ปลายปีกันแล้วก็ไม่แคล้วต้องพูดถึงเรื่องกองประหยัดภาษี หลังจากได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ หรือพี่เลี๊ยก ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือกของ บลจ.กรุงศรี
เรื่องการกระจายการลงทุนไปต่างประเทศผ่านกองทุนประหยัดภาษีทั้ง 3 กองทุนที่เรียกได้ว่ามีความโดดเด่น มีความเก่งคนละอย่าง KFGBRANSSF/KFGBRANRMF ลงทุนในผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ดังที่อยู่รอบตัวเราเช่น Dettol, Strepsils และ Durex รวมไปถึงสินค้าในชีวิตประจำวันต่าง ๆ สำหรับคุณผู้ชายอย่าง Gillette หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่แม่บ้านต้องมีติดตัวอย่าง Vanish
ส่วน KFGTECHRMF ก็เป็นกองทุนที่ลงทุนเน้นหุ้นเทคโนโลยีสาย Software, Internet และ Semiconductor ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Amazon, Netflix และ Salesforce
กองไหนดีกว่า เด่นกว่ายังไง ผมขออนุญาตเป็นตัวแทนนักลงทุนในการเจาะลึกข้อมูล เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อกองทุนประหยัดภาษีในช่วงโค้งสุดท้ายของปีครับ
กองทุนแรก KFGBRANSSF และ KFGBRANRMF หลายๆท่านน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะถือเป็นกองทุนที่มี Theme การลงทุนหลักคือ “แบรนด์” ลงทุนในบริษัทข้าวของแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียง เลียนแบบยากและมีฐานลูกค้าทั่วโลก อีกทั้งยังลงทุนในบริษัทที่มีสินค้าที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้กระแสรายได้ของบริษัท มีความมั่นคงกว่า และผันผวนต่ำกว่าหากเกิดวิกฤติ
กลยุทธ์การลงทุนของ KFGBRANSSF และ KFGBRANRMF
KFGBRANSSF และ KFGBRANRMF มีกลยุทธ์ในการเลือกลงทุน 3 อย่างด้วยกันคือ
ลงทุนในบริษัทที่มีแบรนด์แข็งแกร่งและมี Loyalty – ข้อดีของการมีแบรนด์แข็งแกร่ง และ Loyalty สูงคือ ลูกค้าจะติดสินค้าของบริษัทมากๆ จนราคาไม่ใช่ประเด็นหลักในการเลือกซื้อ และทำให้สุดท้ายแม้บริษัทจะขึ้นราคาสินค้าก็ยังขายดีอยู่
ลงทุนในบริษัทที่ทำสินค้าหรือบริการที่คนใช้ในชีวิตประจำวัน – สินค้าที่คนใช้ในชีวิตประจำวันหมายความว่าไม่ว่าเศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดีคนก็ยังต้องใช้ เศรษฐกิจดีหรือไม่คนก็ยังต้องใช้สบู่อาบน้ำ คนก็ยังต้องซื้อน้ำยาถูพื้นมาถูพื้น
เลือกหุ้นคุณภาพสูง แบบ High Conviction – กองทุนนี้ลงทุนในหุ้นเน้น ๆ เพียง 32 ตัวเท่านั้นนะครับ โดยหุ้น 10 ตัวแรกของกองทุนมีสัดส่วนสูงถึง 57.4%
KFGBRANSSF/KFGBRANRMF ลงทุนในอะไรบ้าง?
KFGBRANSSF/KFGBRANRMF ลงทุนใน Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นส่วนใหญ่ที่เป็นแบรนด์ที่เราคุ้นหูกันดีอยู่แล้ว มีสัดส่วนหุ้นที่ลงทุนสูงสุด 5 ลำดับแรกตามนี้ครับ
- Reckitt Benckiser 9% – ยักษ์ใหญ่ Consumer Product แบรนด์ดังจากสหราชอาณาจักร
- Microsoft 8.5% – บริษัท IT ที่แทบทุกคนในไทยต้องรู้จัก เจ้าของซอฟท์แวร์ชื่อดังอย่าง Windowsและ Office
- Phillip Morris 7.6%- เจ้าของบุหรี่ Marlboro, L&M, Phillip Morris และบุหรี่ไฟฟ้าอย่าง IQOS
- Visa 5.3% – หนึ่งในสองของผู้นำตลาดบัตรเครดิตที่มีผู้ใช้มากกว่า 1,100 ล้านคนทั่วโลก
- Procter & Gamble 4.9% – ยักษ์ใหญ่ Consumer Product อีกรายที่มีแบรนด์ที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง มีดโกน Gillette, แชมพู Head & Shoulders และยาสีฟัน Oral-B
จะเห็นว่าไม่ว่าจะทั้งแบรนด์หรือสินค้าที่บริษัทผลิตล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าที่ต้องใช้ทุกวัน และมีการทำตลาดไปทั่วโลก ความแข็งแกร่งของแบรนด์นั้นสูงมากๆ
สัดส่วนการลงทุนของ Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund
ที่มา: บลจ.กรุงศรี ณ 30 ก.ย. 2563
คุณภาพสูงในสไตล์แบบ KFGBRANSSF/KFGBRANRMF ไม่ได้มีแค่แบรนด์
เพราะการมี “แบรนด์” ไม่ใช่แค่การมี “เครื่องหมายการค้า” การจะบอกได้ว่าแบรนด์นั้นทรงพลังหรือไม่อยู่ที่การที่สินค้าของบริษัทเรียกกำไรจากลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน กำไรมากแปลว่าแบรนด์แข็งแกร่งมาก กำไรน้อยก็อาจจะแปลได้ว่าแบรนด์ไม่แข็งแรงพอ ทำให้เกิดการแข่งขันและลูกค้าตัดสินใจด้วยราคา ใครถูกกว่าเอาอันนั้น
การจะรู้ว่าแบรนด์นั้นดีจริงหรือไม่สามารถดูได้ผ่านอัตราส่วนทางการเงิน
ROOCE (Return on Operating Capital Employed) – ผลตอบแทนจากเงินลงทุน ยิ่งสูงยิ่งดี หุ้นที่กองทุนลงทุนมี ROOCE เฉลี่ยที่ 54.7% เทียบกับค่าเฉลี่ยในตลาดโลกผ่านดัชนีหุ้นโลกอย่าง MSCI World Index
GPM (Gross Profit Margin) – อัตรากำไรขั้นต้นยิ่งสูงยิ่งดี ซึ่งหุ้นที่กองทุนลงก็มีกำไรขั้นต้นในระดับ 52.2% สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 27.4%
Capex/Sales – หรือมูลค่าการลงทุนต่อรายได้ อันนี้ยิ่งน้อยยิ่งดีแปลว่าแบรนด์ติดแล้วไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติมมากก็สามารถทำยอดขายได้ Capex/Sales ของกองทุนอยู่ที่ 4.4 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยตลาดที่ 6.9 เท่า
ซึ่งประสิทธิภาพทางการเงินเหล่านี้ส่งผลต่อมาที่ราคาหุ้น ทำให้เมื่อต้องเผชิญกับความผันผวนในตลาด หุ้นเหล่านี้จะเป็นหุ้นที่ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดเป็นส่วนใหญ่ ในช่วงที่เป็นตลาดขาลง สังเกตได้จากภาพประกอบด้านล่างไม่ว่าจะเป็นช่วงวิกฤติปี 2008 หรือช่วงที่ตลาดมีการปรับฐาน ทางกองทุนก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีผลตอบแทนลดลงที่น้อยกว่าเยอะมาก ๆ แถมบางปีตลาดหุ้นติดลบแต่กองทุนนี้กลับเป็นบวกได้ สมแล้วที่เรียกว่าเป็นกองทุนที่นักลงทุนลงทุนแล้ว “ร่มเย็น เป็นสุข”
ผลตอบแทนย้อนหลังของ Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund
ที่มา: บลจ.กรุงศรี ณ 30 ก.ย. 2563
KFGBRANSSF/KFGBRANRMF เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน?
กองทุนทั้งสองจะเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงออกจากการลงทุนในไทย อาจจะเพิ่งเริ่มต้นลงทุนต่างประเทศไม่นาน ยังไม่ค่อยมั่นใจว่าจะเสี่ยงไป เพราะกองทุนนี้ไม่ได้ผันผวนมาก รวมไปถึงนักลงทุนที่ยังไม่มีพอร์ตการลงทุนหลัก (Core Portfolio) สามารถถือกองทุนนี้เป็นพอร์ตหลักได้เลย
ต่อมาอีกกองทุนหนึ่งที่ผลตอบแทนโดดเด่นมากๆ เป็นกองทุนกลุ่มเทคโนโลยีที่มีผลตอบแทนมากกว่า 50% และเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มกองทุน RMF ในปีนี้ กองทุนนี้เหมาะกับการถือคู่กับKFGBRANSSF/KFGBRANRMF เพราะเป็นกองทุนที่มีความดุดัน เน้นการทำผลตอบแทนผ่าน Mega Trend ระยะยาวอย่าง Technology
ลงทุนกับ Technology Mega Trend กับกองทุนของผู้ชนะ KFGTECHRMF
ที่บอกว่าเป็นกองทุนผู้ชนะเพราะว่าปีนี้กองทุน KFGTECHRMF เป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนอันดับ 1 ของกลุ่ม RMF (ที่มา: Morningstar ณ 24 พ.ย. 63)
Theme ลงทุนที่น่าสนใจสำหรับ KFGTECHRMF ก็คือ Technology Mega Trend ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และแทบจะเป็นหุ้นกลุ่มเดียวที่สามารถสร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤต COVID-19 เมื่อต้นปี
สิ่งที่น่าสนใจคือหากวัดผลตอบแทนของดัชนี S&P500 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนกว่าครึ่งที่ดัชนี S&P500 ทำได้มาจากกลุ่ม Technology ซึ่งเทรนด์การเติบโตแบบนี้คาดว่าจะยังดำเนินต่อไปอีกหลายปี
ผลตอบแทนของดัชนี S&P500 มาจากกลุ่ม Technology เป็นส่วนใหญ่
KFGTECHRMF ลงทุนในอะไร?
KFGTECHRMF ลงทุนในกองทุนหลัก T.Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Fund ซึ่งมีจุดเด่นหลักๆ 4 อย่างด้วยกันคือ
- เป็นกองทุนที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน
- มุ่งหาการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
- ไม่ยึดติดกับดัชนีชี้วัด ลงทุนในหุ้นที่เชื่อมั่นอย่างเต็มที่
- ปรับพอร์ตอย่างรวดเร็ว
และเช่นเดียวกันกับ KFGBRANSSF / KFGBRANRMF กองทุน KFGTECHRMF เป็นกองทุนที่มีการลงทุนแบบ High Conviction เช่นกัน ทั้งกองถือหุ้นเพียง 50 บริษัทเท่านั้น และลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี 3 กลุ่มเป็นหลักคือกลุ่ม Software, Internet และ Semiconductors โดยมีหุ้นที่ลงทุนเป็นหลัก 5 ตัวแรกดังนี้
Alibaba 5.8% – ยักษ์ใหญ่ E-Commerce จากเมืองจีน ผู้ครองสถิติตัวเลข Gross Merchandise Value หรือขายสินค้าเป็นมูลค่ามากที่สุดในโลก ว่ากันว่ามากกว่า Amazon และ Ebay รวมกัน
Amazon 5.6% – ยักษ์ใหญ่ E-Commerce ฝั่งสหรัฐฯ ที่ไม่ได้มีดีแค่ E-Commerce แต่ยังมีธุรกิจ Cloud ที่เป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งกำไรดีมากๆด้วยครับ
SEA 4.7% – เจ้าของเกมส์มือถือชื่อดังที่คนไทยเล่นกันจนติดกันทั่วบ้านทั่วเมืองอย่าง ROV
Shopify 4.4% – บริษัททำระบบการบริหารงาน E-commerce ครบวงจรจากประเทศแคนาดา
Netflix 3.9% – เจ้าของแพลตฟอร์มรับชมซีรี่ย์ ภาพยนตร์ ชื่อดัง
จะเห็นว่ากองทุนลงทุนในหุ้นที่หลากหลายแต่ก็มีความ Specific อย่างชัดเจนว่าเน้น Internet, Softwareและ Semiconductors และสิ่งนี้เองทำให้กองทุนนี้มีความแตกต่างจากกองทุนหุ้น Technology อื่นๆ นอกจากนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลตอบแทนของกองทุน RMF นี้ดีที่สุดในปีนี้ด้วย (ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต)
การปรับพอร์ตการลงทุนที่รวดเร็วและแม่นยำ
ข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจลงทุนในกองทุนคือการปรับพอร์ตของผู้จัดการกองทุน
การปรับพอร์ตของ T.Rowe Price Funds SICAV – Global Technology Equity Fund
ที่มา: บลจ.กรุงศรี ณ 30 มิ.ย. 2563
หุ้น Technology เป็นหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงมากๆ ถ้าผู้จัดการกองทุนปรับพอร์ตไม่ทัน ไม่ใช่แค่ผลตอบแทนจะไม่ดีแต่อาจจะต้องเจอกับการขาดทุนได้ จะเห็นว่ากองทุนมีการปรับพอร์ตที่มีความ Dynamic พอสมควร และเห็นเทรนด์การปรับเปลี่ยนที่ชัดเจน ทำให้อุ่นใจได้ระดับนึงว่าปรับเปลี่ยนรับการเปลี่ยนแปลงได้แน่นอน
ตอนนี้ใช่จังหวะเวลาในการลงทุนในกองทุน Technology หรือไม่?
หลายคนคงมีคำถามเหล่านี้อยู่ในใจ ด้วยราคาหุ้นที่ขึ้นมาดูเหมือนจะสูง แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างที่บ่งบอกว่าในระยะยาวหุ้น Technology ยังคงสามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าตลาดได้
- หุ้น Technology มีการเติบโตในระยะยาวที่ดีกว่าหุ้นทั่วๆไป
- อัตราการเติบโตของกำไรในหุ้นในกองทุน KFGTECHRMF ในปีหน้ามีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 22.9% เทียบกับ MSCI All Country Information Technology Index ที่ 12.5% แล้วสูงกว่ามาก
- พอเติบโตดีนักลงทุนก็พร้อมที่จะให้ Premium กับราคาหุ้น ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้ราคาขึ้นไปได้เรื่อยๆ
- ยิ่งในสภาวะดอกเบี้ยต่ำ สภาพคล่องล้น ธนาคารกลางอัดฉีดสภาพคล่องอย่างไม่ยั้ง ยิ่งเป็นผลดีกับหุ้น Technology
- ที่ผ่านมาแม้จะมีการปรับฐานบ้าง 10-20% แต่ก็ใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวเร็ว และสามารถทำราคา New High ได้เกือบทุกครั้ง
- ยุคนี้กลายเป็นยุคของปลายักษ์กินปลาใหญ่ เกิดปรากฏการณ์ของหุ้น Tech ขนาดยักษ์ เติบโตดี สถานะการเงินแข็งแกร่ง มีคู่แข่งรายใหม่ขึ้นมาก็จับ Takeover กลืนกินมาเป็นส่วนหนึ่งของตน ทำให้การแข่งขันกับหุ้น Tech ขนาดยักษ์เหล่านี้ยากมาก จนหลายๆครั้งกลายเป็น Winner-Take-All คือผู้ชนะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
KFGTECHRMF เหมาะกับใคร?
กองทุนนี้จะเหมาะกับนักลงทุนที่เชื่อมั่นในการเติบโตของหุ้นเทคโนโลยี สามารถทนความผันผวนได้เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดในระยะยาว เรียกได้ว่าถ้าเทียบกับ KFGBRANSSF/KFGBRANRMF ที่เป็น Core Port กองทุน KFGTECHRMF ถือเป็นกองหน้าทะลุทะลวง มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมให้พอร์ตการลงทุนโดยรวม
เกร็ดความรู้กับการเลือกลงทุน SSF/RMF
ขอแชร์ประสบการณ์เลือก บลจ. สำหรับการลงทุน SSF/RMF เวลาผมเลือก ผมมักจะเลือก บลจ.ใหญ่ที่มีกองทุนหลากหลายประเภทมาก่อน
เพราะการลงทุนใน SSF/RMF ระยะยาวนั้นเราสามารถปรับพอร์ตการลงทุนเปลี่ยนไปมาระหว่างสินทรัพย์ต่างๆ ได้ เพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม
บลจ.กรุงศรี ถือเป็นอีกหนึ่ง บลจ.ที่มีกองทุนคุณภาพ และค่อนข้างครบถ้วนในมุมมองของผม SSF เพิ่งออกมาแต่ก็มีถึง 8 กองทุนแล้ว ส่วน RMF มีถึง 24 กองทุน
ค่าธรรมเนียมก็ถือว่าไม่ได้สูง อาจจะคุ้มค่ากว่าการไปลงทุนกองทุนธรรมดาในบางมุมด้วยซ้ำไป ถือเป็นโอกาสดีของการลงทุนในต่างประเทศครับ
ตอนนี้ใครมีบัตรเครดิตกรุงศรีฯเอา Point ไปแลกเป็นกองทุนได้ด้วยผ่าน @ccess Online Service ถือเป็นอีก Gimmick หนึ่งที่ดีมากๆ
สุดท้ายขอให้ทุกคนอย่าลืมว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่เดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการลดหย่อนภาษีด้วย SSF และ RMF อย่ามัวแต่รอเวลาจนลืมซื้อกันนะครับ
หากสนใจลงทุนในกองประหยัดภาษีตัวท็อป จาก บลจ.กรุงศรี KFGBRANSSF, KFGBRANRMF และ KFGTECHRMF”
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บลจ.กรุงศรี www.krungsriasset.com โทร. 026575757 หรือ FINNOMENA ได้เลยครับ
คำเตือน : ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การจัดอันดับของ Morningstar ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดอันดับของสมาคมบริษัทจัดการลงทุนแต่อย่างใด
SSF เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม I RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ
กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ | KFGBRANSSF , KFGBRANRMF ระดับความเสี่ยง: 6-เสี่ยงสูง
KFGTECHRMF ระดับความเสี่ยง: 7-เสี่ยงสูง กองทุนลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการลงทุน