ทั้ง H&M, Zara และ Uniqlo มีสาขามากกว่า 1,000 สาขาทั่วโลก แต่ละแบรนด์มีกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน เรามาค่อยๆดูกันไปทีละบริษัทเลยว่ามันต่างกันตรงไหนบ้าง?
ใน 3 แบรนด์นี้ Zara เด็กสุด ก่อตั้งขึ้นในสเปน ปี 1975
Zara ของกลุ่ม Inditex ใช้กลยุทธ์เป็นเจ้าของ Supply chain ทั้งหมดในการผลิตเสื้อผ้าเพื่อให้สามารถออกแบบสินค้าและผลิตได้เร็ว ทำให้สามารถวางขายได้อย่างรวดเร็ว
สินค้าของ Zara จากออกแบบ-ผลิต-ขายนั้นใช้เวลาเพียงแค่เดือนเดียว ปีนึงออกมากกว่า 20 Collections
ความเร็วคือข้อได้เปรียบของ Zara
Uniqlo ก่อตั้งขึ้นในญี่ปุ่น ปี 1949 ถูกซื้อไปโดย Fast Retailing ในปี 2005 Business model ของ Uniqlo มีความคล้ายๆ Gap อยู่ไม่น้อย คือขายเสื้อผ้าในราคาที่จับต้องได้ และมีสไตล์เป็นเสื้อผ้าที่ใช้ได้ทุกวัน สิ่งที่แปลกสำหรับ Uniqlo คือกว่าครึ่งของลูกค้าเป็นผู้ชาย ในขณะที่แบรนด์เสื้อผ้าส่วนมากจะมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง
ความธรรมดาที่ไม่ธรรมดาคือจุดเด่นของ Uniqlo
H&M หรือ Hannes & Mauritz ก่อตั้งขึ้นในสวีเดน เมื่อปี 1947 เก่าแก่ที่สุดใน 3 แบรนด์นี้ H&M มีแบรนด์ภายใต้การดูแลหลายแบรนด์เช่น Cheap Monday, Weekday, Monki
เสื้อผ้าที่มีสไตล์และแบรนด์อันโดดเด่นคือความเป็น H&M
กลยุทธที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดของ 3 แบรนด์นี้คือการจัดจำหน่าย, การจัดการแบรนด์
และ ปัจจัยการผลิต
##### การจัดจำหน่าย
H&M มีสาขาเยอะสุดมากกว่า 3,962 สาขา Zara มี 2,169 สาขา และ Uniqlo มี 1,800 สาขา
กลยุทธของ H&M คือการทำ collaboration กับดีไซเนอร์ดังๆของโลกเช่น Versace หรือ Alexander Wang
ด้วยการร่วมมือกับแฟชั่นดีไซเนอร์ดังๆทำให้เสื้อผ้าของ H&M ดูมี Value มากขึ้นในสายตาลูกค้า
กลยุทธของ Zara คือการมีสินค้าให้ลูกค้าเลือกมากกว่าคู่แข่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสินค้าประมาณ 2,000 – 4,000 รายการต่อปี Zara มีมากกว่า 10,000 รายการต่อปี การมีสินค้ามากขึ้นทำให้ Zara สามารถทำสินค้าได้หลายสไตล์จับกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น
กลยุทธของ Uniqlo คือการออกสินค้าใหม่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม Collaboration กับ Brand สินค้าที่คนชอบเช่นโค๊ก Uniqlo แบ่งแยกเสื้อผ้าด้วยประเภทการใช้งาน เสื้อผ้าของ Uniqlo มีความเรียบง่ายซึ่งสะท้อนแนวคิด Minimalistic ของคนญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบกับประเทศที่มีสไตล์ที่แตกต่างอย่างอเมริกา ช่องทางการจัดจำหน่ายหลักของ Uniqlo ยังคงอยู่ที่ญี่ปุ่น
##### การจัดการแบรนด์
H&M ใช้วิธีซื้อและพัฒนาแบรนด์ที่มีสไตล์ที่ชัดเจนและแตกต่างเพื่อที่จะขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น แบรนด์แต่ละแบรนด์ของ H&M มีราคาและคอนเซ๊พท์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่นแบรนด์ที่เป็น Collection ดีไซเนอร์ดังจะมีราคาสูงกว่าเสื้อผ้าธรรมดาของ H&M
แบรนด์อย่าง Monki จะมีราคาถูกกว่าถึงครึ่งหนึ่งและมีสไตล์ที่เป็นวัยรุ่นมากกว่า H&M ยังคงมุ่งเน้นตลาดในทวีปยุโรป
Zara แบ่งสินค้าของร้านเป็น Lower garment เช่นกางเกง กระโปรงและ Upper garment เช่นแจ๊คเก็ต เสื้อโค๊ต โดย Upper garment จะมีราคาสูงกว่า Zara ตั้งตัวเองเป็นเสื้อผ้าหรูที่มีราคาเหมาะสม ร้านสาขาของ Zara จึงอยู่ในทำเลที่มีกำลังซื้อสูงและมีราคาค่าพื้นที่ๆสูงเช่น ถนน Fifth Avenue Zara ไม่เน้นการโฆษณามากเท่าแบรนด์อื่นๆ
Uniqlo ใช้กลยุทธที่มีการปรับมาจากของ The Gap คือการเน้นแบรนด์ Private label บริษัทผลิตเสื้อผ้าเองและขายแต่ในร้านของตนเองเท่านั้น Uniqlo มีการใช้กีฬาเข้ามาช่วยเพื่อให้เข้าถึงคนทั่วๆไปได้มากขึ้น (ซึ่ง Zara และ H&M ไม่ทำ) เสื้อผ้าของ Uniqlo จะมีสไตล์ที่ค่อนข้างเรียบและเน้นการใช้งานที่ง่ายซึ่งสุดท้ายทำให้ดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง (ผู้ชายนี่เอง)
##### ปัจจัยการผลิต
H&M Outsource การผลิตไปในประเทศที่มีแรงงานถูกอย่างกัมพูชาหรือบังกลาเทศ H&M แทบไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานไหนโดยตรงแต่มีการเป็นพันธิมิตรกับผู้ผลิตกว่า 900 รายทั่วโลก การออกแบบเสื้อผ้ายังคงอยู่ที่ Head Quarter ในกรุง Stockholm
Zara ออกแบบ-ผลิต-ขาย สินค้าของตัวเองทำให้สามารถออกสินค้าใหม่และขายได้อย่างรวดเร็ว Zara มีการทำ Vertical Integration โดยการมีสายการผลิตต้นนํ้าเป็นของตัวเองโดยมีโรงงานผลิตหลักอยู่ในสเปน ในปี 2015 สินค้าของ Zara ผลิตจาก Spain 50% Asia&Africa 24% Zara มีแนวคิดที่แตกต่างกับ Uniqlo ตรงที่ Zara มีการคาดการณ์ความต้องการและ Trend ในอนาคตมากกว่าการตามกระแสที่กำลังเป็นอยู่ สินค้าของ Zara ขายไวมากๆ ส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาขายแค่ 1 เดือนเท่านั้น
Uniqlo ผลิตสินค้าเองในญี่ปุ่นและจีน โดยมีการทำสัญญากับผู้ผลิตกว่า 70 ราย
##### สรุป
แม้ 3 บริษัทจะมีจุดเด่นและจุดแข็งที่แตกต่างกัน แต่ก็ถือว่าเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จทั้งหมด
เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ดีว่าแม้จะอยู่ในตลาดเดียวกัน ทำธุรกิจเดียวกัน แต่กลยุทธที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
หนทางแห่งความสำเร็จไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว ประเด็นสำคัญคือการเข้าใจว่าอะไรที่เราเก่งและใช้ประโยชน์จากความเก่งนั้นของเราให้มากที่สุด
ลองนึกดูว่าถ้า Uniqlo มาทำตาม Zara หรือ Zara ไปทำแบบ H&M ก็คงเหนื่อยไม่น้อยเพราะบริษัทไม่สามารถ ใช้ประโยชน์จากกลยุทธที่ไม่เหมาะสมกับพื้นฐานของบริษัทได้เต็มที่
สำเร็จก่อนไม่ได้แปลว่าสำเร็จกว่า ความสำเร็จครั้งใหญ่เกิดขึ้นได้ไม่เห็นต้องตามใคร !
[ติดตามกลยุทธธุรกิจมันส์ๆและการลงทุนได้ที่เพจ BUFFETTCODE]
Source:
http://www.businessinsider.com/uniqlo-is-conquering-gap-2015-8
http://www.investopedia.com/articles/markets/120215/hm-vs-zara-vs-uniqlo-comparing-business-models.asp
ที่มาบทความ : http://buffettcode.com/hm-zara-uniqlo/