จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ากว่าเจ้าสัวธนินท์แห่ง CP จะ “มีวันนี้” ไม่ใช่แค่เงินล้านแต่เป็นหลายแสนล้าน เขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง สิ้นเนื้อประดาตัวมาเท่าไหร่
บทความวันนี้จะขอถ่ายทอดบทเรียนครั้งสำคัญที่ไม่ใช่ความสำเร็จแต่เป็นความล้มเหลวแบบ “ยับเยิน” ตลอดชีวิตของเจ้าสัวธนินท์ เจ้าสัวล้มเหลวครั้งใหญ่ หลายครั้งแต่ก็ไม่เคยยอมแพ้ นี่คือหนึ่งในตำนานเงินล้านของคนไทยที่น่าจดจำที่สุดคนหนึ่ง
บทเรียนที่ 1 – สิ้นเนื้อประดาตัว หยามได้ตายไม่ได้
แม้วันนี้ครอบครัวเจียรวนนท์จะมีทรัพย์สินหลายแสนล้าน แต่ในอดีตตอนที่ตั้งตระกูลนั้นเคย “เกือบหมดตัวมาก่อน” ในช่วงเปลี่ยนการปกครองของจีน การขึ้นมามีอำนาจของเหมาเจ๋งตุงทำให้เกิดการกวาดล้างผู้มีอำนาจและนักธุรกิจใหญ่ทั้งหมด รัฐบาล “ริบ” คืนที่ดินทำกินของชาวบ้านเพื่อเอาไปสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ คุณพ่อของเจ้าสัวธนินท์ถือเป็นหนึ่งในชาวบ้านผู้เคราะห์ร้าย ที่ถูกริบทรัพย์สินไปทั้งหมด โชคยังดีที่พ่อของเจ้าสัวป่วยจึงขออนุญาติเดินทางออกจากประเทศไปรักษาตัว ทำให้รอดชีวิตมาได้ “เสียอะไรก็ได้แต่อย่าเสียชีวิต”
บทเรียนที่ 2 – โอกาสในวิกฤต ทองบนกองเลือด
เจ้าสัวธนินท์ตกงานครั้งแรกตอนอายุ 25 ปี ตอนนั้นท่านทำงานอยู่ที่สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย แต่วันดีคืนดีสหภาพโซเวียตเกิดความขัดแย้งกัน จึงยกเลิกการสนับสนุนเงินกู้แก่จีน เศรษฐกิจจีนพังชั่วข้ามคืน สหภาพโซเวียตไม่ค้าขายกับจีนแล้ว จีนจึงส่งไข่ไก่มหาศาลไปขายที่ฮ่องกงแทน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ไข่ไก่ราคาตกหนักมาก สหกรณ์ที่เจ้าสัวธนินท์ทำงานอยู่เจ๊งไม่เป็นท่า พยายามแก้ไขปัญหาก็ทำไม่ได้เพราะปัญหาเป็นเรื่องระดับชาติ เจ้าสัวธนินท์ตกงาน กลับบ้านไปช่วยงานบ้าน แต่วิกฤตในครั้งนั้นกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเจ้าสัวธนินท์และอาณาจักร CP ในวันนี้ ในวิกฤตมีโอกาส เจ้าสัวธนินท์เปรียบดั่งทองบนกองเลือด
บทเรียนที่ 3 – รวยได้ ก็เครียดเป็น
เมื่อธุรกิจเติบโต เจ้าสัวธนินท์จำเป็นต้องจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาบริหารงานแทนที่พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมสร้างกันมา ที่เจ้าสัวลำบากใจที่สุดคือการเชิญพี่สาวคนโตซึ่งคุมตำแหน่งงานบัญชีของบริษัทออก พี่ของท่านเป็นคนดี ซื่อสัตย์และไม่เห็นแก่ตัว แต่ด้วยความจำเป็นเจ้าสัวจึงต้องจำใจทำ เพราะถ้ามีแต่เครือญาติพี่น้องของเจ้าของบริษัทบริหารงาน ใครจะกล้าเข้ามาทำงานด้วย?
บทเรียนที่ 4 – ต้มยำกุ้ง
ก่องวิกฤตต้มยำกุ้ง บริษัทไทยหลายบริษัทได้กู้เงินต่างชาติมาทำธุรกิจเพราะดอกเบี้ยถูก รวมไปถึงกลุ่ม CP ด้วย พอเกิดวิกฤตหนี้สินของกลุ่มทวีคูณขึ้นชั่วข้ามคืน CP จากมหาอำนาจในตอนนั้นเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทใกล้เจ๊ง เพราะหนี้สินท่วมหัว เจ้าสัวเพื่อรักษาธุรกิจเอาไว้จำเป็นต้องขาย “ของดี” ซึ่งก็คือแมคโครและโลตัสออกไป เอาเงินไปใช้หนี้ก่อน ทำให้ CP รอดมาได้อย่างหวุดหวิด ตอนหลังเจ้าสัวกลับไปซื้อคืนมาในราคาที่แพงกว่าที่ขายไปมหาศาล ขาดทุนจากตอนขายไปหลายพันล้าน
บทเรียนที่ 5 – แม่ …
ในช่วงสุดท้ายของชีวิตคุณแม่ของเจ้าสัว เจ้าสัวเอาแต่ยุ่งอยู่กับงานจึงไม่มีเวลาให้แม่มากนัก สุดท้ายแม่จากไปอย่างรวดเร็วสร้างความเสียใจให้แก่เจ้าสัวจนถึงทุกวันนี้ เพราะไม่ว่าจะมีกี่หมื่นกี่แสนล้าน ก็เอาแม่กลับมาไม่ได้ หลังจากนั้นท่านจึงแบ่งเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น
กว่าอาณาจักร CP จะมาถึงจุดนี้ได้ชีวิตท่านเจ้าสัวธนินท์ต้องผ่านทั้งน้ำตา ทั้งสูญเสียเงิน และคนสำคัญไปมากมาย อาณาจักรแสนล้านไม่ได้สร้างอยู่บนกลีบกุหลาบฉันใด เงินล้านของเราและท่านก็ไม่ได้สร้างบนความสุขฉันนั้น แต่ต้องผ่านเรื่องทุกข์ ทรมานมากมาย ขอเป็นกำลังใจให้กับคนไทยที่ยังไม่ยอมแพ้ให้สู้ต่อไปครับ
BuffettCode
เริ่มต้นสร้างเงินล้านของคุณ ผ่านแผนลงทุนในกองทุนรวมด้วยแอป LINE คลิกเลย!
https://www.finnomena.com/line/intro