buffett-code-nightmares-bh

หุ้น BH ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ 260 บาทช่วงเดือนสิงหาคมปี 2015

ปัจจุบันหุ้น BH ลงจาก 260 มาอยู่ที่ประมาณ 180 บาทหรือลดลงมาประมาณ 30% จากราคาสูงสุด

รายได้ที่เคยเติบโตก็เริ่มมีการติดลบ

คำถามคือที่ราคานี้ BH เป็นหุ้นที่น่าซื้อหรือไม่? ราคาจะลงไปอีกหรือเปล่า?

BH ซึ่งเติบโตมาจากลูกค้าชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอาหรับจะกลับมาเติบโตได้อีกมั้ย?

เรามาเริ่มต้นด้วยอดีตของ BH กันก่อน เมื่อ 16 ปีก่อน

ครั้งหนึ่ง BH เคยเป็นรพ.ที่มีคนไข้ส่วนใหญ่เป็นคน “ไทย”

ในปี 2001

BH มีสัดส่วนรายได้จากคนไข้ตปท. แค่ 35% ที่เหลือเป็นรายได้จากคนไข้ไทย 65%

ในปี 2006

BH รายได้คนไข้ตปท.สูงขึ้นจาก 35% เป็น 54% รายได้จากกลุ่มนี้โต 22% มีคนไข้ต่างชาติมากถึง 430,000 รายโดยมีคนไข้อาหรับเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เติบโตสูงสุด

การเติบโตครั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากเหตุการ 9/11 ในปี 2000 ทำให้ชาวอาหรับจำนวนมากที่ต้องการเดินทางไปรักษาตัวที่สหรัฐฯทำได้ยากขึ้น ผลประโยชน์จึงมาตกที่รพ.ดีๆในแถบ Asia หนึ่งในนั้นคือ BH

ในปี 2008

กระทรวงสาธารณะสุขของอาบูดาบี UAE ได้ตั้งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับประชาชนชื่อว่าโครงการ Thiqa ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายเงินรักษาพยาบาลเองแต่ถ้าบินมารักษาในรพ.ที่อยู่ต่างประเทศทางประกันสุขภาพจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ 90%

โครงการนี้ทำให้การบินมารักษาพยาบาลที่ประเทศไทยถือว่าคุ้มค่ามากนอกจากจะได้บริการที่ดี, ไม่ต้องจ่ายแพง BH ก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้เพราะคนที่มาก็มักจะมารักษาโรคที่ค่อนข้างร้ายแรงซึ่งมีมูลค่าสูง (ไม่งั้นคงไม่บินมาถึงเมืองไทยมะ?)

พอมากันเยอะๆสถานที่ของ BH ก็เริ่มไม่พอทำให้ BH ต้องปรับกลยุทธเอาเฉพาะลูกค้าที่มีการใช้จ่ายสูงเท่านั้น ด้วยการมีราคาการรักษาเรทเดียวไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติก็ราคาเท่ากัน นอกจากนั้นยังขึ้นราคารัวๆ 8 ปีที่ผ่านมาขึ้นราคาไป 11 ครั้งประมาณ 2-5% ต่อครั้ง แต่ก็ยังไม่พอต่อความต้องการอีก BH จึงต้องพยายามลงทุนสร้าง Facility ใหม่ๆอย่างต่อเนื่องเพื่อให้รองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น

ในปี 2015

รายได้ต่างประเทศของ BH มีสัดส่วนสูงสุดที่ประมาณ 65% ของรายได้รวม

ประเทศที่ Contribute สูงสุดก็คือ UAE ที่ 7.4% Oman 6.4% Kuwait 2.7% Qatar 2.6% รวมกันก็ประมาณ 19% เป็นอาหรับ หลังจากนั้นรายได้จากประเทศอาหรับก็เริ่มตกลงจากราคานํ้ามันที่ลดลงทำให้เศรษฐกิจของประเทศอาหรับเหล่านั้นชลอตัว การจะมาบินมารักษาที่เมืองไทยก็คงต้องลดน้อยลงตาม

นอกจากราคานํ้ามันที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอาหรับโดยรวมแล้ว รัฐบาล UAE ซึ่งมีรายได้ลดลงก็ต้องการประหยัดเงิน จึงสั่งปรับโครงการ Thiqa ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ปกติรับผิดชอบ 90% มาเหลือแค่ 50% เท่านั้นเว้นแต่โรคนั้นจะรักษาในอาบูดาบีไม่ได้จะรับผิดชอบให้ 80%

และหากต้องการรักษาพยาบาลในรพ.เอกชนในประเทศจากปกติที่ต้องจ่าย 20% ตอนนี้ไม่ต้องจ่ายเลย

ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลให้คนไข้จาก UAE ต้องลดลงแน่นอนเพราะต้องจ่ายเงินเองมากขึ้นเมื่อมารักษาตัวต่างประเทศ ขณะที่รพ.เอกชนในประเทศรักษาฟรี

ล่าสุด Qatar กำลังจะเปิด Medical City ขนาดใหญ่ที่ปลายปี 2017 มีจำนวนเตียง 559 เตียง มูลค่าประมาณ 23,000 ลบ. หากวัดที่จำนวนเตียงก็ขนาดพอๆกับ BH ส่วน Kuwait เองก็กำลังจะเปิด Hospital Complex เช่นกันโดยมีขนาด 1,168 เตียงและมุลค่าประมาณ 35,000 ลบ.ซึ่งน่าจะเปิดบริการไปแล้ว

ปัญหาหลักๆตอนนี้มี 2 อย่างคือราคานํ้ามันที่ส่งผลกระทบโดยรวม และการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นฐานอย่างการเปลี่ยนเงื่อนไขประกันของ UAE และการสร้างรพ.ขนาดใหญ่ที่ Qatar และ Kuwait ดูจากกลยุทธปีล่าสุดของ BH ก็เหมือนจะรู้แล้วว่าจะพึ่งแต่คนไข้อาหรับอย่างเดียวคงไม่ได้ แล้วก็อยู่ที่เวลาแล้วว่า BH จะสามารถหาคนไข้ใหม่ๆมาทดแทนคนไข้อาหรับเดิมได้เร็วแค่ไหนและจะหาคนไข้มาเติมเต็มตึกใหม่ๆที่กำลังสร้างได้ยังไง เพราะด้วยตัวธุรกิจของ BH เองก็พร้อม ทีมงานเองก็เก่งอยู่แล้ว ในเชิงคุณภาพคงไม่มีใครสงสัยแต่จะอยู่ที่เมื่อไหร่จะตื่นจาก “ฝันร้าย” นี้มากกว่า

ข้อมูลเพิ่มเติม : บทวิเคราะห์ของ CIMB

https://www.scribd.com/document/295555453/IHH-Healthcare-Berhad-Prospectus

http://knowledge.wharton.upenn.edu/article/enlisting-top-providers-abu-dhabi-transitions-to-a-private-health-care-model/

http://healthcare.africa-business.com/abu-dhabi-healthcare/

https://dohanews.co/tag/hamad-bin-khalifa-medical-city/

http://www.arabianbusiness.com/mideast-s-largest-hospital-open-in-kuwait-by-end-of-2016-651711.html

ที่มาบทความ : http://buffettcode.com/ฝันร้ายของ-บำรุงราษฎร์