีน โดยมีทั้งหุ้น A-Share และ ADR ที่ Listed ในตลาดสหรัฐฯครับ ปีนี้หุ้นจีนลงมาค่อนข้างมาก แต่ผมคิดว่าอนาคตการเติบโตของจีนยังดีอยู่ ดังนั้นตอนนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนหุ้นจีนระยะยาวครับ
  • ONE-UGG-ASSF กองนี้เน้นหุ้นเติบโต (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยี) เช่น Tesla, Amazon, Tencent, Alibaba, Facebook และ Netflix
  • ONE-DISC-ASSF กองนี้เน้นลงทุนในหุ้นเติบโตทั่วโลก ต่างกับ ONE-UGG-ASSF ตรงที่ตัวนี้เน้นหุ้น Size Mid-Small ซึ่งมีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต
  • K-CHANGE-SSF กองนี้เน้นหุ้นที่เกาะกระแสการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ของโลกเช่น พลังงานสะอาด เทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ ๆ ผลิตชิปคอมพิวเตอร์ หุ้นที่กองทุนนี้ลงทุนก็เช่น Tesla, Moderna ที่ผลิตวัคซีน COVID-19 และ TSMC โรงงานผลิตชิปอยู่เบื้องหลังบริษัทใหญ่ ๆ เช่น Apple
  • TEG-SSF สำหรับสายหุ้นไทย ถ้าอยากได้สไตล์ลงทุนหุ้นเติบโต Mid-Large Cap แบบ Active

ผมขอไม่อธิบายลงลึกในกองทุนแต่ละกองนะครับ แต่เชื่อว่าข้อมูลตรงนี้น่าจะให้ไอเดียได้ระดับนึงสำหรับคนที่ต้องการซื้อ SSF เพื่อผลตอบแทนระยะยาว

อีกทางเลือกหนึ่งกับกองทุนรวมผสม 

ถ้าคุณกลัวความเสี่ยงแต่ก็ยังอยากได้ผลตอบแทน …. การซื้อกองทุนรวมมีข้อดีอย่างหนึ่งคือไม่จำเป็นเสมอไปที่เราต้องเลือกที่จะ “เสี่ยง” หรือ “ไม่เสี่ยง” เพราะกองทุนรวมบางกองมีการรวมเอาสินทรัพย์หลาย ๆ อย่างไว้ในกองเดียว เช่นมีทั้งหุ้น ตราสารหนี้และกองทุนอสังหาฯ เป็นต้น เราเรียกกองทุนประเภทแบบนี้ว่า “กองทุนรวมผสม” ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากเดินทางสายกลาง ไม่เสี่ยงเกินไป แต่ก็ได้ผลตอบแทนที่ไม่ขี้เหร่นัก

ถ้าจะเลือกกองทุนผสมผมอยากให้เน้นเป็นกองทุนผสมที่ผสมจริง ๆ คือไม่เพียงแค่ผสมประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนแต่ควรจะต้องผสมภูมิภาคด้วย คือลงทุนไปหลาย ๆ ประเทศ ในหมวดนี้กองแนะนำขอยกให้ KKP SG-AA-SSF ซึ่งเป็นกองที่เปิดมาแล้วระยะหนึ่ง มี Performance ให้เห็นชัดเจนดี มีการกระจายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ 

ส่วนอีกกองที่อาจจะเป็นม้ามืดคือ UROCK-SSF ของ UOB กองเพิ่งตั้งมาไม่นาน แต่เห็นไส้ในมีกองที่ผมชอบ UGQG ซึ่งลงทุนใน Apple, Microsoft, Amazon อยู่ด้วย และกองนี้ไม่มีหุ้นไทย ถ้าใครหุ้นไทยเยอะอยู่แล้วก็อาจจะลองพิจารณาดูได้ครับ

คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2563

ปันผลหรือไม่ปันผลดีกว่ากัน

คำถามโลกแตกของการเลือก SSF อีกคำถามคือจะเอาแบบปันผลหรือไม่ปันผลดีนะ? จริง ๆ ทั้ง 2 ทางเลือกมีข้อดีข้อเสียต่างกันพอสมควร

ข้อดีของการเอาแบบไม่ปันผลคืออะไร

ไม่ต้องจ่ายภาษีปันผลครับ ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 10% นอกจากนั้นยังได้เก็บเงินและผลกำไรไปลงทุนต่อได้เต็ม ๆในกอง SSF เดิม เรียกได้ว่าถ้าเลือกกองมาดีแล้วผลตอบแทนที่ได้น่าจะดีกว่าเอาปันผลออกมาระดับหนึ่งเลยครับ

แล้วข้อดีของการปันผลล่ะ

สิ่งที่ผมเห็นชัดที่สุดคือการได้เงินกลับคืนมาก่อนส่วนหนึ่งครับ ต้องอย่าลืมว่า SSF เป็นการลงทุนระยะยาว 10 ปี กว่าจะได้เงินคืนคืออีก 10 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเลือกแบบปันผลและได้เงินกลับมาบางส่วนก่อน 10 ปี? แต่แน่นอนก็ต้องแลกมาด้วยภาษีที่ต้องจ่าย และถ้าเอาเงินมาไม่รู้จะไปทำอะไรไปฝากออมทรัพย์ผมก็อยากแนะนำว่าอย่าเอาแบบปันผลเลยครับ ถ้าไม่ได้ต้องการใช้เงินจริง ๆ เอาเงินไปลงทุนต่อดีกว่า

ข้อดีก็ประมาณนี้ ส่วนข้อเสียก็ตรงข้ามกับข้อดีที่เขียนไปครับ ลองพิจารณากันดู ซึ่งถ้าใครอยากได้กอง SSF แบบปันผลผมรวบรวมรายชื่อมาให้ไว้แล้วครับ มีทั้งหมด 7 กองคือ LHSMARTDSSF-SSF, LHPROPA-DSSF, KFDIVSSF, SCBDV-SSF, SCBLT1-SSF, MPDIVSSF และ I-SEQS-DSSF

ลงทุนในไทยหรือไปต่างประเทศ

ถ้าถามคำถามนี้ก็ต้องบอกตรง ๆ ว่าผมเอียงไปทางลงทุนหุ้นต่างประเทศมากกว่าครับ เพราะนักลงทุนไทยส่วนใหญ่มักจะมีหุ้นไทยอยู่แล้ว คนเล่นกองทุน 95% ทุกคนมีพอร์ตหุ้น ดังนั้นก็ควรจะกระจายความเสี่ยงไปลงต่างประเทศด้วย เรื่องความเสี่ยงประเทศไทยมีหลายเรื่องด้วยกัน ที่เห็นไม่ค่อยชัดมีเยอะผมไม่ขอพูดถึง 555 

แต่ที่เห็นชัด ๆ คือสินทรัพย์ในการลงทุนบ้านเราไม่ค่อยหลากหลายเหมือนต่างประเทศ หุ้นหลาย ๆ ตัวที่บ้านเราบอกว่าแข็งแกร่งแล้ว ใหญ่แล้ว พอไปเทียบกับตลาดหุ้นโลกกลายเป็นกระต่ายน้อยท่ามกลางเสือสิงห์กระทิงแรด หุ้น Technology ดี ๆ หุ้นแบรนด์ดัง ๆ หุ้นธุรกิจ Model ใหม่ ๆ กอง Infrastructure จี๊ด ๆ กองทุน Data Center โหด ๆ ประเทศไทยไม่มีกับเขาครับ

กองที่อยากแนะนำถ้าเป็นหุ้นก็ตามที่ผมเขียนไปแล้วใน SSF สายลุยข้างบน แต่ถ้าไม่เอาหุ้นล่ะ? งั้นผมขอแนะนำกองในตำนานกองนี้ครับ PRINCIPAL IPROPEN-SSF ปกติจะลงกองนี้ต้องลงกองทุนรวมธรรมดาไม่ก็ RMF ตอนกองนี้ประกาศออก SSF ผมดีใจมาก เพราะมันหมายความว่าผมสามารถลงทุนในพวกกองทุนอสังหาฯ กอง Infrastructure ดี ๆ ในเอเชียได้แล้วโดยไม่ต้องซื้อ RMF แล้วรอถึงอายุ 55 ถึงจะขายได้

อย่างไรก็ตาม คนที่สนใจซื้อต้องรู้นะครับว่ากองนี้มันไม่ได้ลงทุนในกองอสังหาฯ ที่เหมือนกับ PRINCIPAL iPROP เป๊ะ ๆ PRINCIPAL IPROPEN-SSF เน้นลงทุนใน ETF อสังหาฯ ของออสเตรเลีย และญี่ปุ่น มีหมดทั้งออฟฟิศ ศูนย์การค้า คลังสินค้า และโรงแรม แต่ถ้าอยากได้แบบกอง PRINCIPAL iPROP แบบเป๊ะ ๆ เลยต้องไปลง PRINCIPAL IPROPRMF ครับ

กรณีไหนถึงจะซื้อ SSF หุ้นไทย

การลงทุนทุกอย่างมีเงื่อนไขและข้อยกเว้นที่ต้องศึกษาครับ แม้ผมเองจะไม่ค่อยอินกับ SSF หุ้นไทย (เพราะส่วนตัวก็มี LTF หุ้นไทยเยอะอยู่แล้ว) แต่ก็อาจจะมีเพื่อน ๆ หลายท่านที่เพิ่งซื้อ SSF ไม่ได้ลงทุนเองนอกเหนือจากกองทุนลดหย่อนเลย และเชื่อว่าในระยะยาวอย่างน้อย ๆ 10 ปีประเทศไทยยังเติบโตได้ ถ้าเงื่อนไขแบบนี้ SSF หุ้นไทยจะดูเหมาะสมกับความต้องการมากครับ กองหุ้นไทยที่ผมอยากแนะนำมี 2-3 กองด้วยกัน

  • เน้นหุ้นใหญ่ไป SET50 แนะนำ KKP SET50 ESG-SSF ครับด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ากอง SET50 จาก บลจ. อื่นแบบมีนัย
  • แต่ถ้าอยากได้หุ้นเล็กซิ่ง ๆ ต้อง ASP-SME-SSF ครับ ตอนนี้มี บลจ. เดียวที่ออกสไตล์นี้
  • อยากให้ ผจก. กองทุนเลือกหุ้นให้แบบเน้น ๆ จริง ๆ ไม่มีกองที่ผมชอบเป็นพิเศษ แต่ถ้าอยากได้จริง ๆ ผมว่า PRINCIPAL TDIF-SSF น่าสนใจตรงการลงทุนที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เมื่อเปรียบเทียบกับกองอื่น ๆ หรือ BEQSSF ที่ถือกลุ่มพลังงานน้อยกว่าเพื่อน แต่มีการลงทุนในกลุ่มค้าปลีก ขนส่ง และอาหารที่ปีนี้ค่อนข้าง Defensive

ข้อสังเกตถ้าอยากลงทุน SSF หุ้นไทยคือ ทุก ๆ คนคงรู้กันอยู่แล้วว่าที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยไม่ค่อยดี เราเจอกับความท้าทายหลากหลายมาก ๆ ผมว่าการลงทุนในหุ้นไทยตอนนี้ไม่ใช่การคาดหวังการเติบโตแต่เป็นการคาดหวังการฟื้นตัวในระยะยาว 5-10 ปี ดังนั้นถ้าเข้าไปลงทุนตอนนี้ก็ต้องรอกันหน่อยครับ แล้วอย่าไปอิง Performance ย้อนหลังมาก เพราะตัวเลขมันจะไม่สวยแน่ ๆ และการลงทุนเป็นเรื่องของมุมมองในอนาคต ถ้าคุณมองว่าดีก็สามารถลงทุนได้ครับ

สิ่งที่ต้องระวังก่อนซื้อ SSF

การลงทุนและลดหย่อนภาษีถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ยังมีบางกรณีที่อาจจะไม่ควรซื้อ SSF และเงื่อนไขที่เราต้องมั่นใจว่าไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขด้วยเช่นกัน

คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2563

อายุ 45 แล้วซื้อ SSF หรือ RMF ดีกว่า

  • เนื่องจากถ้าคุณอายุ 45 ขึ้นไปจำนวนปีที่คุณต้องถือ SSF กับ RMF จะไล่เลี่ยกันมาก ๆ คือ 10 ปี ถ้าแบบนี้จะซื้อ SSF หรือ RMF ก็ได้ครับ 
  • แต่ถ้าคุณอายุแถวๆ 50 การซื้อ RMF ไปเลยจะดีกว่าเพราะคุณถือแค่ 5 ปีครับ แล้วถ้าเงินเหลืออยากลดหย่อนเพิ่มค่อยเติม SSF เอา RMF เป็นหลักก่อน
  • ถ้าอายุเกิน 55 แล้วยังทำงานอยู่ก็สามารถซื้อ RMF มาลดหย่อนภาษีได้นะครับและถือแค่ 5 ปีเท่านั้น
  • อย่าลืมเงื่อนไขของ RMF ว่าต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีนะครับ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปไม่มีขั้นต่ำในการลงทุนครับ ซื้อขั้นต่ำตามกองทุนที่ท่านไปลงได้เลย
  • และอย่าลืมว่าปีนี้ RMF ปรับสัดส่วนการลดหย่อนเป็น 30% ของเงินได้พึงประเมินแล้วครับ

คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2564

ซื้อ SSF บลจ.ไหนสะดวกสุด?

เนื่องจากการซื้อ SSF สามารถเปลี่ยนกองทุนได้ในกรณีที่เราไม่พอใจในผลตอบแทน การจัดการหรืออะไรก็ตาม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งอาจมีค่าธรรมเนียม และมีช่วงระยะเวลาในการสับเปลี่ยนระดับหนึ่ง ถ้าคุณสับเปลี่ยนข้าม บลจ. 

ดังนั้นเพื่อความสะดวกสบายในการสับเปลี่ยน การซื้อ SSF ของ บลจ. ที่มีกองทุนหลากหลายจะทำให้ได้เปรียบกว่า SSF ของ บลจ. ที่มีกองทุนน้อย ๆ ไม่หลากหลาย

ในจำนวน บลจ. ทั้งหมดผมชอบของ Krungsri มากที่สุด เพราะมีกอง SSF ที่ลงทุนในตราสารเงิน ตราสารหนี้ ตราสารทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงกอง Asset Allocation และกองทุนแบบปันผล

นอกจากนี้ FINNOMENA ก็มีเปิดบัญชีให้ซื้อกองทุนประหยัดภาษีทั้ง SSF RMF ได้ด้วย ช่วยเลือกกองเด็ด ๆ มาให้ด้วย กดเปิดจากที่บ้าน ทีเดียวซื้อได้หมด ไม่ต้องส่งเอกสาร สับเปลี่ยนกองทุนได้อีกด้วยนะ

สำหรับลูกค้าใหม่ อ่านวิธีเปิดบัญชีซื้อกองทุน Tax Saving เพิ่มเติม คลิก
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
สำหรับลูกค้าเก่า เปิดแอปพลิเคชัน แล้วเลือกสร้างแผน “Tax Saving” ได้เลย

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดบัญชี FINNOMENA ได้ที่

10 อันดับกองทุน SSF ผลตอบแทนดีในรอบ 11 เดือน

SSF กองไหนดี ซื้อได้เท่าไร? พร้อมโพยรวมสุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษี

1. TISCOWB-SSF (+10.24%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ/หรือ ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และ/หรือมีความมั่นคง และ/หรือมีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางธุรกิจ โดยจะเน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET Well-being (SETWB)

ระดับความเสี่ยง: 6

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ซื้อกองทุน TISCOWB-SSF คลิก

2. KKP SET50 ESG-SSF (+3.17%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET50 โดยคัดเลือกหลักทรัพย์ตามเกณฑ์ที่บริษัทจัดการกำหนด เช่น ปัจจัยพื้นฐานนโยบายดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เป็นต้น

ระดับความเสี่ยง: 6

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ซื้อกองทุน KKP SET50 ESG-SSF คลิก

3. LHSTRATEGY-ASSF (+3.17%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยจะเน้นการลงทุนด้วยการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนให้มีความผันผวนต่ำ เพื่อลดความผันผวนของการลงทุนโดยรวมของกองทุนให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด

ระดับความเสี่ยง: 6

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ซื้อกองทุน LHSTRATEGY-ASSF คลิก

4. KFENS50SSF (+3.13%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET50 โดยส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ สถาบันการเงิน บริษัทเอกชน หรือเงินฝากธนาคาร

ระดับความเสี่ยง: 6

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ซื้อกองทุน KFENS50SSF คลิก

5. LHSTRATEGY-DSSF (+3.08%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยจะเน้นการลงทุนด้วยการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนให้มีความผันผวนต่ำ เพื่อลดความผันผวนของการลงทุนโดยรวมของกองทุนให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด

ระดับความเสี่ยง: 6

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ซื้อกองทุน LHSTRATEGY-DSSF คลิก

6. PRINCIPAL SET50SSF-SSF (+2.76%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี SET50 โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างผลตอบแทนของกองทุนรวมให้เป็นไปตามการเคลื่อนไหวของดัชนีผลตอบแทนรวม SET50

ระดับความเสี่ยง: 6

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ซื้อกองทุน PRINCIPAL SET50SSF-SSF คลิก

7. BEQSSF (+2.65%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)

ระดับความเสี่ยง: 6

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ซื้อกองทุน BEQSSF คลิก

8. BM70SSF (+2.17%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)

ระดับความเสี่ยง: 6

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ซื้อกองทุน BM70SSF คลิก

9. PRINCIPAL TDIF-SSF (+1.77%) — ลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีแนวโน้มการเติบโตในทางธุรกิจ หรือบริษัทที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดี

ระดับความเสี่ยง: 6

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ซื้อกองทุน PRINCIPAL TDIF-SSF คลิก

10. KFS100SSF (+1.65%) — ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนี SET100 เพื่อให้กองทุนมีผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีผลตอบแทนรวม SET100 (SET100 TRI)

ระดับความเสี่ยง: 6

มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

ซื้อกองทุน KFS100SSF คลิก

ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังจาก FINNOMENA FUND Filter จัดอันดับ ณ วันที่ 1 ธ.ค. 2565 อัปเดตตัวเลข ณ วันที่ 30 พ.ย. 2565

สามารถกรองการจัดอันดับได้เอง พร้อมข้อมูลอัปเดตล่าสุดที่ FINNOMENA Fund Filter

สรุปการลงทุนใน SSF

จากข้อมูลที่ผมสรุปมาให้ทั้งหมดจะเห็นว่าการลงทุนใน SSF จะว่าง่ายมันก็ง่าย จะว่ายากมันก็อยาก ขึ้นอยู่ที่ความต้องการของแต่ละคน และความจริงจังในการลงทุน แต่ที่แน่ ๆ เลยคือเงื่อนไขของกองมันยุบยิบมาก ๆ ทำเอาหลาย ๆ คนกลัวและมึนงงกันไป โดยเฉพาะเพื่อน ๆ ที่เพิ่งเคยลดหย่อนภาษีเป็นครั้งแรก ผมหวังว่าข้อมูลครั้งนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อน ๆ ทุกคน ลงทุนและลดหย่อนภาษีกันอย่างถูกต้องนะครับ ^_^

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SSF-RMF

ส่วนใครยังลังเลอยู่ว่าจะซื้อกองทุน SSF และ RMF กองไหนดี? FINNOMENA มีจัดโพยชุดกองทุนประหยัดภาษีแบบเต็มแมกซ์สำหรับนักลงทุนทุกสายมาให้แล้ว ให้นักลงทุนทุกท่านได้เลือกกันเต็มที่ อ่านรายละเอียดได้ที่

และใครที่ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ SSF และ RMF พร้อมมีกองทุนในดวงใจแล้วก็สามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเปิดบัญชีกองทุน Tax Saving กับ FINNOMENA แล้วเริ่มลงทุนได้เลย! ซึ่งวันนี้ทาง FINNOMENA ก็มีความคุ้มแบบฟินฟินมานำเสนอให้ลูกค้าใหม่เช่นกัน เปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA วันนี้ คุ้มที่ 1 รับฟรี! 100 FINT โดยสามารถนำ 100 FINT มาแลกรับ Cashback เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมการซื้อกองทุนได้สูงสุดถึง 2,000 บาท คุ้มต่อที่ 2 หากเปิดบัญชีกองทุนลดหย่อนภาษี SSF-RMF ด้วย วันนี้ รับฟรี! หน่วยลงทุนกองทุน KCASH เพิ่มอีกมูลค่า 100 บาท โปรโมชันคุ้ม ๆ แบบนี้มีถึงแค่วันที่ 31 ธันวาคม 2565 เท่านั้นนะ ดูรายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติมได้ ที่นี่

คุ้มฟินฟิน ประหยัดภาษีกับ FINNOMENA
คุ้มที่ 1 เปิดบัญชี รับฟรี! 100 FINT
คุ้มที่ 2 เปิดบัญชีกองทุนลดหย่อนภาษี รับฟรี! KCASH 100 บาท
👉 รับสิทธิ์โปรโมชั่น คลิก >>> https://finno.me/tax-super-khum-promotion

May the Tax “Not” be with you.
Happy Investing krub.
BuffettCode


Jessada Sookdhis
Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TSF2024